"ชลน่าน" เสนอตั้ง กมธ.วิสามัญตรวจสอบใช้เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท

การเมือง
28 พ.ค. 63
19:42
230
Logo Thai PBS
"ชลน่าน" เสนอตั้ง กมธ.วิสามัญตรวจสอบใช้เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท
"ชลน่าน" เสนอตั้งกมธ.วิสามัญตรวจสอบการใช้งบประมาณ ตาม พ.ร.ก.เงินกู้ เพื่อตรวจสอบการใช้งบประมาณ และเสนอจัดตั้งกองทุนคุ้มครองกลุ่มอาชีพ

วันนี้ (28 พ.ค.2563) นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.พรรคเพื่อไทย อภิปราย ร่าง พ.ร.ก.เงินกู้ 1.9 ล้านล้านบาท ระบุว่า การที่จะอนุมัติร่างกฎหมายดังกล่าว จะต้องคำนึงความต้องการของประชาชน และการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลที่ผ่านมาว่าผลงานเป็นอย่างไรสมควรที่จะให้เม็ดเงินไปดำเนินการหรือไม่ และการตราออกมาเป็นพ.ร.ก.กรณีจำเป็นเร่งด่วน ต้องพิจารณถึงรายละเอียดต่าง ๆ ความสามารถในการบริหารจัดการ และระบบการตรวจสอบถ่วงดุลสามารถตรวจสอบได้หรือไม่

นายชลน่าน ยังกล่าวว่า ยังมีการเรียกร้องภาคประชาชนและขอความช่วยเหลือจากสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยมาร้องขอความช่วยเหลือจากภาครัฐ ซึ่งตรวจสอบพบว่าเงินช่วยเหลือเยียวยามีน้อยมาก นพ.ชลน่านยังระบุว่า มีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัส COVID -19 ราว 500,000 คน ทั้งผู้ที่เจ็บป่วย กลุ่มเสี่ยง แต่มีผู้ที่ได้รับผลกระทบอีกว่า 66,500,000 ล้านคนได้รับความเดือดร้อนจากการบริหารผิดพลาดของรัฐไม่ใช่จากไวรัส COVID-19

นอกจากนี้ นพ.ชลน่าน ยังกล่าวอีกว่า การตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์ฉุกเฉินไวรัสโคโรน่า (ศบค.) กลายเป็นศูนย์บริหารความั่นคงให้กับรัฐบาล ไม่ใช่การบริหารในภาวะวิกฤต แต่เป็นการบริหารในภาวะปกติ โดยปล่อยให้แต่ละหน่วยงานแก้ไขปัญหากันเอง และรัฐบาลใช้ไวรัส COVID-19 เป็นข้ออ้างความมั่นคงของรัฐบาล เห็นได้ชัดจากกรณีการต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อไปอีก 1 เดือน ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีไวรัส COVID-19 มีหลายปัญหามั้งปัญหาการเมือง ปัญหาภัยแล้ง ขณะที่เหตุที่ทำให้คนเดือดร้อนเพราะใช้ COVID-19 เป็นแพะเพราะปัญหาเศรษฐกิจที่หนักนั้นมาจาก COVID-19 ซึ่งแท้จริงคือรัฐบาลมีปัญหาในการบริหารด้านเศรษฐกิจภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองมาโดยตลอด

นพ.ชลน่าน ยังตั้งข้อสังเกตว่า อาจมีการทุจริตเกิดขึ้น ดังเช่นกรณีของโรงแรมในการเป็น State Quarantine ค่าห้องมีการเรียกขอร้อยละ 40 ซึ่ง และส่วนตัวไม่เห็นด้วยเพราะสามารถใช้ พ.ร.บ.ปกติได้ไม่จำเป็นต้องออกเงินกู้ นอกจากนี้ยังพบว่ามีการเพิกเฉยต่อการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบทั้งผ่านนายกฯและสภาฯและวุฒิสภาฯโดยเสนอให้เปิดประชุมสมัยวิสามัญ โดยได้รับการปฏิเสธทั้งหมด

นพ.ชลน่าน ยังเสนอให้กลับไปปรับแก้ไขการขึ้นทะเบียนอาชีพ และการปรับปรุงฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร และจัดตั้งกองทุนคุ้มครองกลุ่มอาชีพต่าง ๆ และเพื่อความโปร่งใสคือการตั้งกรรมาธิการวิสามัญ ติดตามตรวจสอบการใช้เงินในมาตรการต่าง ๆ และเสนอร่าง พ.ร.บ.แก้เพิ่มเติม พ.ร.ก. และมีฝ่ายค้านเพื่อประชาชนในการตรวจสอบ

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง