สธ.เปิดผลสำรวจคนไทยเครียดลดลง หลังรัฐผ่อนคลายมาตรการ

สังคม
18 พ.ค. 63
15:26
2,872
Logo Thai PBS
สธ.เปิดผลสำรวจคนไทยเครียดลดลง หลังรัฐผ่อนคลายมาตรการ
อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า คนไทยมีความเครียดน้อยลงหลังจากเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ พร้อมแนะเติม 3 พลังวัคซีนครอบครัว ช่วยสู้วิกฤต COVID-19

วันนี้ (18 พ.ค.2563) นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต ระบุว่า  กรมสุขภาพจิตได้สำรวจเพื่อประเมินระดับความเครียดของประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ โดยสำรวจ 4 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค. - 3 พ.ค. โดยพบว่า ในช่วงเดือน มี.ค.มีประชาชนเครียดมากถึงมากที่สุดอยู่ 4.4% เครียดปานกลาง 14.1% และเครียดน้อย 81.5%

ช่วงที่น่าสังเกตคือ ช่วงกลางเดือน เม.ย.พบว่า ประชาชนเครียดมากถึงมากที่สุด 6.3% และเตรียมปานกลาง 26 % ซึ่งรวมกันกว่า 30% ที่เป็นผู้มีความเครียดในเกณฑ์ต้องดูแล โดยเป็นการเครียดจากหลายสาเหตุในช่วง COVID-19 ทั้งการเคอร์ฟิว การล็อกดาวน์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะในยุโรป และสหรัฐอเมริกา มีผู้มีความเครียดสูงถึง 55%

 

ขณะที่สัปดาห์ช่วงปลายเดือน เม.ย. ถึงต้นเดือน พ.ค.ประชาชนเครียดมากถึงมากที่สุดลดลงเล็กน้อยเหลือ 2.9% ส่วนประชาชนเครียดน้อยเพิ่มขึ้นเป็น 84.% เพราะมีการประกาศผ่อนคลายมาตรการต่างๆ

ส่วนบุคลากรทางการแพทย์เครียดมากถึงมากที่สุดในช่วงเดือน มี.ค. ถึง 6.4% เครียดปานกลาง 24% และเครียดน้อง 69.6% ขณะที่ช่วงปลายเดือน เม.ย.ถึงต้นเดือน พ.ค.บุคลากรทางการแพทย์เครียดมากถึงมากทีสุดลดเหลือ 5.6% เครียดปานกลาง 21.4% และเครียดน้อย 73%


เมื่อเกิดความกดดันในช่วงวิกฤตจนเกิดเป็นความเครียด หากปรับตัวไม่ได้ก็จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางร่างกายสำหรับผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง และส่งผลกระทบต่อจิตใจอาจเกิดเป็นอาการซึมเศร้า ภาวะเครียด หรือนำไปสู่การฆ่าตัวตาย รวมถึงพฤติกรรมการใช้ความรุนแรง การหย่าร้าง การใช้สุราและสารเสพติดรวมถึงเรื่องอาชญากรรม

ปัญหาสุขภาพจิตคลื่นลูกสุดท้าย หลังช่วง COVID-19 

งานวิจัยต่างประเทศได้ประเมินผลกระทบระยะยาวของโรค COVID-19 ไว้ โดยแบ่งออกเป็นคลื่น 4 ลูก คลื่นลูกที่ 1 ช่วง 1-3 เดือนแรกที่ระบาด เป็นช่วงสร้างผลกระทบต่อสุขภาพของคนและขีความสามารถของโรงพยาบาล เพราะพบผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตต่อเนื่อง

คลื่นลูกที่ 2 ช่วง 2-4 เดือนหลังเริ่มมีโรคระบาด เป็นช่วงผู้ป่วยเร่งด่วนที่ไม่ได้ติดเชื้อ COVID-19 เข้ามาใช้บริการ ซึ่งอาจเกิดการ "ล้นทะลัก" เพราะให้บริการไม่เพียงพอ ส่วนคลื่นลูกที่ 3 ช่วง 4-9 เดือนหลังเริ่มมีโรคระบาด เป็นช่วงที่โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ต้องกลับมาโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์หรือรับการรักษา


สุดท้าย คลื่นลูกที่ 4 ช่วง 2 เดือน - 3 ปี หลังมีโรคระบาด ผลกระทบด้านเศรษฐกิจยังเป็นลูกโซ่ ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต คนมีความเครียด ซึมเศร้า หรือฆ่าตัวตาย นอจกากนี้การให้บริการในภาวะวิกฤตมาอย่างยาวนาน ยังส่งผลต่อสุขภาพจิตของบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งอาจมีภาวพเหนื่อยล้าและหมดไป ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้และจะเร่งดำเนินการช่วยเหลือประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ต่อไป สำหรับประชาชนที่ปรับตัวได้ จะมีความจิตใจที่เข้มแข็งมากขึ้น เพื่อก้าวสู่การปรับตัวใ New Normal ต่อไป

4 กลุ่มเสี่ยงเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย

กรมสุขภาพจิตได้เก็บสถิติอัตราการฆ่าตัวตายต่อแสนประชากรตั้งแต่ปี 2540 - 2561 พบว่า ปี 2540 ที่มีวิกฤตเศษฐกิจ ตัวเลขอัตราการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายอยู่ที่ 6.92 และเพิ่มขึ้นไปถึง 8.59 ในปี 2542 ก่อนจะลดลงมาอย่างต่อเนื่อง


นอกจากนี้ กรมสุขภาพจิตยังได้ระดมนักวิชาการเพื่อประเมินและจำลองภาพแนวโน้มอัตราการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย ปี 2563 โดยคาดว่าหากไม่มีการดูแลจะทำให้มีอัตราการเสียชีวิตถึง 8.8 แต่ปัจจุบันควบคุมอยู่ที่ 6.6 เนื่องจากความร่วมมือของทุกคน ทั้งประชาชน ภาครัฐ และเอกชน โดยกลุ่มเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย คือ 1.บุคลากรสาธารณสุข 2.ผู้เกี่ยวข้องกับ COVID-19 ทั้งผู้ติดเชื้อและผู้กักตัว 3.กลุ่มผู้ป่วย NCD เรื้อรัง และ 4.กลุ่มติดสุรา-ยาเสพติด


ทางกรมสุขภาพจิตจะลดผลกระทบทางด้านสุขภาพจิต โดยในช่วง 3 เดือนแรก จะเน้นปัญหา 4 อย่าง คือ ปัญหาความเครียด ปัญหาเหนื่อยล้า หมดไฟ ปัญหาโรคซึมเศร้า และปัญหาฆ่าตัวตาย พร้อมเพิ่มศักยภาพให้จิตใจ เน้นทำในครอบครัวและชุมชน เพื่อนำไปสู่การดำเนินชีวิตวิถีใหม่ พร้อมคัดกรองเชิงรุกโดย อสม. และพัฒนาแอปพลิเคชัน Mental Health Check Up โดยประเมินความเครียดตัวเองได้ หรือโทรสายด่วน 1323 ฟรี 24 ชั่วโมง

เสริม 3 พลัง วัคซีนครอบครัวลดปัญหาสุขภาพจิต

ทั้งนี้ สธ.แนะวัคซีนใจในครอบครัว ระหว่างรอวัคซีนรักษาโรค COVID-19 โดยวัคซีนครอบครัว เป็นวัคซีนสังคมที่ต้องให้กับผู้เป็นแม่หรือหัวหน้าครอบครัว เพื่อนำไปแบ่งปันสู่คนในครอบครัว โดยเน้น 3 พลัง ได้แก่ พลังบวก ครอบครัวที่มองบวก มองเห็นทางออกในทุกปัญหา แม้ในภาวะวิกฤตเมื่อเห็นทางออกแล้วครอบครัวต้องอาศัย


อีกทั้งยังมีต้องเสริมพลังยืดหยุ่น เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนบทบาท ทำหน้าที่ทดแทนกัน ช่วยกันแบ่งเบาภารที่เกิดขึ้นและนำไปสู่ พลังร่วมมือ ทำให้ครอบครัวปรองดอง เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการผ่านอุปสรรคไปได้

ศบค.ยังได้ทำหนังสือถึงผู้ว่าฯ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน เพื่อให้เข้าไปดูแล ให้กำลังใจ และประเมินสุขภาพจิตในชุมชน เพื่อให้เข้าถึงบริการสุขภาพจิตได้

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง