“สืบจาก (จิต) ศพ”

Logo Thai PBS
“สืบจาก (จิต) ศพ”
การชันสูตรศพเชิงจิตวิทยา (Psychological Autopsy) อาจเป็นทางออกหนึ่งเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ความสูญเสียซ้ำรอย กรณีที่ จ.นครราชสีมา และนี่เป็นโอกาสที่คนในชายแดนใต้ ได้สะท้อนประสบการณ์ของพวกเขา นำมาเทียบเคียงหาแนวทางป้องกันเหตุซ้ำรอย

"ดิฉันเคยมีประสบการณ์ตรงในพื้นที่ปลายด้ามขวานมา 15 ปี ในปี 2552 อดีตทหารพรานกราดยิงคนละหมาด ในมัสยิด อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส มีผู้เสียชีวิต 10 คน บาดเจ็บ 12 คน และยังมีเหตุการณ์ที่กำลังพลบุกทำร้ายผู้บังคับบัญชา กำลังพลเครียดยิงเพื่อนร่วมงานและยิงตัวเองเสียชีวิตมาหลายครั้ง แต่ส่วนใหญ่แล้วไม่เป็นข่าว..."

น.ส.เพชรดาว โต๊ะมีนา ส.ส.พรรคภูมิใจไทย สะท้อนข้อมูลช่วงหนึ่ง ระหว่างการอภิปรายญัตติด่วนของสภาฯ หาแนวทางป้องกันความรุนแรง และถอดบทเรียนเหตุกราดยิงในจังหวัดนครราชสีมา “ท่านประธานสภาฯ ได้กล่าวไว้เบื้องต้นว่าเหตุการณ์นี้ (โคราช) ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศไทย ฉะนั้นมีคำถามมากมายทั้งผู้ก่อเหตุ สาเหตุ การสื่อสารภาวะวิกฤตการเสนอข่าว ระบบคลังอาวุธ และนำเรื่องดี ๆ มาบันทึก เยียวยาแก้ไขป้องกันในอนาคต” “คนคนหนึ่ง ถูกทำอะไรมาก่อนหรือไม่ ความเจ็บปวดในอดีต ตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดความรุนแรง ทั้งหมดนี้คือการชันสูตรศพในเชิงจิตวิทยา หรือ Psychological Autopsy”

พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ส.ส.พรรคภูมิใจไทย

พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ส.ส.พรรคภูมิใจไทย

พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ส.ส.พรรคภูมิใจไทย

งานวิจัยที่เผยแพร่โดยสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย อธิบาย Psychological Autopsy ศึกษาปัญหาการฆ่าตัวตายในพื้นที่หนึ่งของไทย เก็บข้อมูลโดยสัมภาษณ์ญาติหรือผู้ใกล้ชิดของผู้ก่อเหตุ พยาบาลจิตเวช เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลและสาธารณสุข หรือคนที่ก่อเหตุแล้วยังมีชีวิตอยู่ นอกจากข้อมูลทั่วไปอย่างอายุ เพศ สถานภาพ อาชีพ ประวัติโรคประจำตัว ทั้งโรคทางกาย และโรคจิต ปัญหาการใช้สารเสพติด แอลกอฮอล์ เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่กระตุ้นให้ก่อเหตุ รวมถึงวิธีที่ใช้ วิธีการนี้จะวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเครียด สิ้นหวังและตัดสินใจใช้ความรุนแรง หากสามารถลดปัจจัยเหล่านี้ ย่อมหมายถึงการลดความเสี่ยงและความสูญเสียได้

ผศ.ร.ต.อ.จอมเดช ตรีเมฆ คณะอาชญาวิทยา ม.รังสิต

ผศ.ร.ต.อ.จอมเดช ตรีเมฆ คณะอาชญาวิทยา ม.รังสิต

ผศ.ร.ต.อ.จอมเดช ตรีเมฆ คณะอาชญาวิทยา ม.รังสิต

เช่นเดียวกับนักอาชญาวิทยา มองปรากฏการณ์ที่นครราชสีมา ว่าทีมระงับเหตุไม่บรรลุเป้าหมายสูงสุด คือไม่มีผู้เสียชีวิตแม้แต่คนเดียว รวมถึงตัวผู้ก่อเหตุด้วย เพราะการนำตัวมาสอบสวนและศึกษาจะเกิดประโยชน์มากกว่า แม้อีกด้านก็ยอมรับว่าในสถานการณ์นั้น ก้าวพ้นการเจรจาหรือการจับเป็นแล้ว และการวิสามัญฆาตกรรมนั้นจำเป็น เพื่อรักษาชีวิตประชาชนที่เหลือ

การจำคุกตลอดชีวิตมันโหดกว่าการประหารชีวิต เพราะมันทำให้เขาต้องอยู่ไปเรื่อยๆ และเขายังเป็นกรณีศึกษา และเป็นตัวอย่างให้กับคนอื่นที่คิดจะทำตาม แต่ถ้าเขาตายเขาจะถูกลืม ถ้าโทษจำคุกมันไม่ร้ายแรงเท่าประหาร คงไม่มีใครฆ่าตัวตายในเรือนจำ ดังนั้นควรจะปรับเป็นการจำคุกตลอดชีวิตแบบไม่ลดโทษ” ผศ.ร.ต.อ.จอมเดช ตรีเมฆ คณะอาชญาวิทยา ม.รังสิต ให้สัมภาษณ์ไว้ในรายการตอบโจทย์ ไทยพีบีเอส

นับเป็นอีกมาตรการระยะยาว นอกเหนือจากการเคลื่อนไหวในระยะสั้นๆ อย่างการเยียวยาผู้สูญเสีย ตรวจสอบปัญหาบ้านสวัสดิการที่หลายฝ่ายเชื่อว่าเป็นต้นตอ รวมถึงเรียกร้องความรับผิดชอบจากนายกรัฐมนตรี ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รวมถึงผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งไม่นานก็อาจจะเลือนหายไปตามเวลา

จตุรงค์ แสงโชติกุล
ข้อมูล http://www.psychiatry.or.th/JOURNAL/58-1/01-Anuphong.pdf

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง