หมอเตือนตัวอย่างจริงไม่กักตัวส่งเชื้อ COVID-19 ติดแม่

สังคม
7 เม.ย. 63
09:41
5,425
Logo Thai PBS
หมอเตือนตัวอย่างจริงไม่กักตัวส่งเชื้อ COVID-19 ติดแม่
หมอจุฬาฯ โพสต์เตือนเจอเคสผู้ป่วยอาการหนัก สาเหตุจากการไม่กักตัวของกลุ่มเสี่ยงที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ ไม่แสดงอาการป่วย COVID-19 แต่ส่งผ่านเชื้อแบบไม่ได้ตั้งใจให้คนรอบข้างจนเชื้อลงปอด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ซึ่งเมื่อวานนี้ (6 เม.ย.) ในไทยมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 51 คนและยอดสะสม 2,220 คน ทำให้ภาครัฐต้องใช้มาตรการเข้มงวดในการกักตัวผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ

วันนี้ (7 เม.ย.2563) ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ เฟชบุ๊ก Opass Putcharoen เพื่อย้ำถึงการส่งผ่านเชื้อแบบไม่ได้ตั้งใจให้คนรอบข้างจากโรค COVID-19 

โดยระบุว่า การติดต่อของโรค COVID-19 เกิดขึ้นได้ง่ายมาก เดิมเคยเชื่อว่าการติดต่อเกิดหลังจากที่คนไข้มีอาการแล้ว เหมือนโรค SARS
แต่ข้อมูลในปัจจุบันเชื้อไวรัสนี้อาจติดต่อผ่านได้จากคนที่ติดเชื้อ แต่ไม่มีอาการ หรือก่อนที่จะมีอาการ (asymptomatic transmission และ presymptomatic transmission)

ดังนั้นหากกลับมาจากต่างประเทศแม้ว่าไม่มีความผิดปกติอะไรเลยควรกักตัวอย่างเคร่งครัดเป็นเวลา 14 วัน อย่าเข้าใจว่าไม่มีอาการคือไม่ติดเชื้อ

อ่านข่าวเพิ่ม ป่วยตายเพิ่มอีก 3 คน-ลั่นยังไม่เคอร์ฟิว 24 ชั่วโมงให้เวลาปรับตัว

เคสคุณป้าคนหนึ่งอยู่บ้านสบายดี ติดเชื้อโควิด จากลูกสาวที่เดินทางมาจากต่างประเทศแต่ไม่ระวังเรื่องการกักตัว เพราะคิดว่าตัวเองยังไม่มีอาการไม่น่าป่วย เลยไปอยู่ด้วยกันตามปกติ แต่แยกตัวออกไปหลังจากที่ลูกสาวเริ่มมีอาการเหมือนเป็นหวัด แต่ก็ไม่ทันการ

วันที่มาตรวจคุณป้ามีอาการคล้ายเป็นหวัดมา 6 วัน เอกซเรย์ปอดยังปกติ อีกวันถัดมาอาการปอดอักเสบชัดขึ้น คนไข้หายใจเหนื่อย จนระบบหายใจล้มเหลวอย่างรวดเร็ว และใส่ท่อช่วยหายใจ ย้ายเข้าห้องไอซียู คนไข้อาการหนักมาก เข้าใจความรู้สึกของลูกที่รู้ทีหลังว่าแม่ตัวเองต้องมานอนไอซียูเพราะไม่ระวังเรื่องการกักตัว

ต้องรู้นะครับว่าเราอาจจะทำให้คนในครอบครัวที่เรารักป่วยจากความไม่เข้าใจและไม่มีระเบียบวินัย หากกลับมาจากต่างประเทศต้องกักตัวจนครบ 14 วันครับ เพราะหลังจาก 14 วัน แม้ว่าติดเชื้อจะมีโอกาสแพร่กระจายเชื้อได้น้อย อาจจะทำยากแต่มีความจำเป็นอย่างยิ่งครับ เพราะเคสใหม่ตอนนี้ส่วนใหญ่เป็นเคสที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ

คนป่วยร้อยละ 30% ไม่แสดงอาการ

สอดคล้องกับที่นพ.ธนรักษ์ ผลผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ความรุนแรงของโรคมากกว่า 80% ของผู้ป่วยมีอาการค่อนข้างน้อย

ในจำนวนนี้ประมาณ 30% ไม่มีอาการใดๆ เลย หรือเรียกว่าเป็นผู้ที่ติดเชื้อไม่มีอาการ และมีภูมิคุ้มกันแล้ว แต่มีจำนวนผู้ป่วยประมาณ 20% ต้องรับการดูแลทางการแพทย์ และอีกประมาณ 5 % ได้รับการรักษาพยาบาลกรณีพิเศษ และเสียชีวิตคือ 100 คนจะเสียชีวิต 1.4 % ของผู้ป่วย

เมื่อมีการติดเชื้อแล้วจะ 2 ทางหลักจากการหายใจนำเชื้อเข้าไปถ้าอยู่ใกล้คนไข้ที่ไอ จาม และคนไข้ไอ จามมีละอองฝอยทิ้งไว้ เมื่อคนถัดมาใช้มือที่ไม่สะอาดไปโดนหน้า ตา จมูก ปากเชื้อจะเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้นจึงต้องใส่หน้ากากอนามัย ซึ่ง 90% ช่วยได้ดังนั้นคนแข็งแรงให้ใส่หน้ากากผ้า

เมื่อแยกอัตราป่วยตายตามกลุ่มอายุ แยกเป็น 10-19 ปี 0.2 % 20-29 ปี 0.2 % 30-39 ปี 0.2% 40-49 ปี 0.4 % 50-59 ปี 1.3 % 60-69 ปี 3.6 % 70-79ปี 8 % และ 80 ปีขึ้นไป 14.8 %

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปกป้องผู้สูงอายุพ้นภาวะเสี่ยงติดเชื้อ COVID-19

หมอเตือน รีบยกระดับ "เคอร์ฟิว" ตัดตอนป่วย COVID-19

ตรวจคัดกรองเข้ม 76 คนไทยกลับจากอินโดเซีย ก่อนพากักตัว

เทียบอาการ COVID-19 "เด็ก-ผู้ใหญ่" แบบไหนเสี่ยง

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง