หอยแครงบางตะบูน จ.เพชรบุรี ผลผลิตลดลงเกือบ 10 เท่า

สิ่งแวดล้อม
19 พ.ย. 62
15:56
3,379
Logo Thai PBS
หอยแครงบางตะบูน จ.เพชรบุรี ผลผลิตลดลงเกือบ 10 เท่า
ผู้เลี้ยงหอยแครงบางตะบูน อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี วิกฤติหนัก ซ้ำร้อยคลองโคนเหลือพื้นที่เลี้ยงหอยไม่ถึง 5 เปอร์เซนต์ ผลผลิตลดลงเกือบ 10 เท่า วอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งหาทางแก้

วันนี้ (20 พ.ย.2562) ผู้สื่อข่าวรายงานถึงปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้เลี้ยงหอยแครงในพื้นที่ ต.บางตะบูน อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ที่ขณะนี้ประสบปัญหาหอยแครงผลิตได้จำนวนน้อยมาก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากมลพิษ

นายเฉลิมเกียรติ ไกรจิตต์ เกษตรกร หนึ่งในผู้เพาะเลี้ยงหอยแครง ต.บางตะบูน อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี

นายเฉลิมเกียรติ ไกรจิตต์ เกษตรกร หนึ่งในผู้เพาะเลี้ยงหอยแครง ต.บางตะบูน อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี

นายเฉลิมเกียรติ ไกรจิตต์ เกษตรกร หนึ่งในผู้เพาะเลี้ยงหอยแครง ต.บางตะบูน อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี

 

นายเฉลิมเกียรติ ไกรจิตต์ เกษตรกร ผู้เพาะเลี้ยงหอยแครง ต.บางตะบูน อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี กล่าวว่า ประสบปับหาการเพาะเลี้ยงหอยแครงอย่างหนักมาตั้งแต่ปี 2557 จำนวนลดลงเรื่อย ๆ ขณะนี้มีเกษตรกรเลี้ยงหอยอยู่ที่ 264 คน เหลือพื้นที่การเพาะเลี้ยงหอยแครงไม่ถึงร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับปี 2555 จากทั้งหมด 9,118 ไร่

ขณะที่ปริมาณผลผลิตหอยแครง ปี 2558 ปริมาณ 900 กิโลกรัมต่อไร่ ปี 2559 ปริมาณ 625 กิโลกรัมต่อไร่ ปี 2560 ปริมาณ 325 กิโลกรัมต่อไร่ และปี 2561 อยู่ที่ 125 กิโลกรัมต่อไร่

อัตราการรอดของหอยแครงลดลงอย่างมาก เนื่องจากผลกระืทบของมลพิษที่ไหลมาสะสมในปากอ่าว

อัตราการรอดของหอยแครงลดลงอย่างมาก เนื่องจากผลกระืทบของมลพิษที่ไหลมาสะสมในปากอ่าว

อัตราการรอดของหอยแครงลดลงอย่างมาก เนื่องจากผลกระืทบของมลพิษที่ไหลมาสะสมในปากอ่าว

 

นอกจากนี้เกษตรกรยังขาดทุนอย่างสูง โดยในปี 2554 ปริมาณเก็บเกี่ยวหอยแครงอยู่ที่ 4,000 กิโลกรัมต่อไร่ กำไร 80,000 บาท ต่อไร่ ขณะที่ในปี 2561 ปริมาณเก็บเกี่ยวประมาณ 200 กิโลกรมต่อไร่ ขาดทุน 17,500 บาทต่อไร่ รวมถึงหอยแครงที่ยังขายได้ก็ตัวเล็กมาก เป็นผลมาจากคุณภาพน้ำที่มาจากต้นน้ำที่ไหลออกทะเลซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับหอยแครง

ในพื้นที่พยายามลดปัจจัยภายในคือน้ำเสียชุมชนและขยะในชุมชน ขณะนี้ก็ต้องหยุดการเลี้ยงและพักพื้นที่ไว้ก่อนลงทุนไปหลายรอบแล้วขาดทุนไปหมด ขณะนี้อยู่ระหว่างการขอความช่วยเหลือการพักการจ่ายค่าใบอนุญาตทำประมงและส่งเสริมอาชีพเสริม

ดังนั้น จึงต้องการเสนอนโยบายเพื่อลดผลกระทบ โดยควบคุมการกระบายน้ำเสียจากฟาร์มหมู กรมควบคุมมลพิษเก็บค่าระบายน้ำเสียผ่านกระทรวงการคลัง ,ควบคุมการระบายน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยกำหนดปริมาณน้ำทิ้ง เพื่อสอดคล้องกับระบบนิเวศที่รองรับได้, ลดค่าอนุญาตการเพาะเลี้ยงหอยจาก 400 บาท /ไร่ /ปี เหลือ 200 บาท/ไร่/ปี และมาตรการเร่งด่วน งดเก็บค่าอนุญาตเพาะเลี้ยงในปี 2563 และติดตามการบริหารจัดการน้ำร่วมกับชลประทาน 3 จังหวัด

บางตะบูนรับน้ำเสียจากแม่น้ำหลายสาย

นายไพฑูรย์ มกกงไผ่ นักวิทยาศาสตร์ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงหอยในพื้นที่ อ.บางตะบูน จ.เพชรบุรี ก็ได้รับผลกระทบจากมลพิษไม่น้อย เนื่องจาก จ.เพชรบุรี มีแม่น้ำหลายสาย ทั้งแม่น้ำยี่สาร แม่น้ำเพชรบุรี ซึ่งแม่น้ำเหล่านี้รับมลพิษจากโรงงานที่ไหลลงแหล่งน้ำ เทือกสวนไร่นาและอาชีพต่าง ๆ จากบนฝั่งเมื่อเกิดสะสมที่อ่าวบางตะบูนหอยแครงจึงไม่สามารถอยู่ได้ขณะนี้ฟาร์มหอยแครงจึงแทบจะกลายเป็นที่รกร้างไปเลย

 

พื้นที่การเลี้ยงหอยแครงลดลงกว่าร้อยละ 95 เนื่องจากประสบปัญหา หอยตายต่อเนื่องหหลายปี ผู้เลี้ยงหอยจึงหยุดชั่วคราวเพื่อพักดินและรอการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการเลี้ยงหอย

พื้นที่การเลี้ยงหอยแครงลดลงกว่าร้อยละ 95 เนื่องจากประสบปัญหา หอยตายต่อเนื่องหหลายปี ผู้เลี้ยงหอยจึงหยุดชั่วคราวเพื่อพักดินและรอการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการเลี้ยงหอย

พื้นที่การเลี้ยงหอยแครงลดลงกว่าร้อยละ 95 เนื่องจากประสบปัญหา หอยตายต่อเนื่องหหลายปี ผู้เลี้ยงหอยจึงหยุดชั่วคราวเพื่อพักดินและรอการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการเลี้ยงหอย

 

ชาวบางตะบูนจึงร่วมกับเครือข่าย ต.คลองโคน จ.สมุทรสงคราม และร่วมวิจัยว่าสภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร มีผลกระทบต่อการเลี้ยงหอยแครงอย่างไร ซึ่งการวิจัยถึงปัญหาการเพาะเลี่ยงหอยแครงจึงขยายไปในหลายพื้นที่คือ คลองโคน จ.สมุทรสงคราม ต.บางตะบูน อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี และ ต.คลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ และต.บ้านน้ำเชี่ยวและอ่าวมะขาม อ.แหลมงอบ จ.ตราด


มลพิษเยอะหรือสภาพแวดล้อมไม่ดีสามารถเทียบได้กับกรณีปลาทูที่มีปัญหาคล้ายกัน ๆ แต่ปลาทูสามารถว่ายน้ำหนีสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีได้ แต่หอยแครงย้ายพื้นที่ไปไกลแบบนั้นไม่ได้ หอยจึงได้รับผลกระทบโดยตรง 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง