ศบค.แนะ WFH ให้ได้ 75 %-เลี่ยงเข้าพื้นที่แออัด

สังคม
20 เม.ย. 63
16:21
1,115
Logo Thai PBS
ศบค.แนะ WFH ให้ได้ 75 %-เลี่ยงเข้าพื้นที่แออัด
โฆษกศบค.ชี้อย่าเพิ่งรีบออกนอกบ้าน แนะทำงานที่บ้านให้ได้ร้อยละ 75 พร้อมวอนการแจกข้าวของจากผู้ใจบุญ ต้องประสาน กทม.หรือเขต เพื่อจัดระเบียบและลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของ COVID-19

วันนี้ (20 เม.ย.2563) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ตอบคำถามสื่อกรณีตัวเลขผู้ติดเชื้อในประเทศไทยลดลงเป็นเพราะมีการตรวจหาน้อยหรือไม่ว่า ประเด็นของการตรวจหาผู้ป่วย COVID-19 น้อยเป็นคำถามที่ถูกตั้งขึ้นมาบ่อยครั้ง ซึ่งถ้าเป็นตัวเลข 20,000 กว่าตัวอย่างนั้นนานมากแล้ว

ปัจจุบันเราสามารถตรวจได้ 142,589 ตัวอย่างแล้วโรงพยาบาลเอกชนและ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และโรงพยาบาลในมหาวิทยาลัย สามารถตรวจได้เป็นจำนวนมาก 21,000 ตัวอย่าง โดยวันที่ 4-17 เม.ย.เฉลี่ยวันละ 3,000 ตัวอย่าง รอบใหม่เจอ 1.41% นั่นหมายความว่า 100 คนเจอประมาณคนครึ่ง 200 คน เจอ 3 คน

แต่การจะไปหว่านตรวจทุกคนนั้น ตอนนี้ค่าตรวจยังเป็นหลัก 1,000 บาท ก็ไม่อยากจะต้องเสียเงิน อีกทั้งการตรวจยังต้องใส่อุปกรณ์ ใส่ชุดเต็มรูปแบบชุด PPE และยังมีความเสี่ยงติดเชื้ออีก ดังนั้นจึงต้องออกแบบการตรวจโดยเข้าไปยังกลุ่มเสี่ยงที่มีความสำคัญจริงๆ

วอนทำงานที่บ้านร้อยละ75-ลด COVID-19

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ตอนนี้กระทรวงสาธารณสุข ค้นพบการตรวจรูปแบบใหม่ คือตรวจจากน้ำลาย ได้ผลในระดับหนึ่ง ผู้ตรวจปลอดภัย แต่อาจจะไม่สามารถเทียบเท่าได้กับการตรวจมาตรฐานจากสารคัดหลั่งในโพรงจมูก เป็นรูปแบบการตรวจที่ง่ายขึ้น โดยให้นำน้ำลายมาตรวจ ง่ายกว่าตรวจจากโพรงจมูกที่เสี่ยงที่จะเกิดการไอจาม แต่อนาคตต้องตรวจให้กว้างขวางขึ้น เพื่อที่จะยืนยันได้ว่าเราควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้

ส่วนกรณีเริ่มพบคนคนออกมาทำงาน จับจ่ายซื้อของมากขึ้นจะเสี่ยงต่อการระบาดของโรคหรือไม่ นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า เสี่ยงแน่นอน เพราะโรคยังคงวนเวียนอยู่รอบๆเรา ยังไม่ได้หายไปจากโลกนี้ และอาจจะอยู่ในบุคคลรอบรอบตัวเราในขณะนี้เพียงแต่ไม่แสดงอาการดังนั้นเราต้องป้องกันตัวเองทุกคน ซึ่งประเทศไทยเราซีลไว้ ไม่ให้คนติดเชื้อมาเดินอยู่ทั่วไป

ส่วนประเทศอื่นๆ เขามีการผ่อนคลายเพราะอาจจะไม่เชื่อ หรืออาจมีวิถีวัฒนธรรมเสรี ทำให้มีการเสียชีวิตหลักหมื่น ในภาวะเช่นนี้เราจะต้องชั่งน้ำหนักระหว่างสิ่งที่เกิดขึ้นกับสิ่งที่เราต้องสูญเสียไปแต่สุขภาพต้องมาก่อน ไม่เป็นพาหะนำไปติดปู่ย่าตายาย

การออกบ้านจำนวนมากพร้อมกัน ขอให้เหลื่อมเวลาได้หรือไม่ ทำงานที่บ้านได้หรือไม่ บางส่วน WFH 75% บางส่วนอยู่ที่ออฟฟิส 25% ได้หรือไม่ ยังเป็นหลักการที่เราไม่ควรย่อหย่อน เพราะเราต้องอยู่กับโรคนี้อีกนาน  

เจตนาแจกของดี-ขอจัดระเบียบ

ส่วนการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีเอาผิดกับบุคคลที่ไปตั้งโต๊ะแจกข้าวของ ให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน จะเป็นไปได้หรือไม่ถ้าเปลี่ยนจากการจับกลุ่มไปเต็มช่วยอำนวยความสะดวก ทางศบค.ขอดูความชัดเจนเรื่องดังกล่าวอีกครั้งว่าถึงขั้นดำเนินคดีหรือไม่ เพราะเชื่อว่าเจตนาของคนที่นำของมาแจกนั้นเป็นเรื่องที่ดี หากมีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปแจก ขอให้ประสานกับทางกทม.ผ่านสำนักงานเขตต่างๆ ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการ ศบค. สั่งการให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานคร เข้าไปช่วยจัดระเบียบหรือระบบที่ดีของการช่วยผู้เดือดร้อน

ถ้าจะช่วยคนก็ต้องปลอดโรคไปพร้อมด้วย ขอให้มีการประสานกับเจ้าหน้าที่เพื่อจัดสถานที่ให้เหมาะสม ไม่แออัด ประชาสัมพันธ์ให้ดี สำนักงานเขต 50 แห่งทั่วกรุงเทพมหานครก็มีเจ้าหน้าที่เพียงพอ ที่จะช่วยเหลือกัน

 

นอกจากขอว่าอย่าปล่อยข่าวว่าจะแจกของที่นั่นที่นี่เพราะเมื่อมีคนมารอแออัดจำนวนมาก ถ้ามีแบบนี้จะเพิ่มความเสี่ยงได้ เพราะถ้ามีการติดเชื้อตัวเลขคนที่จะป่วยจากตรงนี้จะแสดงในอีก 7 วันขึ้นไป ขอว่าอย่าทำแบบนี้พราะไม่มีประโยชน์กับใคร และขณะนี้ทางกระทรวงดีอี ก็ตรวจสอบคนที่ปล่อยข่าวนี้

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

หนีโรคระบาด! 8,900 คนขออพยพกลับไทย

สสจ.เชียงรายเร่งหาสาเหตุผู้ป่วย COVID-19 ป่วยซ้ำกลับเข้า รพ.

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง