เทียบคำพิพากษาคดีทับลาน-ฟาร์มไก่ "ปารีณา"

สิ่งแวดล้อม
9 ธ.ค. 62
18:03
5,909
Logo Thai PBS
เทียบคำพิพากษาคดีทับลาน-ฟาร์มไก่ "ปารีณา"
"เปิดฎีกา"คดีบุกรุกทับลาน ชาวบ้านอ้างเหตุที่ดินทับซ้อนเขตปฏิรูป คำพิพากษาชี้หากยังไม่นำที่ดินไปปฏิรูปที่ดินพิพาท จึงอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และทับลาน เปรียบเทียบคดีฟาร์มไก่ "ปารีณา" ส.ป.ก.ไม่เอาผิด แต่กรมป่าไม้เอาผิดได้ ด้านป่าไม้ จ่อรังวัด 682 ไร่

หลังจากสังคมพุ่งเป้าตรวจสอบบทลงโทษ ตามกฎหมายปฏิรูปที่ดิน พบเหตุผลที่เลขาธิการ ส.ป.ก.ระบุว่ากรณีการครอบครองที่ดินเขาสนฟาร์ม จำนวน 682 ไร่ ของ น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ "แค่คืนก็จบ" เนื่องจากเหตุกำหนดบทลงโทษ ไว้เพียงกรณีผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ม.23 หรือ ม.27 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท 

และยังตอกย้ำกรณีที่ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจสอบฟาร์มไก่ ของน.ส.ปารีณา โดยเบื้องต้น ร.อ.ธรรมนัส ระบุว่าไม่เอาผิดน.ส.ปารีณา และให้เวลาขนของออก 7 วันนับจาก วันนี้พรอมทั้งยืนยันว่าทำงานเร็วที่สุดแล้ว 

ทั้งนี้พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย ระบุว่า ในอดีตเคยมีคดีที่อุทยานแห่งชาติทับลาน ตามฎีกาที่ 14487/2558 เคยดำเนินการในลักษณะเดียวกันกับผู้บุกรุกที่เกิดจากข้อพิพาทที่ดินของอุทยานฯ กับที่ดิน ส.ป.ก.มาแล้ว 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง ขีดเส้น 7 วัน “ปารีณา” ทำหนังสือใหม่ ไร้เงื่อนไขคืนที่ดิน ส.ป.ก.

 

 

เทียบฎีกา-ตัดสินรุกป่าทับลาน 

ไทยพีบีเอสออนไลน์ ตรวจสอบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14487/2558 กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช โจทก์ และนางเนตรสวาท ขาวดีเดช จำเลย โดยระบุว่า พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ (มาตรา 26 (4) กฎกระทรวง ฉบับที่ 895 (พ.ศ.2523) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 

ที่ดินพิพาทตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตอุทยานแห่งชาติ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 895 (พ.ศ.2523) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2523 และพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2524 ซึ่งกฎกระทรวงและแผน ที่แนบท้ายกฎกระทรวง พระราชกฤษฎีกาและแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ได้ประกาศในราชกิจจานุบกษาแล้ว จึงมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.2523 และวันที่ 24 ธ.ค. 2524 ตามลำดับ

แม้จะมีพื้นที่บางส่วน เช่นที่ดินพิพาท ปรากฏว่าอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินก็ตาม ก็ไม่มีผลทำให้กฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าว ไม่ชอบหรือไม่มีสภาพบังคับ เพราะเหตุผลและวัตถุประสงค์ในการออกกฎหมายแต่ละฉบับแตกต่างกัน อำนาจในการดูแลจัดการหรือดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายแต่ละฉบับขึ้นกับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานต่างกัน

 

 

และตราบใดที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ในพื้นที่ดินพิพาทตั้งอยู่ ยังมิได้นำที่ดินพิพาทไปดำเนินการ ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ดินพิพาทก็ยังคงมีสภาพเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ตินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 26 (4)

เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จ.ปราจีนบุรี ที่ดินพิพาทตั้งอยู่ จะนำที่พิพาทไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ดังนั้น ที่ดินพิพาท จึงอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติทับลาน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง "กรมป่าไม้" ถกกฤษฎีกาหาข้อยุติคดีที่ดิน "ปารีณา"

ชาวบ้านอยู่หลังประกาศ ถือเป็นอำนาจ "กรมป่าไม้" 

ส่วนที่จำเลยอ้างว่า จำเลยสามารถอยู่ในที่ดินพิพาทได้เพราะอยู่ในบริเวณ ผ่อนผันให้ชาวบ้านอยู่อาศัยและทำกินตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.2541 การกระทำของจำเลย จึงไม่เป็นการบุกรกเข้าไปยึดถือครอบครองก่นสร้าง แผ้วถางที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติและในเขตอุทยานแห่งชาติ นั้น
เห็นว่า มติคณะรัฐมนตรีตามเอกสารดังกล่าว มีสาระสำคัญว่า รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่ป่าไม้

โดยรัฐบาลต้องการแก้ไขปัญหาการครอบครองที่ทำกินของราษฎรในพื้นที่ป่ไม้ ได้กำหนดให้มีการตรวจพิสูจน์การครอบครองที่ดินของราษฎรในพื้นที่ป่าอนุรัษ์ เพื่อพิสูจน์ว่า ราษฎรอยู่อาศัยและทำกินมาก่อน ให้กรมป่าไม้จัดทำขอบเขตที่อยู่อาศัยและทำกินให้ชัดเจน ห้ามขยายพื้นที่เพิ่มเติมโดยเด็ดขาด 

 

ส่วนกรณีราษฎรอยู่อาศัย และทำกินหลังวันประกาศสงวนหวงห้ามเป็นพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมายครั้งแรก ให้กรมป่าไม้ พิจารณาดำเนินการเคลื่อนย้ายราษฎรออกจากพื้นที่ป่าอนุรักษ์นั้น แล้วทำการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อม และปรากฎข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทถูกกำหนดให้เป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ

โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 พ.ย.2523 ตามสำเนากฎกระทรวงฉบับที่ 895 (2523) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และแผนที่แนบ ดังนั้นราษฎรที่จะได้รับประโยชน์อยู่อาศัยและทำกินในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว จะต้องเป็นผู้อยู่อาศัยและทำกินมาก่อนวันที่ 1 พ.ย.2523

แต่ตามข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยรับโอนที่ดินพิพาทจาก ว. เมื่อวันที่ 4 ก.ค.2540 จำเลยปลูกบ้านพักอาศัย เมื่อปลายปี 2540 เป็นบ้านไม้ชั้นเดียว 1 หลัง แล้วเสร็จในปี 2545 จึงเป็นเวลาภายหลังจากที่มีการประกาศกำหนดให้ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าการ

กระทำของจำเลยเป็นการบุกรุกเข้าไปยึดถือ ครอบครอง ก่นสร้าง แผ้วถางที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติทับลานมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึง ฟังไม่ขึ้น

กรมป่าไม้ จ่อรังวัดที่ดิน 682 ไร่ 1 สัปดาห์จบ

นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวว่า ภายในสัปดาห์นี้ กรมป่าไม้ จะส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อทำการรังวัดพื้นที่เขต ส.ป.ก.จำนวน 29 แปลง เนื้อที่ 682 ไร่ ที่น.ส.ปารีณา ส่งคืน ส.ป.ก.โดยจะเร่งให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน จากนั้นจะนำมาพิจารณาร่วมกับข้อเท็จจริงที่กรมป่าไม้มีอยู่ คือ การครอบครองพื้นที่ 682 ไร่ ของ น.ส.ปารีณา จากการแปรภาพถ่ายทางอากาศ และการใช้ประโยชน์จากที่ทำกิน ซึ่งพบว่ามีร่องรอยการเข้าทำประโยชน์ระหว่างปี 2537–2543 ซึ่งเกิดขึ้นหลังปี 2527 ซึ่งเป็นปีที่มีการประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งซ้ายลุ่มน้ำภาชี จ.ราชบุรี

 

 

โดยจะนำข้อมูลใหม่จากการรังวัดและข้อมูลเดิมมาพิจารณาร่วมกับฝ่ายกฎหมาย รวมทั้งคำตอบจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่จะชี้แนวทางเรื่องนี้ด้วยว่า ที่ดิน ส.ป.ก.ที่เจ้าหน้าที่ทำการรังวัดมาใหม่ ยังคงถือเป็นที่ดินตามพ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ และ พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ.2484 หรือไม่

หากชัดเจนว่ายังคงเป็นที่ป่าไม้ จะดำเนินคดีฐานความผิดบุกรุกพื้นที่ป่าเพิ่ม

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ด่วน! "ปารีณา" ถอยยอมคืนที่ดิน ส.ป.ก. 682 ไร่

โยนวุ่น! ส.ป.ก.-กรมป่าไม้ เกี่ยงเอาผิด "ปารีณา"

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง