ไขคำตอบ! สัตว์ป่า-สัตว์เลี้ยงแพร่ COVID-19 สู่คนได้หรือไม่

สิ่งแวดล้อม
8 เม.ย. 63
13:46
3,619
Logo Thai PBS
ไขคำตอบ! สัตว์ป่า-สัตว์เลี้ยงแพร่ COVID-19 สู่คนได้หรือไม่
สัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุโอกาสที่สัตว์เลี้ยงเช่น แมว สุนัข รวมทั้งสัตว์ป่ามีโอกาสได้รับเชื้อ COVID-19 ที่ปนเปื้อนในธรรมชาติและจากคนเลี้ยงได้ แต่ทั่วโลกยังไม่มีรายงานแพร่จากสัตว์สู่คน แนะนำเลี่ยงสัมผัสใกล้ชิดลดเสี่ยงโรค

กรณีสำนักข่าวต่างประเทศ รายงานข่าวว่า เสือโคร่งชื่อนาเดีย อายุ 4 ปี ในสวนสัตว์บรองซ์ สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าในรัฐนิวยอร์ก ของสหรัฐอเมริกา ติดเชื้อ COVID-19 โดยได้รับการยืนยันจากห้องปฏิบัติการบริการสัตวแพทย์แห่งชาติ และเป็นเสือตัวแรกในสวนสัตว์ที่มีการติดเชื้อไวรัสนี้ โดยคาดว่ามีการติดเชื้อจากลูกจ้างสวนสัตว์ที่มีเชื้อโดยไม่แสดงอาการ 

วันนี้ (8 เม.ย.2563) แหล่งข่าวผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ป่า ให้ข้อมูลว่า ในสัตว์แต่ละชนิดรวมทั้งเสือ สามารถมีเชื้อไวรัสโคโรน่าในตัวเองได้อยู่แล้ว แต่คนละชนิดกับ COVID-19 ที่ระบาดในคนขณะนี้

กรณีของเสือในสวนสัตว์ต่างประเทศ ก็มีความเป็นไปได้ว่าเชื้อ อาจติดสู่สัตว์ได้ แต่ด้วยข้อมูลในขณะนี้ ยังไม่มีมากพอว่าเชื้อนี้จะเป็นอันตรายต่อสัตว์หรือไม่ ยังไม่มีรายงานว่าส่งผลรุนแรงกับสัตว์แต่อย่างใด รวมทั้งยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดเลยว่าเชื้อ จะกลับมาติดสู่คนได้อีกครั้งได้หรือไม่

อ่านข่าวเพิ่ม "นาเดีย" เสือในสวนสัตว์นิวยอร์ก ติดเชื้อ COVID-19

ผู้เชียวชาญด้านสัตว์ป่า ระบุว่า ข้อมูลเหล่านี้ยังต้องอาศัยการวิจัยเพิ่มเติม ซึ่งกรณีเสือนาเดีย อาการยังมีไม่มากพอ แต่ข้อให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก ไม่เจ้าเป็นต้องทิ้งหรือเกรงกลัวสัตว์ป่า หรือสัตว์ที่เลี้ยงไว้ว่าจะรับเชื้อหรือแพร่เชื้อสู่คน

โดยเฉพาะการทิ้งสัตว์เลี้ยงไปจะส่งผลเสียต่อชีวิตสัตว์ และสังคมได้รับความเดือดร้อนจากสัตว์จรที่ถูกทิ้งอีกด้วย

สัตว์ป่า-สัตว์บ้านติดเชื้อได้-แต่ยังไม่มีรายงานแพร่สู่คน

ด้านนายสัตวแพทย์ธีระพล ศิรินฤมิตร หัวหน้าภาควิชาพยาธิวิทยา คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก) ระบุว่าเนื่องจากที่ผ่านมาพบมีการรายงานข่าว COVID-19 ในสัตว์ ทั้งในสุนัข แมว และเสือ
ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีเคสสุนัขในฮ่องกง เพราะเนื่องจากเจ้าของที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา แต่เนื่องจากผลตรวจไวรัสในสุนัข 2 รอบห่างกัน 14 วันผลผลบวกอ่อนๆ แต่ไม่ได้บอกเสมอไปว่าสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตนั้นติดเชื้อแล้ว เพราะต้องลงรายละเอียดว่าเชื้อไวรัสมีผลต่อในระดับเซลล์ของสัตว์หรือต้องดูว่าสัตว์หายและมีภูมิต้านทานหรือไม่ และจากการศึกษานี้แมวติดจากการปนเปื้อนในในธรรมชาติเช่น อาจจะสูดจากอากาศ หรือเลียอะไรที่มีเชื้อ

ส่วนเคสแมวที่เบลเยี่ยม เป็นการติดจากเจ้าของที่เป็นไวรัส และมีอุจาระเหลว อาเจียน และผลตรวจแมวมีค่าเป็นบวก พบสารพันธุกรรมไวรัสโคโรนา

 

นอกจากนี้ในจีน ก็ได้ทดลองนำเชื้อ COVID-19 จากคนในปริมาณมากไปทดบลองฉีดในโพรงจมูกของแมวเพื่อดูว่าติดเชื้อได้หรือไม่ ซึ่งผลพบว่าเชื้ออยู่แค่ในโพรงจมูก และไม่ลงไปในปอด รวมทั้งยังทดลองต่อว่าแมวที่มีเชื้อจะสามาถถ่ายทอดได้หรือไม่ โดยนำไปอยู่ใกล้กรงแมวที่ไม่มีเชื้อ พบว่า 3 ตัวติดได้ นั่นหมายถึงเชื้อไวรัสที่ให้แมวที่มีปริมาณมาก แม้แมวไม่แสดงอาการป่วยแต่ก็ติดกันได้ 

เลี่ยงสัมผัสใกล้ชิดเลี่ยงเชื้อ 

ส่วนเสือที่สหรัฐฯ มาจากแสดงอาการไอแห้งๆ และในนิวยอร์กมีการระบาด จึงสังสัยยว่าเสือติดเชื้อหรือไม่ จึงได้เก็บตัวอย่างไปที่คณะสัตวแพทย์ ผลบวก การที่เจอติดได้ อธิบายว่าเสืออาจจะเป็นโรคอื่นๆอยู่แล้ว และมีการปนเปื้อนเชื้อเข้าไป 

การติดเชื้อในสัตว์ข้อมูลยังมีไม่มากพอว่าสัตว์ติดเชื้อจริง แต่การแพร่กระจายเชื้อไวรัส COVID-19 จากสัตว์สู่คนก็ยังไม่มีรายงานในตอนนี้ แต่เพื่อป้องกันตัวเอง แนะนำว่าของสัตว์ ถ้าจับต้องไม่ล้างมือให้สะอาด และเลิกใกล้ชิด เข่นยกเลิกการหอมสัตว์   

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง