รอลุ้นปี 64! เหตุผลไทยไม่รอซื้อวัคซีน COVID-19

Logo Thai PBS
รอลุ้นปี 64! เหตุผลไทยไม่รอซื้อวัคซีน COVID-19
สถาบันวัคซีนแห่งชาติ คาดปลายปี 2563 วัคซีนต้นแบบ COVID-19 ฝีมือคนไทยอาจจะผ่านไปสู่ขั้นตอนการทดสอบในอาสาสมัครได้ และถ้าไม่สะดุดจะมีวัคซีนล็อตแรกใช้ ภายในปี 2564 ชี้เหตุผลต้องพัฒนาเอง เหตุทั่วโลกมีประชากรที่รอคอยมาก ย้ำไทยมีศักยภาพเพียงพอ

วันนี้ (24 พ.ค.2563) นพ.นคร เปรมศรี ผอ.สถาบันวัคซีนแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ว่า ประเทศไทยมีการริเริ่มและความพยายามในการพัฒนาวัคซีนป้องกัน COVID-19 โดยได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล  คณะเภสัช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไบโอเทค สวทช. บริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัดในการพัฒนาวิจัยวัคซีนต้นแบบในหลายรูปแบบ ทั้งรูปแบบดีเอ็นเอ (DNA) เอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA)  

แต่ที่มีความก้าวหน้า 2 ตัว คือ DNA วัคซีน และ mRNA วัคซีน โดยเริ่มทำการทดสอบในสัตว์ทดลอง ซึ่งวัคซีน DNA โดยบริษัทไบโอเนท-เอเชีย จำกัด และไบโอเทค เริ่มทดสอบในหนูทดลอง ส่วนวัคซีน mRNA โดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผ่านการทดสอบในหนู และเริ่มทดสอบในลิงเมื่อวันที่ 23 พ.ค.ที่ผ่านมา 

รอลุ้นผลกระตุ้นภูมิกันในลิง-ทดสอบในคน

นพ.นคร กล่าวอีกว่า วัคซีนที่ผ่านการทดสอบมีขั้นตอนต้องผ่านในสัตว์ทด ลองให้ได้ผลพอใจ ต้องผ่านเงื่อนไขความปลอดภัย และกระตุ้นสร้างภูมิคุ้ม กันให้กับสัตว์ทดลองได้ จึงจะเริ่มทำการทดสอบในคนได้ การทดสอบในคนมี 3 ระยะ คือ หาความปลอดภัยในสัตว์แล้วมาในคน กระตุ้นภูมิคุ้มกัน  และ ให้ผลในการป้องกันโรค 1,000 คนขึ้นไป ระดับโลกจากมีวัคซีนต้นแบบ 10 ชนิดที่เริ่มทดสอบในคนแล้ว คือ จีน 5 ชนิด อเมริกา 2 ชนิด อังกฤษ เยอรมนี และออสเตรเลีย อย่างละ 1 ชนิด เป็นประเทศแนวหน้า

นอกจากนี้ยังมีการทดลองวัคซีนในสัตว์ทดลองอีก 114 ชนิด รวมทั้งในไทย แม้ไทยจะเริ่มช้ากว่า แต่ไมไ่ด้อยู่แถวหลัง และยังจะได้ปรับปรุงวัคซีนให้ดีขึ้นเรื่อยๆ เหตุผลที่ไทยต้องพัฒนาวัคซีนการดำเนินงานเพื่อให้ไทยมีวัคซีนป้องกัน COVID-19 ใกล้เคียงกับประเทศอื่น

 

นพ.นคร กล่าวอีกว่า สำหรับการพัฒนาวัคซีนในประเทศ ไทยมีนักวิจัยที่มีศักยภาพในประเทศ มีหน่วยงานอื่นๆ มาร่วมสนับสนุน และการเชื่อมพันธมิตรนานาชาติในการร่วมพัฒนา ถ้าพันธมิตรพัฒนาได้วัคซีนแล้วสามารถใช้ป้องกันโรค ไทยก็จะขอร่วมถ่ายทอดเทคโนโลยี และข้อตกลงจัดซื้อวัคซีนร่วมกัน เพื่อไทยมีวัคซีนในเวลาใกล้เคียงประเทศอื่น เพราะไม่มีประเทศใดประเทศหนึ่งที่จะผลิตวัคซีนได้เพียงพอสำหรับคนทั้งโลก

การพัฒนาวัคซีน COVID-19 เป็นสิ่งท้าทายนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกที่จะต้องผลิตวัคซีนในระยะเวลาอันรวดเร็ว ตอนนี้จีนเริ่มทำลองในคน 100 คน แต่ยังต้องใช้แก 6 เดือนถึงจะสรุปขั้นตอนนี้

อ่านข่าวเพิ่ม ครั้งแรก ทีมวิจัยจุฬาฯ-วช.เริ่มทดสอบวัคซีน COVID-19 ในลิง

ทำไมไทยไม่รอซื้อวัคซีน-แต่ต้องพัฒนาเอง

ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผอ.ศูนยวิจัยวัคซีน COVID-19 คณะแพทย ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สาเหตุที่ไทยต้องพัฒนาวัคซีนเอง ไม่รอซื้อ เนื่องจากประชากรโลกมีจำนวนมาก 7.7 พันล้านคน และต้องได้วัคซีน 30-50% โดยทั้งจีน ที่มีโอกาสเป็นแชมป์ในการผลิตวัควีนได้ก่อน และสหรัฐอเมริกา ที่กำลังพัฒนาวัคซีนอยู่ ก็มีประชากรจำนวนมาก จีน 1,400 ล้านคน สำหรัฐอเมริกา แค่ผลิตวัคซีนให้คนในประเทศเพียงครึ่งเดียวของประชากร 330 ล้านคน ก็คงไม่พอกว่าจะมาถึงประเทศไทยคงอีกหลายปี

ไทยต้องต้องเข้าไปแข่งในการผลิตวัคซีนด้วย เพราะไม่ได้เริ่มจากศูนย์ อย่างศูนย์วิจัยวัคซีนจุฬาฯ เราตั้งมา 15 ปี เรียนรู้เทคโนโลยีสะสมมาเรื่อยๆ สามารถทำได้หลายอย่างรวดเร็วขึ้น

ศ.นพ.เกียรติกล่าวว่า สำหรับวัคซีน mRNA ที่ผ่านด่านหนู และกำลังทดลองลิง คาดว่าประมาณ 2 สัปดาห์น่าจะได้ผล เพราะหากฉีดวัคซีนไปแล้วภูมิน่าจะขึ้น และจะขึ้นสูงใน 4-6 สัปดาห์ จึงจะมีการตรวจเลือดลิงรอบแรกกลางมิ.ย.นี้ แต่ถ้าผลเลือดยังต่ำ ก็รอปลายมิ.ย.หรือต้น ก.ค.นี้

จับมือพันธมิตรร่วมผลิตวัคซีน COVID-19

ศ.นพ.เกียรติ กล่าวว่า ทั้งนี้ ในไทยยังไม่สามรถผลิตวัคซีนจากเทคโนโล ยี mRNA ได้ เพราะเป็นเทคโนโลยีใหม่มาก ทั่วโลกขณะนี้มีโรงงานที่ผลิต mRNA ได้ ไม่น่าเกิน 7 แห่ง จึงจองโรงงานขนาดเล็กในต่างประเทศก่อน คือที่สหรัฐอเมริกา และเยอรมัน แต่มีโรงงานที่แวนคูเวอร์ แคนาดา เพื่อผลิตให้เราจำนวน 10,000 โดส โดยเมื่อเราได้ผลทดสอบในลิงดี ก็จะเลือกตัวที่ดีที่สุดไปผลิต ซึ่งจำนวน 10,000 โดส มาจากวัคซีนทั่วไปจะฉีดคนละ 2 โดส จึงเตรียมอาสาสมัครไว้ 5,000 คน

 

คาดว่าจะผลิตได้จากโรงงานเร็วสุดคือเดือนต.ค.นี้ และอีกแห่งน่าจะได้ก่อนสิ้นปี 63 เพื่อใช้ทดสอบในคน 3 ระยะ คือ ระยะ 1 ประมาณ 30-50 คน เพื่อดูขนาดต่ำสุด ขนาดกลาง ขนาดสูง เทียบกับกลุ่มเปรียบเทียบ ว่าปลอดภัยหรือไม่ เช่น มีไข้ บวม ผื่น หรือไม่ ระยะ 2 อาสาสมัครก็เยอะขึ้น และระยะ 3 ที่ต้องมากกว่าพันคน

ไทยต้องเตรียมรอรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจาก 2 โรงงานขนาดเล็กนี้ด้วย ถ้าแต่ละขั้นตอนผ่านด่านแล้วดี ไทยก็พร้อมผลิตวัคซีนในอีก 1 ปีครึ่งข้างหน้า ถ้าเป็นไปตามแผน อาจจะได้ผลิตเพื่อหลายล้านคนภายในปลายปี 2564

 เตรียมทดสอบในอาสาสมัครคาดปลายปี 64 ได้ใช้

นายวิฑูรย์ วงศ์หาญกุล ประธานกรรมการบริหาร บ.ไบโอเนทเอเชีย จำกัด กล่าวว่า จากการหารือก็เห็นตรงกันว่า ช่วงโรคระบาดจะต้องเลือกพัฒนาวัคซีนที่มีความรวดเร็วและปลอดภัย ดังนั้น DNA และ mRNA วัคซีนเป็นคำตอบ บริษัทจึงหันมาทำทาง DNA วัคซีน ซึ่งมีการพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว และเรามีศักยภาพที่จะผลิต DNA วัคซีนเพื่อใช้ในประเทศได้ และพร้อมรับการถ่ายทอด mRNA

เดิมวัคซีนแต่ละชนิดจะใช้เวลา 5-10 ปี แต่กรณีของ COVID-19 มีการหารือร่วมกันโดยได้มีการหารือร่วมกับจุฬา ซึ่งทางไบโอเนทมีความสนใจในเทคโนโลยี ด้านวัคซีน DNA มีการพัฒนาตัวกล้าเชื้อ DNA ประมาณ 50 วัน และได้มีการทดลองในหนูไปแล้ว

ถึงแม้ตอนนี้ จะยังไม่วามารถผลิตวัคซีนป้องกันโควิดได้ แต่เราพบวิธีที่จะสามารถผลิตวัคซีนได้ เน้นย้ำไทยมีศักยภาพเพียงพอ

สำหรับระยะการทดลองในคน มี 3 ระยะ คือ ระยะ 1  อาสาสมัคร ประมาณ 10-15 คนต่อกลุ่ม รวม 100 คน แบ่งเป็น ขนาดโด๊สต่ำ โด๊สกลาง โด๊สสูง โดยจะฉีด 1 เข็ม-2เข็ม และจะเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ฉีดวัคซีนหลอก เพื่อดูอาการ ไข้ ผื่น เน้น กลุ่ม คนทั่วไป ที่มีความเสี่ยงต่ำ

ส่วนระยะ 2  ทดลองในอาสาสมัคร ประมาณ 500 คน เป็นกลุ่มคยทั่วไป โดยให้โด๊สยาต่ำลงกว่าในกลุ่มแรก และระยะ3  ในกลุ่มอาสาสมัครกลุ่มใหญ่ โดยจะเลือกอาสาสมัครในพื้นที่การระบาดเยอะ อาชีพเสี่ยง เป็นต้น

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศบค.ชี้ไทยเพิ่งเริ่มต้นวัคซีน COVID-19 คาดใช้เวลาอีก 1-2 ปี

ผู้นำโลกผนึกกำลังระดมทุนเร่งวิจัยวัคซีน COVID-19

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง