กทม.ยังรอลุ้นคลายล็อก-ศบค.แนะปรับตัวชีวิตวิถีใหม่

สังคม
28 เม.ย. 63
13:07
1,279
Logo Thai PBS
กทม.ยังรอลุ้นคลายล็อก-ศบค.แนะปรับตัวชีวิตวิถีใหม่
โฆษก ศบค.แถลงวันนี้ (28 เม.ย.) มีผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่เพียง 7 คน และตัวเลขต่ำกว่าสิบเป็นวันที่ 2 แล้ว รักษาหายเพิ่ม 43 คน รวมสะสม 2,652 คน และเสียชีวิตเพิ่ม 2 คน ส่วนกทม. ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่เหลือแค่ 3 คนยังรอลุ้นคลายล็อก-แนะปรับตัวชีวิตวิถีใหม่

วันนี้ (28 เม.ย.2563) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ในฐานะโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) แถลงข่าวสถานการณ์ตัวเลขผู้ติดเชื้อ COVID-19 ว่า มีผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่เพียง 7 คน และตัวเลขต่ำกว่าสิบเป็นวันที่ 2 แล้ว รวมสะสม 2,938 คนรักษาหายเพิ่ม 43 คน รวมสะสม 2,652 คน และเสียชีวิตเพิ่ม 2 คน รวมเสียชีวิต 54 คน โดยผู้เสียชีวิตชายไทย 1 คนอายุ 52 ปี ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัวมีประวัติจากการเดินทางไปประชุมสัมมนา และ อีก 1 คนเพศหญิงอายุ 63 ปี อาชีพค้าขายเป็นเจ้าของร้านอาหารใน จ.ภูเก็ต มีภาวะอ้วนและมีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยันคือสามีและหลานสาวที่ติดเชื้อ COVID-19

สำหรับผู้ป่วยใหม่ทั้ง 7 คนพบเป็นกลุ่มสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้ารวม 5 คน แบ่งเป็น จ.ภูเก็ต 3 คน กทม. 1 คน และนครราชสีมา  1 คน ส่วนอีก 1 คนจากกทม.ไปในสถานที่แออัด งานแฟร์ คอนเสิร์ต ตลาดนัด  และอยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 1 คน เป็นชาวจีนที่ได้เข้ารักษาในโรงพยาบาลแล้ว

พบความเชื่อมโยงอายุ 60 ปีตายจาก COVID-19

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวอีกว่า จากการศึกษาข้อมูลทางระบาดวิทยาสถานการณ์ผู้ป่วยติดเชื้อของกรมควบคุมโรค ซึ่งมีตัวอย่างผู้ป่วยในจำนวน 328 คนในช่วงม.ค.-26 เม.ย.นี้ มาวิเคราะห์ พบว่าผู้ป่วยในช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็น 11% ของผู้ป่วยทั้งหมด ในจำนวนนี้เสียชีวิตแล้ว 21 คน เป็นผู้ชายมากกว่าหญิง 2.3 ต่อ 1 ส่วนใหญ่เป็นคนไทย 86% ต่างชาติ 14%

จากปัจจัยเสียยงของกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป เสี่ยงจะพบว่าติดเชื้อจากพิธีทางศาสนา 79 คน หรือ 24% รองลงมาคือ เกี่ยวข้องกับสนามมวยและผู้สัมผัส 78 คน หรือ 24% และสัมผัสผู้ป่วยยืนยัน 58 คน จำนวน 18% และชาวต่างชาติเดินทางมาจากต่างประเทศ 31 คน หรือประมาณ 10%

 

นอกจากนี้ นพ.ทวีศิลป์ ยังระบุว่า จังหวัด 3 อันดับแรกที่มีอัตราป่วยจำเพาะตามช่วงอายุสูงสุดพบว่าจ.ยะลา มากที่สุด 54.3% ภูเก็ต 33.7% และปัตตานี 22.3% โดยทั้ง 2 จังหวัด เชื่อมโยงกับผู้ประกอบพิธีทางศาสนา และต่างประเทศ

ดังนั้นในกลุ่มนี้หากพบว่าตัวเองเป็นผู้สัมผัสกับญาติ ครอบครัวและสมาชิกในบ้าน ขอให้ดูแลผู้สูงอายุให้ดีๆเพราะยังมีอัตราเสียชีวิตสูงอยู่

ขณะเดียวกัน เมื่อมีการจำแนกผู้ป่วยติดเชื้อยืนยันตามปัจจัยเสี่ยงในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา กลุ่มใหญ่ที่สุดยังคงเป็นกลุ่มสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยยืนยัน ซึ่งป่วยเพิ่มถึง 121 คน รองลงมาคือกลุ่มศูนย์กักคนเข้าเมือง 78 คน และการตรวจเชิงรุกพบ 20 คน

กทม.ยังรอลุ้นคลายล็อก-ต้องปรับตัววิถีชีวิตใหม่

นอกจากนี้ โฆษกศบค.กล่าวอีกว่า สำหรับมาตรการผ่อนปรนและการต่อพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ยังต้องรอมติครม.ว่าอยากได้อย่างไรต้องปรับชีวิตวิถีใหม่ หรือ New Normal 

ส่วนกรณีที่ในกทม.เริ่มมีตัวเลขผู้ป่วยเป็นศูนย์ และวันนี้พบ 3 คนจะเป็นสัญญาณที่ดี คนออกมาทำงานจะคลายล็อกให้กทม.ได้หรือไม่ นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ต้องชมคนกทม.แต่ยังเบาใจไม่ได้ เพราะ 3 คนยังไม่ใช่ว่าจะไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ ไม่ใช่เชื้อจะเป็นศูนย์ ต้องค้นหาคนที่ติดเชื้อให้เจอ และยังเบาใจไม่ได้ เราต้องอยู่กับเชื้อโรควันนี้ ยังต้องเข้มข้นในเรื่องการป้องกันควบคุมอย่างดี เพื่อตัวเลขจะไปต่อในอีก 14 วันข้างหน้าถ้าปล่อยปละละเลยจะเกิดขึ้นในอนาคต

ถ้าตัวเลขกทม.เป็นศูนย์ แสดงว่าไม่ติดเชื้อ ก็ไม่ใช่ว่าจะใช้ใช้ชีวิตปกติได้  เพราะคนที่เขาติดเชื้ออาจจะไม่แสดงอาการมีข้อมูลถึง 80%  

มาตรการช่วยคนไทยกลับประเทศตกค้างหลัง 1 พ.ค.

ส่วนกรณีการขยายมาตรการเดินทางกลับไทย 1 พ.ค.นี้ทำให้ได้รับผลกระทบ แล้วรัฐจะเข้ามาช่วยเหลืออย่างไร นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากมาตรการป้องกันการแพร่เชื้อ และหากมีความจำเป็นเร่งด่วนก่อน ขอให้ติดต่อสถานกงสุล และสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศ ทุกที่ทั่วโลก

ส่วนข้อเสนอปูพรมตรวจทั่วประเทศ นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ตอนนี้ตรวจจากโพรงจมูก และน้ำลายได้แล้ว ทางวิขาการคุยกันแล้วว่าต้องตรวจแล็บมามาตรฐานคือพีซีอาร์ และต้องใช้งบในการตรวจสอบ เพราถ้าไปปูพรมอาจจะเจอแค่นิดเดียวแต่การเลือกกลุ่มเสี่ยง พบว่าผู้ติดเชื้อมากกว่า โดยตอนนี้มีกลุ่มเสี่ยง เช่น แรงงานต่างด้าว คนในพื้นที่แออัด และกลุ่มเสี่ยง

 

การเปิดร้านค้าตลาด ต้องปฏิบัติตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขออกมาตรการเพื่อบังคับใช้ ซึ่งมีการออกมาตรฐานกลาง 11 ข้อที่ออกภายใต้พ.ร.ก.ฉุกเฉินพ.ศ.2548 แล้ว เช่น ยกตัวอย่างร้านขายอาหารตามสั่ง ถ้าไม่สวมหน้ากากอนามัย ให้เว้นระยะห่างไปอีก 14 วัน เป็นเรื่องที่เกิดขั้นในสังคมไทย และช่วยให้อยู่อย่างปลอดภัย เข้ามาสู่ชีวิตวิถีใหม่

ผมชมทุกครั้งว่าเห็นคนร่วมมือกันใส่หน้ากาก ต่อไปจะชินตา ฝากว่าชีวิตวิถีใหม่เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องปรับตัว ไม่ว่าจะอยู่นอกบ้าน จะอยู่ที่บ้าน ไปตลาดต้องใส่หน้ากาก ล้างมือ กินช้อนตัว เพราะถ้าเราไม่ป่วย ญาติไม่ป่วย ก็จะกลับมาสู่ภาคปกติ ลดการสูญเสียน้อยทื่สุด

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง