"เกียรติ"ตั้ง 4 ข้อกังวลใช้เงินกู้ 1ล้านล้านบาท

การเมือง
28 พ.ค. 63
14:50
363
Logo Thai PBS
"เกียรติ"ตั้ง 4 ข้อกังวลใช้เงินกู้ 1ล้านล้านบาท
ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งข้อกังวล 4 ด้านร่าง พ.ร.ก.ทั้ง 3 ฉบับ ชี้แหล่งที่มายังไม่ชัดเจนและการช่วยเหลืออาจไม่ตรงเป้าหมาย แนะตั้งคณะกรรมการเพื่อดูแลการฟื้นฟูโดยเฉพาะเนื่องจากกลุ่มธุรกิจมีความหลากหลาย

วันนี้ (28 พ.ค.2563) เกียรติ สิทธีอมร ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายร่าง พ.ร.ก.ทั้ง 3 ฉบับ โดยมีข้อสังเกต 4 ประเด็น คือ 1.ไม่มีรายละเอียดโดยเฉพาะแหล่งที่มาเงินกู้ ตาม พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาทว่าจะกู้จากต่างประเทศ ในประเทศ หรือ ตราสารหนี้ ขณะที่ พ.ร.ก.เอสเอ็มอี และ พ.ร.ก.เสถียรภาพของระบบการเงิน ซึ่งนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังระบุว่า มีการพูดว่าจะใช้สภาพคล่องในระบบซึ่งยังไม่ชัดเจน ซึ่งควรระบุให้ชัดว่า หรือหากจะใช้เงินทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศก็ต้องดำเนินการให้ถูกตามกฎหมาย และหากใช้สภาพคล่องที่มีในสถาบันการเงินต้องให้ชัดเจนว่าดำเนินการอย่างไร

ขณะที่งบประมาณการฟื้นฟูวงเงิน 400,000 ล้านบาท ก็ยังไม่มีรายละเอียด และมีการระบุถึงโครงการเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เกษตรกรอัจฉริยะ การท่องเที่ยว ซึ่งสามารถใช้งบประมาณปกติดำเนินการได้ ซึ่งความเข้าใจของภาคธุรกิจคือการฟื้นฟูธุรกิจที่ได้รับผลกระทบและอยู่ระหว่างการฟื้นตัวซึ่งมี 3 กลุ่มของธุรกิจและการจ้างงาน หลังคลายล็อก COVID-9 คือ 1.การฟื้นตัวแบบ V-Shape ภายใน 3 เดือน มีการจ้างงาน 4.8 ล้านคน 2.การฟื้นตัวแบบ U- Shape ภายใน 3 -6 เดือนมีการจ้างงาน .6.4 ล้านคน 3.การฟื้นตัวแบบ L-Shape ใช้เวลาฟื้นตัวมากกว่า 6 เดือนมีการจ้างงาน 5 ล้านคน ซึ่งมีความคาดหวังว่าเงินกู้ดังกล่าวจะใช้ดูแลอย่างต่ำที่สุดใช้ดูแลกลุ่ม U- Shape และ L Shape ขณะที่การคัดกรองยังมีคำถามคือ จะคัดกรองโดยบุคคลใด และวิธีใด

 

ข้อกังวลที่ 2 วิธีการที่ทำอาจไม่ตรงเป้า หรือ อาจถึงไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ตัวอย่างเช่น เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำของธนาคารออมสินวงเงินรวม 50,000 ล้านบาทไม่ถึงกลุ่มเป้าหมาย เนื่องจากมีคำสั่งไปยังธนาคารว่าขอให้ลูกค้าชั้นดีซึ่งลูกค้ากลุ่มดังกล่าวไม่ต้องการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งใน พ.ร.ก.ไม่มีคณะกรรมการกลั่นกรองว่าจะปล่อยกู้ให้กับบุคคลใดบ้างซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคารในการพิจารณา

ข้อกังวลที่ 3 คณะกรรมการคัดกรองมีเพียง 1 กลุ่ม คือตาม พ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ซึ่งรายละเอียดมีหลากหลายเนื่องจากวิธีการช่วยเหลือเยียวยาแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มซึ่งอาจรับภาระงานไม่ไหวและต้องมีความน่าเชื่อถือ

ข้อกังวลที่ 4 กระบวนการตรวจสอบ ซึ่งระบุว่าจะรายงานความก้าวหน้าทุก 3 เดือนต่อคณะรัฐมนตรี และผลสัมฤทธิ์จะรายงาน 60 วันหลังสิ้นปีงบประมาณ

นอกจากนี้นายเกียรติ ยังระบุอีกว่า ข้อเสนอที่ 1 ซึ่งต้องปรับสมมติฐานใหม่โดยเฉพาะจากการคาดการณ์เศรษฐกิจไทย 2020 หากมองบวกติดลบร้อยละ 10 มองลบติดลบร้อยละ 30 ซึ่งจะต้องเตรียมงบประมาณให้สอดคล้องกับภาวะติดลบของภาวะเศรษฐกิจที่งบประมาณอาจไม่พอ ขณะที่นักท่องเที่ยวจีนที่คาดหวังว่าจะเป็นรายได้จะเดินทางกลับมาท่องเที่ยวอยู่ที่ราวร้อยละ 30 ขณะที่สงครามการค้าจะรุนแรงมากขึ้น

 

ข้อเสนอที่ 2 ปรับโครงสร้างกรรมการโดยกรรมการที่ดูแลเรื่องฟื้นฟูและเยียวยาต้องเป็นคนละกลุ่มและมีตัวแทนจากกลุ่มที่ต้องฟื้นฟูเข้ามาเป็นกรรมการเข้าไปมีส่วนร่วม ซึ่งต้องมีคณะกรรมการอย่างน้อยอีก 1 คณะที่ดูแลเรื่องฟื้นฟูเนื่องจากมีความต้องการหลากหลาย รวมถึงต้องมีกรรมการกลั่นกรองเงินกู้เอสเอ็มอี และ พ.ร.ก.รักษาเสถียรภาพ ต้องมีผู้แทนจากภาคเอกชน ประชานและกรรมการอิสระที่น่าเชื่อถือ

ข้อเสนอ ที่ 3 วิธีช่วยเหลือเยียยวยา โดยพิจารณาจากผู้ที่มีเงินในบัญชีน้อยกว่า 10,000 - 20,000 บาท ไม่ว่าจะธนาคารใดก็โอนเงินตรงเข้าบัญชี และคนตกงานจ้างานให้พัฒนาท้องถิ่น

ข้อเสนอที่ 4 ปรับวิธีการตรวจสอบ ให้เปิดเผยข้อมูลแบบเรียลไทม์ และวิธีการที่จะนำเงินมาใช้จะตรงกับเป้าคือผู้ที่มีความจำเป็นจริงๆ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง