5 ข้อเสนอจากหมอก่อน "ปลดล็อกดาวน์" สู้ COVID-19

สังคม
20 เม.ย. 63
11:32
10,645
Logo Thai PBS
5 ข้อเสนอจากหมอก่อน "ปลดล็อกดาวน์" สู้ COVID-19
14 หมอออก 5 ข้อเสนอต่อรัฐบาล ก่อนคลายมาตรการ "กึ่งล็อกดาวน์" แก้ปัญหา COVID-19 หลังแนวโน้มดีขึ้น แนะนำร่องในจังหวัดที่ไม่พบผู้ป่วยในรอบ 2 สัปดาห์ คืนให้ผู้คนทำมาหาเลี้ยงชีพ ทำธุรกิจ กลับสู่ชีวิตปกติแต่ด้วยวิถีแบบใหม่ หรือ New Normal

วานนี้ (19 เม.ย.2563) ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากลุ่มนักวิชาการทางการแพทย์ และกลุ่มผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข รวม 14 คนคือ น.พ. คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ น.พ.ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์ น.พ.ยง ภู่วรวรรณ น.พ.ธีะวัฒน์ เหมะจุฑา น.พ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ น.พ.ครรชิต ลิมปกาญจนารัตน์ และน.พ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ น.พ.หม่อมหลวงสมชาย จักรพันธุ์ น.พ.ไพจิตร์ วราชิต น.พ.โสภณ เมฆธน น.พ.เจษฎา โชคดำรงสุข น.พ.ธวัช สุนทราจารย์ น.พ.มานิต ธีระตันติกานนท์ และน.พ.ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล

รายงานข้อเสนอระบุว่า “โรคโควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ที่แพร่จากคนส่คูนผ่านการได้รับฝอยละอองที่ออกมาจากปากและจมูก ของผู้ติดเชื้อไปสู่คนใกล้ชิด เนื่องจากเป็นโรคที่คนไม่มีภูมิคุ้มกัน จึงแพร่ระบาดได้รวดเรวและมีความรุนแรงมากเป็นพิเศษในผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัว 

ไทยนำมาตรการป้องกันโดยการ ”ล็อกดาวน์” ซึ่งไม่ถึงกับการการปิดประเทศปิดเมืองอย่างเต็มที่อาจจัดเป็น”กึ่งล็อกดาวน์”

สถานการณข์องโรคโควิด-19 ในไทยมีแนวโน้มดีขึ้น จากข้อมูลวันที่ 14 เม.ย.ที่ผ่านมา มี 32 จังหวัดไม่พบผู้ป่วยในรอบสองสัปดาห์ มาตรการกึ่งล็อกดาวน์ที่ใช้อยู่ มีส่วนสำคัญในการควบคมุการแพร่ระบาดในประเทศไทยโดยเฉพาะในจังหวัดที่มีสถานการณ์รุนแรง

แต่การใช้มาตรการครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศมีต้นทุนสูงทางเศรษฐ กิจและสังคม ควรดำเนิการเพียงชั่วคราวในระยะเวลาเท่าที่จำเป็น หากเนิ่นนานโดยไม่จำเป็น จะส่งผลกระทบรุนแรงต่อประชากรที่มีรายได้น้อย มีหนี้สินครัวเรือนสูง ทำให้เกิดการตกงาน 5-7 ล้านคน

2 ฉากทัศน์ก่อนตัดสินใจผ่อนปรนมาตรการ

หลายประเทศที่กำลังใช้มาตรการล็อกดาวน์ในการแก้ไขวิกฤตโควิด-19 ต่างเริ่มหาทางออกที่จะดำเนินการป้องกันการแพรร่ะบาดของโควิด-19 ต่อไปอย่างได้ผล พร้อมกับการลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ และผ่อนคลายความตึงเครียดในสังคม โดยตระหนักว่าการแพร่เชื้อจะยังไม่ยุติโดยสิ้นเชิง ยังมีโอกาสจะเกิดการติดเชื้อต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีวัคซีนป้องกันโรคมาใช้อย่างเพียงพอ

ในการพิจารณาดังกล่าวมีฉากทัศน์ทางเลือกที่สำคัญสองฉากทัศน์สำหรับประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทย ดังนี้

ฉากทัศน์ที่หนึ่ง การทำให้ประเทศปลอดจากเชื้อโควิด-19 โดยการปิดเมืองหรือล็อกดาวน์เป็นระยะยาว เช่น 2 หรือ 3 เดือน และทำการค้นหาผู้ติดเชื้อ ทั้งที่มีอาการและไม่มีอาการแบบเคาะประตูบ้าน มาแยกรักษา แต่การทำแบบนนี้ต้องใช้ทรัพยากรมหาศาล และต้องใช้บริบททางสังคมการเมืองที่สามารถบังคับใช้กฎระเบียบอย่างเข้มแข็งได้

ในขณะเดียวกัน ก็จะมีต้นทุนทางสังคม และเศรษฐกิจที่สูงมากทางเลือกนี้ ไม่เหมาะที่จะทำทั้งประเทศ แต่อาจนำมาใช้ในพื้นที่หรือชุมชนเล็กๆ ที่มีการติดเชื้อสูง

ดังนั้น ความคิดที่ว่าคนไทยทั้งประเทศควรยอมทนเจ็บครั้งเดียวเป็นเวลาสัก 3 เดือนให้จบปัญหาโควิด-19 แล้วกลับไปมีชีวิตปกติจึงไม่อาจเป็นจริงได้

 

ฉากทัศน์ที่สอง การยอมรับว่าเราไม่สามารถหยุดการแพร่ของเชื้อโควิด-19 ได้ แต่เราสามารถควบคุมให้มีการแพร่ในระดับที่ต่ำ ( low transmission) มีการสญูเสียชีวิตน้อย เพราะโรงพยาบาลรองรับได้ ในขณะเดียวกันก็เริ่มเปิดให้ผู้คนทำมาหาเลี้ยงชีพ ทำธุรกิจ การกลับสู่ชีวิตปกติแต่ด้วยวิถีแบบใหม่ (New Normal)

อ่านข่าวเพิ่ม ทบ.ดูแลคนไทยกลุ่มล่าสุด 74 คน เข้าพักกักตัวที่พัทยา

5 แนวทางลดการสูญเสีย 

ฉากทัศน์ จะสามารถทำให้เป็นจริงและเกิดขึ้นได้โดยอาศัยองคประกอบที่สำคัญ 5 ประการคือ

1) เพิ่มความเข้มข้นในมาตรการทางสาธารณสุขและการแพทย์ ประกอบด้วยการขยายการตรวจให้ครอบคลุมทุกจังหวัดมีการตรวจวินิจฉัยที่รวดเร็ว แยกรักษาเฝ้าระวังค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในบางกลุ่มประชากรที่เสี่ยงต่อการระบาดเช่น กลุ่มที่อยู่แออัด เรือนจำ บ้านคนชรา ชุมชนแรงงานข้ามชาติ  มีการติดตามผู้สัมผัสอย่างรวดเร็ว มีสถานที่รองรับการแยกกักและหอพักผู้ป่วยโควิดที่เพียงพอ สะดวกได้มาตรฐานในทุกจังหวัด

2) ทำให้ทุกคน ทุกสังคม และทุกพื้นที่ เข้าใจและปฎิบัติตามมาตรการสุขลักษณะ ล้างมือ สวมหน้ากากอนามัย เมื่อออกจากบ้าน การมีระยะห่างทางกาย งดการชุมนุม งดงานสังคมที่จัดใหญ่โตมีคนมาก ๆ เปลี่ยนเป็นงานขนาดเล็กภายในหมู่ญูาติสนิทและครอบครัว เป็นต้น

 

3) เปิดให้ธุรกิจเริ่มเดินหน้าโดยมีการประเมินความเสี่ยงของการดำเนินงานโดยองค์กรธุรกิจ อุตสาหกรรม หากมีความเสี่ยงต้องปรับให้เข้ามาสู่ความเสี่ยงต่ำที่จัดการได้ เช่น ใช้มาตรการตรวจวัดไข้ เว้นระยะห่างทางกาย ลดการใช้เสียง เพิ่มการระบายอากาศ การลดจำนวนผู้ติดต่อใช้บริการและการใช้เทคโนโลยีในการทำงาน ประชุม ติดต่อบริการ โดยไม่ต้องมีการพบปะกันมากๆ

4) การปิดแหล่งแพร่โรคที่สำคัญบริการ หรือ กิจการที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งถูกสอบสวนพบว่าเป็นแหล่งแพร่ระบาดให้เกิดผู้ติดเชื้อมากๆ ได้แก่ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ สถานบริการทางเพศ ทั้งตรงและแฝง สนามการพนัน ในรูปแบบต่างๆ ต้องปิดในระยะยาว สำหรับการปิดกิจการอื่น ๆ ในอนาคต ควรใช้วิธีปิดแบบจำเพาะ Selective measures แทนการปิดแบบครอบจักรวาล

5) มีระบบเฝ้าระวังตรวจจับและคาดการณ์ ความรวดเร็วของการแพร่ระบาดในระดับพื้นที่และระดับประเทศ เพื่อเป็นการจัดระดับสถานการณ์เป็นการเตือน และเพิ่มมาตรการหรือผ่อนคลายมาตรการตามบริบทของแต่ละจัง หวัดหรือหากเป็นไปได้ย่อยลงไประดับอำเภอ และมีการเฝ้าระวังโดยภาคประชาชน

อ่านข่าวเพิ่ม รอลุ้น! ศบค.ชงเลิกล็อกดาวน์ ผ่อนปรนร้านตัดผม-ห้างสรรพสินค้า

เริ่มปลดล็อกจากจังหวัดที่ไม่พบผู้ป่วย

การเปลี่ยนผ่านจากมาตรการกึ่งล็อกดาวน์ไปสู่มาตรการสร้างเสถียรภาพควรต้องเตรียมตัว และให้มั่นใจว่ามาตรการที่สำคัญยังคงอยู่ ไม่เปลี่ยนผ่านแบบรวดเร็ว ควรดำเนินการโดยเริ่มจากจังหวัดกล่มแรกที่ไม่พบผู้ป่วยใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา (ประมาณ 32 จังหวัด) สามารถเริ่มได้ในต้นเดือนพ.ค. หรืออาจนำร่งทดลองปลายเดือนเม.ย.นี้

นำร่อง 3-4 จังหวัดหลังจากนั้นจึงเริ่มในกลุ่มที่สอง คือ จังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อเชื้อในพื้นที่แบบประปราย (ประมาณ 38 จังหวัด) ประมาณกลางเดือนพ.ค.นี้

 

สาหรับกลุ่มที่สาม คือ จังหวัดที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่องเป็นกลุ่มก้อน (ประมาณ 7 จังหวัด ) หากจังหวัดเหล่านี้สามารถลดลดการระบาดลงมาได้ในระดับต่ำตามเกณฑ์ และไม่มีการระบาดเป็นกลุ่มก้อนใหญ่ก็ควรให้เริ่มเปลี่ยนผ่านได้ในเดือนมิ.ย. หรือ อาจเริ่มก่อนหน้านั้นได้หากควบคุมสถานการณ์ได้ดี

ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ ก่อนจะถึงเวลาที่มีวัคซีนป้องกันโรคโควิค-19 ประเทศไทย จะสามารถควบคุมให้มีการการติดเชื้อโควิด-19 ในระดับต่ำ มีผู้เสียชีวิตจำนวนไม่มาก ในขณะที่ประชาชนสามารถเริ่มทำงาน ประกอบอาชีพได้ประเทศไทย มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และสังคมโดยรวมและประชาชนเกิดการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตแบบใหม่

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

"ร้านตัดผม" ขานรับผ่อนปรนคุมโรคหลังปิด 1 เดือน

จับตา 14 วันกลุ่มเสี่ยงแจกของดอนเมืองหวั่น "ซูเปอร์สเปรดเดอร์"

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง