ไวรัสโคโรนาฯ รักษาได้ ไม่ใช่เป็นแล้วตายทุกคน

สังคม
28 ม.ค. 63
14:22
61,269
Logo Thai PBS
ไวรัสโคโรนาฯ รักษาได้ ไม่ใช่เป็นแล้วตายทุกคน
หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ รพ.จุฬาฯ ยืนยันไวรัสโคโรนาฯ รักษาได้ ไม่ใช่เป็นแล้วตายทุกคน ย้ำทางการแพทย์ยังไม่ทราบระยะฟักตัวแน่ชัด แต่ใช้เทียบเคียงกับโรคซาร์ส เมอร์ส และไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่มีระยะฟักตัวของเชื้อ 7-14 วัน แนะใช้หน้ากากอนามัยทั่วไปป้องกันได้

วันนี้ (28 ม.ค.2563) นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดเผยสถานการณ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ว่า ขณะนี้ทางการแพทย์ยังต้องสืบค้นให้ได้ว่าเชื้อมาจากอะไรกันแน่ ที่มีการเชื่อมจากสัตว์สู่คน เพราะแหล่งที่มาของเชื้อค่อนข้างมีความซับซ้อน แม้จะทราบกันว่ามาจากค้างคาว ซึ่งต้องดูว่าเชื้อมีการฟุ้งกระจายจากสัตว์ตัวอื่นได้ด้วยหรือไม่

หน้ากากอนามัยทั่วไปเพียงพอป้องกันเชื้อ

 

ส่วนการรักษา ยืนยันว่าเชื้อไวรัสฯ นี้ เป็นเหมือนไวรัสทั่วไป ถ้าภูมิคุ้มกันดีพอ มีหลายคนสามารถหายได้เองถ้าภูมิคุ้มกันดี แต่กลุ่มเสี่ยงคือกลุ่มอายุ 40 ปีขึ้นไป และผู้เป็นโรคเบาหวาน, โรคหัวใจที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนอยู่แล้ว

การป้องกัน ใส่หน้ากากสำหรับใช้แค่หน้ากากอนามัยก็เพียงพอแล้ว ยกเว้นถ้าไวรัสฯ เล็กลง ก็อาจต้องใช้หน้ากากแบบ N95 ตอนนี้ ในไทยพบเชื้อจากคนที่เดินทางมาจากแหล่งระบาดที่ประเทศจีนทั้งหมด ซึ่งวันนี้ที่ กระทรวงสาธารณสุขแถลงเพิ่มอีก 6 คน น่าจะต้องติดตามตัวอีกระยะว่ามีเชื้อหรือไม่

แนะให้ความรู้ว่ามีเชื้อไม่ได้เสียชีวิตทุกคน

นพ.โอภาส พุทธเจริญ

นพ.โอภาส พุทธเจริญ

นพ.โอภาส พุทธเจริญ

นพ.โอภาส กล่าวว่า สิ่งที่ต้องทำ คือการให้ความรู้ประชาชนว่าการมีเชื้อไม่ได้แปลว่าต้องเสียชีวิตทุกคน ข้อมูลส่วนใหญ่ตอนนี้ คือเป็นแล้วหายได้เอง และอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ย 3-5% ถ้าเปรียบเทียบกับโรคซาร์ส หรือเมอร์ส ที่มีอัตราการเสียชีวิตมากกว่า รวมถึงการล้างมือบ่อยๆ เพราะบางครั้งไปสัมผัสสิ่งของสาธารณะ

ข้อมูลตอนที่คนจีนเดินทางเข้ามา น่าจะเก็บไว้หมดแล้ว และตอนนี้ มีการเช็คข้อมูลกลับว่าใครพักที่ไหนบ้าง แต่ต้องตามต่อที่สำนักระบาดว่ามีการไล่ย้อนตรวจสอบอย่างไร

บุคลากรทางการแพทย์เสี่ยงกว่าคนทั่วไป

 

สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ มีความสุ่มเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป เพราะอยู่ในพื่นที่เสี่ยงกับผู้ป่วย และมีการใกล้ชิดกับผู้ที่ไอ, จามโดยตรง ซึ่งโรงพยาบาลจุฬาฯ ได้แนะนำให้บุคลากร ที่ต้องสัมผัสผู้ป่วยใกล้ชิด และมีชุดเฉพาะเหมือนชุดนักบินอวกาศ ซึ่งตอนนี้มีบุคคลมาขอตรวจเฉลี่ยวันละ 20-30 คน และเชื่อว่าหลังจากนี้จะมีจำนวนมากขึ้น แต่เท่าที่ตรวจก็ยังไม่พบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา ซึ่งผลตรวจจะออกแจ้งทางผู้ป่วยภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งมีทั้งคนที่ป่วยเป็นไข้หวัดปกติกับไข้หวัดใหญ่

รพ.จุฬาฯ มีห้องรองรับผู้ติดเชื้อรวม 4 ห้อง

 

นพ.โอภาส กล่าวว่า ห้องที่รองรับผู้ติดเชื้อที่โรงพยาบาลจุฬาฯ ขณะนี้ มีทั้งหมด 4 ห้อง ซึ่งมีคนจีน 1 คนที่เดินทางมาจากสนามบินสุวรรณภูมิ มาขอตรวจเชื้อเอง เพราะมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับคนอู่ฮั่น โดยมีอาการท้องเสียมา และให้นอนสังเกตอาการ แต่ยังต้องรอผลการวินิจฉัย ซึ่งระบบคัดกรองด้วยการวัดไข้ที่สนามบินเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่การตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดก็จะทำให้รอบคอบมากขึ้น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง