มีรถไฟฟ้าแล้ว รถบนถนนน้อยลง เพราะคนหันไปใช้มากขึ้นจริงหรือ ?

สังคม
24 ธ.ค. 62
13:54
13,933
Logo Thai PBS
มีรถไฟฟ้าแล้ว รถบนถนนน้อยลง เพราะคนหันไปใช้มากขึ้นจริงหรือ ?
หลายคนเคยคิดว่าว่า ถ้ามีรถไฟฟ้าวิ่งทั่วกรุงเทพฯแล้ว เราจะไม่มีปัญหาการจราจร รถจะไม่ติด รถยนต์บนถนนน้อยลง เพราะคนหันไปใช้รถไฟฟ้า แต่ความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นเป็นไปได้หรือไม่

วันนี้ (24 ธ.ค.2562) หากนับรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ที่ทำเสร็จแล้ว และเปิดให้บริการแล้ว ทั้งบนดิน-ใต้ดิน มีทั้งหมด 4 สาย ส่วนที่กำลังทำอยู่ตอนนี้มีประมาณ 5 สาย ไทยพีบีเอสออนไลน์ให้ ภัทราพร ตั๊นงาม ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ถ้าเรามีรถไฟฟ้าแล้วระบบขนส่งสาธารณะ หรือปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ จะหมดไปหรือไม่


ภัทราพร ตั้งข้อสังเกตว่า

  • สงสัยว่า.. มีรถไฟฟ้าแล้ว.. ทำไม รถยังติด?
  • รถไฟฟ้า..ช่วยให้คนใช้รถยนต์น้อยลง..จริงหรือไม่.. ?
  • ใครใช้รถไฟฟ้าบ้าง แต่ละวัน...?
  • จ่ายค่ารถไฟฟ้า และค่าเดินทางกันเท่าไหร่..?
  • ครอบครัวหนึ่ง..ถ้าต้องเดินทางรถไฟฟ้า.. หรือ รถสาธารณะ..( รถเมล์, แท็กซี่, เรือ, รถกะป๊อ, รถตู้ , จยย.รับจ้าง ฯลฯ) มีค่าใช้จ่ายวันละเท่าไหร่.. ?
  • ทำไม..หลายคน..จึงยังใช้รถยนต์ส่วนตัว.. ? และทำไม..หลายคนจึงใช้วิธีเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ..
  • บริการขนส่งมวลชนสาธารณะ ในกรุงเทพฯ .. มันเอื้อต่อคนเดินทางมากน้อย อย่างไร ? 
  • ค่าโดยสารรถไฟฟ้า..ถูกจริงหรือไม่ ? ..
  • ทำไม ..รัฐจึงสร้างแต่รถไฟฟ้าหลากหลายเส้นทาง ..โดยไม่ลงทุนระบบส่งขนส่งมวลชนสาธารณะอื่นๆ ไปพร้อมๆ กัน ...หรือ ทำขนส่งมวลชน..บนถนน..ให้รองรับ การใช้ชีวิตแบบเมืองใหญ่ .. มหานครแห่งนี้..
  • "เลนจักรยาน" ...ที่เคยบูม ๆ ...หายไปไหนแล้ว?
  • เลนจักรยาน...ที่ทำให้เด็กนักเรียน / คนทำงาน / คนทั่วไป.. ใช้งานได้ในชีวิตจริง อย่างปลอดภัย... ย้ำว่าใช้งานได้จริง อย่างปลอดภัย.. ไม่ใช่เฉพาะวัน "คาร์ฟรี เดย์" หรือ งานปั่นอีเว้นท์ต่างๆ .. แล้วก็หายไป...
  • รักษ์โลก...ลดร้อน.. แต่ทิศทางการทำระบบขนส่งมวลชน หรือ ให้คนได้ใช้ชีวิตแบบที่ควรจะเป็นในแต่ละจุดเชื่อมต่อ.. อย่างหลากหลาย..เข้าถึงง่าย...รัฐทำหรือไม่ ... นโยบายมี.. แต่ทำได้จริงหรือเปล่า...
  • ทำไม.. รัฐไม่สร้างระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ ให้เข้าถึงชุมชน และ คนใช้เส้นทาง..? ทั้งๆ ที่ก็พูดเรื่องแบบนี้กันมาเป็น 10 ปี..

ระบบขนส่งมวลชนที่ดี-ราคาที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร?

ขณะที่มีผู้มาแสดงความเห็น โดยตอบคำถามผ่านโซเชียลมีเดีย โดยมีความเห็นที่แตกต่างกัน เช่น

  • ต้นทุนการเดินทางสูง เกินกว่าที่คนไทยจะตั้งตัวได้ง่ายๆ

  • ค่าเดินทางแพงมาก ยิ่งถ้าคนในครอบครัวไปพร้อมๆ กัน ก็ปาไปครึ่งพันได้นะ แต่ได้ความสะดวกสบายจริงอยู่

  • ค่าโดยสารแพงเกินไป

  • 1. ค่ารถไฟฟ้าต่อหัวแพงมาก นั่ง 2-3 คน ถ้าเป็นบัตรขาจร เสียคนละ 30-50 บาท คูณไปบางทีนั่ง Taxi คุ้มกว่า ถ้าขับรถคุ้มกว่ามาก
    2. ระบบขนส่งทุกอย่างไม่เชื่อมต่อถึงกัน บางทีอยากนั่งรถไฟฟ้า แต่จากบ้านต้องขับรถมา แล้วไม่มีที่จอดเพียบพอบริเวณสถานี หรือค่าจอดแพงมาก ก็ขับรถไปเลยดีกว่า
    3. การเชื่อมต่อไปนอกเมือง อาจจะทำให้คนใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น แต่ราคาคาดว่าเกินรับได้เพราะเล่นคิดตามระยะทาง แถมเปลี่ยนสายก็เสียเพิ่มอีก เช่น ถ้านั่งจากรังสิต (เชียงราก) มาต่อบางซื่อ เพื่อไปเส้นรัชดาฯ คิดว่าเที่ยวละ 75-90 บาท ไปกลับเกือบ 200 บาท ในขณะที่ขับรถเอง Ecocar ไปกลับวันละ 100-120 บาท ยิ่งเข้าเมืองหลายคนพร้อมกันเป็นครอบครัว ยิ่งประหยัดลงไปอีก

  • โทลเวย์ขึ้นราคา/ ทางด่วนต่ออายุสัมปทาน เป็นคนไทย เสียภาษีไปแล้ว แทนที่รัฐจะจัดสาธารณูปโภคให้เพียงพอ กลายเป็นว่าใครอยากได้ความสะดวกต้องยอมจ่ายเงินแพง

 

  • จริงแพงเกินไปมาก ถ้าไปสามคนขึ้นไปจะแพงเท่ากับค่าแท๊กซี่แล้ว แถมยังลำบากกว่าอีกคนเยอะ น่าจะมีการลดราคาลงจะได้จูงใจให้คนหันมาใช้

  • รถไฟฟ้าค่าโดยสารแพง คนแน่นมาก

  • ค่ารถไฟฟ้าแพง ไป-กลับ คนละเกือบ ร้อย ออกจากบ้านมาพร้อมกันก็ 2 คน ก็ 200 ยังไม่รวมค่าจักรยานยนต์รับจ้างจากบ้านมาที่ทำงาน และจากที่ทำงานไปข้างนอก รวมแล้ว 2 คน เฉลี่ยตกวันละ 300 แต่ถ้าเติมน้ำมันรถยนต์ 300 บาท ใช้ได้ 3 วัน

  • ส่วนรถเมล์ ต้องมานั่งลุ้นอารมณ์คนขับ อารมณ์กระเป๋ารถเมล์ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย แทนที่จะสบายกลับกลายเป็นประสาทจะกิน จริงๆ อยากวิ่งไปทำงานนะ แต่ทางก็ไม่เอื้ออำนวย กลัวจะตายก่อนถึงออฟฟิต

 

  • ค่าโดยสารแพงมากครับ แค่หมอชิต ไปสยาม 6-7 สถานี ยังแพงเลย ไม่อยากคิดในอนาคตถ้าต้องนั่งทีละ20 สถานี ไปกลับจะหมดไปกี่บาท ถ้ายังใช้ค่าบริการแบบนี้

  • 1.ระบบขนส่งมวลชน ระบบราง ยังไม่พร้อมให้คนลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว รัฐบาลสร้างเยอะจริง แต่กว่าจะเสร็จสมบูรณ์ทั้งระบบ อีก 2-3ปี
    2.เมืองขยายตัว ไปชานเมืองและปริมณฑลมากขึ้น พื้นทีที่อยู่อาศัยขยายตัว แต่ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะขนาดใหญ่ ( รถเมล์ ) ไปไม่ถึง หลายโครงการอยู่ในจุดเปลี่ยว เข้าออกลำบาก ต้องมีรถยนต์ส่วนตัว
    3.ระบบขนส่งสาธารณะขนาดเล็ก แท็กซี่ สามล้อ จยย.รับจ้าง ยังไม่เป็นมาตรฐาน มีการเลือกให้บริการตามใจตัวเอง
    4.ไม่มีการควบคุมปริมาณรถยนต์ เช่น ญี่ปุ่น คือ บ้านไหนหรือ ผู้ใช้รถไม่มีที่จอดรถ ในพื้นที่ของตัวเอง ก็จะไม่มีสิทธิซื้อครอบครองรถยนต์

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง