สั่งสอบเครื่องวัด COVID-19 นำเข้าจากจีน พบเชื่อถือได้แค่ 30%

สังคม
29 มี.ค. 63
13:44
2,660
Logo Thai PBS
สั่งสอบเครื่องวัด COVID-19 นำเข้าจากจีน พบเชื่อถือได้แค่ 30%
อนุทินสั่งสอบมาตรฐานเครื่องวัด COVID-19 จากจีน หลังสื่อสเปนนำเสนอว่า บริษัทผลิตไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุขของจีน และประมวลผลได้ต่ำกว่า 30 เปอร์เซนต์เท่านั้น

จากกรณีที่มีข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์ ระบุว่า มีบริษัท 2 แห่ง ที่เป็นผู้เสนอนำเข้าเครื่องมือตรวจวัด COVIV-19 แบบรวดเร็ว หรือ Rapid test และผ่านการพิจารณาของ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขณะที่คุณภาพของเครื่องมือดังกล่าว ผลิตขึ้นในประเทศจีน และรัฐบาลสเปน เคยสั่งไปใช้แล้ว และส่งกลับคืน เนื่องจากระบุว่า มีความแม่นยำต่ำกว่า 30 %

ซึ่งเคยมีการนำเสนอข่าวดังกล่าวในสื่อของสเปน เมื่อวันที่ 26 มี.ค.
ซึ่งข่าวของ

https://www.euractiv.com/section/coronavirus/news/spain-returns-faulty-test-kits-to-china-as-covid-19-death-toll-passes-4000-mark/

 

และเว็บไซต์ https://www.laprensalatina.com/spain-returns-faulty-test-kits-as-covid-19-deaths-pass-4000/

 

ซึ่งเนื้อหาสรุปว่า สถานทูตจีน ในกรุงมาดริด ประเทศสเปน เปิดเผยว่า รัฐบาลสเปนซื้อชุดทดสอบ COVID-19 จากบริษัทที่ไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุขของจีน หรือที่เรียกว่าเทคโนโลยีชีวภาพชีวภาพเซินเจิ้น 640,000 ชุด ซึ่งก่อนหน้านี้มีการสั่งซื้อไปแล้ว 9,000 ชุด และถูกส่งคืนบริษัท เนื่องจากไม่ตรงตามเกณฑ์ โดยเฉพาะความแม่นยำในการตรวจที่มีระดับต่ำกว่า 30 %

บริษัทถอนตัวเสนอพิจารณา Bioeasy 2019

ต่อมา เพจ MP Group Thailand โพสต์ข้อความระบุถึงกรณีดังกล่าวว่า เรียนหัวหน้าห้องปฏิบัติการกลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ ตามที่ MP Group ได้รับใบอนุญาตการนำเข้าและจำหน่ายชุดตรวจวินิจฉัย Bioeasy 2019-nCoV Ag และ Bioeasy 2019-nCoV Ab (lgM/lgG) จากองค์การอาหารและยานั้น บริษัทขอเรียนชี้แจงว่า บริษัทฯ ได้แจ้งขอยกเลิกใบอนุญาตต่อองค์การอาหารและยาแล้ว เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2563

เหตุผลในการตัดสินใจดังกล่าว เนื่องด้วยความไม่มั่นใจต่อคุณภาพสินค้า หลังพบว่ากระทรวงสาธารณสุข ประเทศสเปน ได้ถอดถอนใบอนุญาตนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนหลายยี่ห้อ ซึ่ง MP Group ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับผู้ผลิตในเรื่องดังกล่าวแล้ว และพบว่าเป็นจริง

เพื่อคงไว้ซึ่งจริยธรรมแห่งวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ตลอดจนแสดงเจตนารมณ์การดำเนินการอย่างมืออาชีพ ในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ ให้ได้มาตรฐานสูงสุด บริษัทฯ ไม่ได้พิจารณาคุณภาพของสินค้าจากความสมบูรณ์ของเอกสาร แสดงคุณลักษณะเท่านั้น แต่ยังตระหนักถึงผลการทดสอบทางคลินิก (Clinical trials) ในประเทศและต่างประเทศ บริษัทฯ จึงขอยกเลิกการนำเข้า และจัดจำหน่ายยี่ห้อ Bioeasy

และขอเรียนว่า บริษัทฯ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีหน้าที่ผูกพัน ในฐานะตัวแทนจำหน่ายของ Bioeasy อีกต่อไป

MP Group ในฐานะทีมงานนักเทคนิคการแพทย์ยืนยันที่จะมุ่งมั่นรักษามาตรฐานสินค้า ในทุกขั้นตอน ทั้งก่อนและหลังการนำเข้าและจัดจำหน่าย เพราะเราตระหนักถึงการมีส่วนร่วมรับผิดชอบสังคม เพื่อทำให้คนไทยมีสุขภาพที่ยั่งยืน

 

อนุทินสั่งสอบขั้นตอนพิจารณา-นำเข้า Rapid test

ล่าสุด วันนี้ (29 มี.ค.2563) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ไทยโพสต์ ระบุว่า ได้ทราบข่าวจากสื่อมวลชน ว่า บริษัทเอ็มพี เมดกรุ๊ป จํากัด หนึ่งในบริษัทที่ยื่นประเมิน ได้แจ้งขอยกเลิกใบอนุญาตการนําเข้าสินค้า Rapid test สําหรับตรวจหาเชื้อชุดก่อโรค COVID-19 ยี่ห้อ Bioeasy ซึ่งผลิตโดยบริษัท Shenzhen Bioeasy Technology จํากัด ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ไปแล้วนั้น เพราะรัฐบาลสเปน เพิ่งแถลงว่าใช้ไม่ได้ผล จึงขอยกเล็ก และไม่นําเข้ามาจําหน่ายแล้ว

ได้สอบถามไปยังอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในฐานะผู้ตรวจสอบ และ อย. ในฐานะผู้ออกใบอนุญาต ว่ากระบวนการทั้งหมดเป็นอย่างไร ซึ่งยังไม่ได้คําตอบ และได้สั่งให้มีการตั้งคณะกรรมการ สอบสวนข้อเท็จจริง กรณีที่เกิดขึ้นแล้ว เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชน และให้รายงานผลการสอบสวนข้อเท็จจริง ภายใน 7 วัน
หากมีการดําเนินการไม่ถูกต้อง ทําให้ทางราชการเสียหาย มีการปฏิบัติหน้าที่ หรือ มีการละเว้นการ ปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ ก็จะต้องดําเนินการตามกฎหมาย ไม่มีละเว้น

 

 

ไทยโพสต์รายงานอีกว่า การตรวจสอบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เป็นเรื่องทางวิชาการ ที่ดําเนินการในรูปของคณะกรรมการ ทางวิชาการ ฝ่ายบริหาร ไม่สามารถเข้าไปก้าวก่ายสั่งการได้ ที่ผ่านมาอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เคยให้ข้อมูลในที่ประชุม และการแถลงข่าวว่า ไม่สนับสนุนการตรวจโดยใช้ Rapid test เพราะใช้วิธีการ สวอปได้ผลที่แน่นอนกว่า เชื่อว่าท่านจะมีคําตอบและชี้แจงได้ ทั้งการรับรองมาตรฐาน และการที่บริษัทขอยกเลิกในอนุญาตที่ได้รับไปแล้ว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง