ฝุ่น PM 2.5 เริ่มกระทบสุขภาพ 22 พื้นที่ "กทม.-ปริมณฑล"

สิ่งแวดล้อม
1 ต.ค. 62
06:03
7,590
Logo Thai PBS
ฝุ่น PM 2.5 เริ่มกระทบสุขภาพ  22 พื้นที่ "กทม.-ปริมณฑล"
กรมควบคุมมลพิษ รายงานสถานการณ์ ฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่ กรุงเทพฯ-ปริมณฑล เช้าวันนี้ พบเกินมาตรฐาน 22 พื้นที่ ริมถนนดินแดง สูงสุด เตือนใส่หน้ากากป้องกัน หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้ง

วันนี้ (1 ต.ค.2562) กรมควบคุมมลพิษ รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมื่อเวลา เวลา 06.00 น. พบปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 ตรวจวัดได้ระหว่าง 41-79 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก.ลบ.ม.) คุณภาพอากาศอยู่ในระดับ ปานกลางถึงเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ เกินเกณฑ์มาตรฐาน 22 พื้นที่ (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก.ลบ.ม.) โดยค่าฝุ่นละอองสูงสุดอยู่ที่ ริมถนนดินแดง เขตดินแดง และ ริมถนนกาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ขณะที่ในพื้นที่อื่นๆ ดังนี้

กรุงเทพฯ

แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี 52 มคก.ลบ.ม. เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ริมถนนกาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน 73 มคก.ลบ.ม. เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

แขวงบางนา เขตบางนา 55 มคก.ลบ.ม. เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ 55 มคก.ลบ.ม. เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

แขวงดินแดง เขตดินแดง 58 มคก.ลบ.ม. เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา 54 มคก.ลบ.ม. เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ริมถนนพระราม 4 เขตปทุมวัน 62 มคก.ลบ.ม. เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ริมถนนอินทรพิทักษ์ เขตธนบุรี 58 มคก.ลบ.ม. เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ริมถนนลาดพร้าว เขตวังทองหลาง 61 มคก.ลบ.ม. เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ริมถนนดินแดง เขตดินแดง 79 มคก.ลบ.ม. เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

แขวงพญาไท เขตพญาไท 54 มคก.ลบ.ม. เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง 69 มคก.ลบ.ม. เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม 70 มคก.ลบ.ม. เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

เขตดุสิต - คุณภาพปานกลาง

นนทบุรี

ต.บางกรวย อ.บางกรวย 55 มคก.ลบ.ม. เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด 52 มคก.ลบ.ม. เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ปทุมธานี

ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง 53 มคก.ลบ.ม. เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

สมุทรปราการ

ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง 66 มคก.ลบ.ม. เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ต.บางโปรง อ.เมือง 51 มคก.ลบ.ม. เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ต.ตลาด อ.พระประแดง 53 มคก.ลบ.ม. เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ต.ปากน้ำ อ.เมือง 63 มคก.ลบ.ม. เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง 41 มคก.ลบ.ม. คุณภาพปานกลาง

สมุทรสาคร

ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน 60 มคก.ลบ.ม. เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ต.มหาชัย อ.เมือง 51 มคก.ลบ.ม. เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

นครปฐม

ต.นครปฐม อ.เมืองนครปฐม 46 มคก.ลบ.ม. คุณภาพปานกลาง

 

ทั้งนี้ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว ในพื้นที่ดังกล่าวควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรม หรือออกกำลังกายกลางแจ้ง หากจำเป็นต้องออกนอกบ้านเป็นเวลานาน ควรสวมหน้ากากอนามัย เพื่อเป็นการป้องกันฝุ่นละออง รวมถึงป้องกันโรคติดต่อในระบบทางเดินหายใจ 

สามารถติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศแบบตามเวลาจริง (Real Time) เพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ air4thai และแอปพลิเคชัน Air4Thai

ขณะที่ เมื่อวานนี้ (30 ก.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ได้เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ทำเนียบรัฐบาลเป็นกรณีเร่งด่วน เพื่อเร่งหามาตรการรับมือปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5

หลังการประชุม นายประลอง ดำรงค์ไทย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า นายกฯ ขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบมีการรณรงค์ ให้ประชาชนดูแลตัวเองด้วยการใส่หน้ากากอนามัย ไม่อยากให้ตื่นตระหนก และให้ประชาชนติดตามการแจ้งเตือนจากกรมควบคุมมลพิษ ตลอดเวลา นอกจากนี้ ยังได้กำชับถึงมาตรการในการตรวจรถสาธารณะ รถขนส่ง ที่ก่อให้เกิดมลพิษควันดำ ซึ่งขณะนี้ทางกระทรวงคมนาคม ได้สั่งการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบไปดำเนินการแล้ว

ขณะเดียวกันผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จะเป็นหน่วยงานหลักในการประกาศแจ้งเตือนให้กับประชาชน หากพบพื้นที่ใดมีค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ เรียกประชุมด่วนแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5

Hotspot ภาคกลางพุ่งกว่า 300 จุด ติดอันดับ 3 ในเอเชีย

"จิสด้า" เผยค่าฝุ่น PM2.5 กระจายทั่วไทย ภาคใต้หนักสุด

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง