ป่วย COVID-19 เพิ่ม 11 คน-รอลุ้นเปิดเรียนบางพื้นที่ก่อน 1 ก.ค.

สังคม
29 พ.ค. 63
12:28
3,472
Logo Thai PBS
ป่วย COVID-19 เพิ่ม 11 คน-รอลุ้นเปิดเรียนบางพื้นที่ก่อน 1 ก.ค.
โฆษก ศบค.แถลงวันนี้ (29 พ.ค.) ไทยพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 เพิ่ม 11คนพบในสถานที่กักตัวของรัฐ รวมตัวเลขสะสม 3,076 คน หายป่วยกลับบ้าน 2,945 คน รักษาอยู่ที่โรงพยาบาล 74 คน ขณะที่เตรียมหาข้อสรุปอาจเปิดเรียนก่อน 1 ก.ค.นี้ในส่วนของสช.-โรงเรียนต่างจังหวัด

วันนี้ (29 พ.ค.2563) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ในฐานะโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) แถลงข่าวสถานการณ์ตัวเลขผู้ติดเชื้อ COVID-19 ว่าพบมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 11 คน จากสถานที่กักตัวของรัฐกลับจากคูเวต รวมสะสม 3,076 คน หรวมหายป่วยเป็น 2,945 คน รักษาอยู่ที่โรงพยาบาล 74 คนไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มคงที่ 57 คน

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ส่วนการประชุมของ ศบค.ชุดใหญ่ ที่มี พล.อ.ประ ยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงการขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปอย่างเอกภาพ และอยากให้ทุกฝ่ายเข้าใจถึงเจตนาหากสถานการณ์ดีขึ้นก็จะมีการพิจารณายกเลิกต่อไป แต่ต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อให้ควบคุมสถานการณ์ได้ต่อไป

ห้างร่วมมือ 93.55%

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังได้มีการนำเสนอสรุปการปิดสถานที่หรืองดกิจกรรมเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดทั้งสิ้น 47,164 แห่ง และได้มีการเปิดสถานที่ กิจกรรมให้บริการเพื่อเป็นการผ่อนคลายให้ดำเนินการหรือทำกิจกรรมบางอย่างได้จำนวน 291,394 แห่ง ระหว่างวันที่ 3-28 พ.ค.ที่ผ่านมา

หลังผ่อนปรนระยะ 2 มีการประเมินโดยคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด กทม. พบความร่วมมือของผู้ประกอบการห้างฯ ศูนย์การค้า มากที่สุด 93.55% รองลงมาคือ สถานรับดูแลเด็กและผู้สูงอายุ 93.11% และศูนย์การเรียนรู้และห้องสมุดสาธารณะ 92.79%

ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยได้สรุปคนไทยเดินทางกลับประเทศทางบก 14,910 คน กักตัวครบ 14 วัน และกลับบ้านแล้ว 11,230 คน คงเหลือจำนวน 3,680 คน

เสนอเปิดโรงเรียน-เอกชน-ต่างจังหวัดก่อน 1 ก.ค.

นอกจากนี้ยังมีการขอเสนอให้เปิดเรียนในบางแห่ง เช่น โรงเรียนห่างไกลพื้นที่ต่างจังหวัด และอัตราเกิดโรค COVID-19 ไม่มาก รวมทั้งโรงเรียนเอกชน ซึ่งในข้อสรุปเดิมยังยึดไว้ที่้ 1 ก.ค. เหมือนเดิม แต่ถ้าพร้อมอาจจะขยับขึ้นมาก่อนได้ แต่หลักการคือพล.อ.ประยุทธ์ ให้นายณัฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ มาเสนอว่าจะลงในรายละเอียด เช่น โรงเรียนขนาดต่างๆ และตั้งที่ห่างไกล และไม่มีการติดเชื้อ หรืออาจจะอยู่ในถิ่นทุรกันดาร รวมทั้งโรงเรียนเอกชน

การเรียนในพื้นที่เมืองที่จราจรหนาแน่น จะต้องสลับเหลื่อมเวลาในการเรียน เช่น จันทร์ พุธ ศุกร์ ลดการแออัด ส่วนกลุ่มเด็กเล็กอาจจะมีความเสี่ยง เพราะต้องนอนและเด็กส่วนใหญ่จะเล่นกัน จึงยังไม่ได้ข้อยุติ ให้รมว.ศึกษาธิการ ไปทำรายละเอียดเสนอศบค.ชุดใหญ่อีกครั้ง

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง