"อุตตม" แจง พ.ร.ก.ตั้งกองทุนอุ้มตราสารหนี้

การเมือง
31 พ.ค. 63
14:27
314
Logo Thai PBS
"อุตตม" แจง พ.ร.ก.ตั้งกองทุนอุ้มตราสารหนี้
"อุตตม" แจง พ.ร.ก.ตั้งกองทุนอุ้มตราสารหนี้ ไม่ได้ให้อำนาจ รมว.คลังมากเกินไป ชี้สามารถตรวจสอบได้ และไม่ขัดรัฐธรรมนูญ

วันนี้ ( 31 พ.ค.2563) นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ชี้แจงการอภิปราย พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท และ พ.ร.ก.อีก 2 ฉบับว่า การจัดการปัญหา COVID-19 ซึ่งเกิดขึ้นทั่วโลกและรัฐบาลก็แก้ไขได้ด้วยดี ขณะที่ปัญหาด้านเศษฐกิจมีความซับซ้อน ต้องเยียวยาและเอสเอ็มอีมีมาตรการช่วยเหลือ รวมถึงการฟื้นฟูรัฐบาลได้เริ่มดำเนินการเพื่อให้ต่อเนื่องเพื่อสร้างความเข้มแข็งทั้งประชาชนและผู้ประกอบการรายกลางและรายเล็กเพื่อรับมือเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ที่จะมาถึง ซึ่งการดูแลมีทั้งการเยียวยาและฟื้นฟูเพื่อให้สอดรับกับยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศ ซึ่งการฟื้นฟูมาตรการจะไม่ซ้ำกับการเยียวยาโดยส่วนหนึ่งขาดสภาพคล่อง ซึ่งขณะนี้เตรียมออกมาตรการที่ไม่ใช่ตัวเงินเช่นเสริมทักษะ สร้างบุคลากรโดยเน้นในระดับชุมชน

"มาตรการเยียวยา พยายามให้ตรงเป้าหมายที่สุดภายใต้ข้อจำกัดที่มี ที่จะต้องดูแลประชาชนอย่างรวดเร็วภายใต้สิ่งที่เรามี และอยากต้องการให้เร็วกว่านี้ แต่เราต้องเยียวยาให้ถูกคนและคุ้มค่า ซึ่งก็รับคำติ-ชม ทักท้วงมาปรับปรุง ดดยช่วยเหลือผ่านมาตรการแลกลไกที่เรามี แต่ในอนาคตเราจะมีข้อมูลที่ครบถ้วนมากขึ้น จากเดิมที่ไม่เคยมีโดยเฉพาะผู้ประกอบการรายเล็กและรายกลาง"

ขณะที่การกู้เงินและจัดการภาระหนี้ของประเทศ โดยที่ผ่านมาการกู้ชดเชยการขาดดุลงบประมาณเป้าหมายเพื่อพัฒนาประเทศ เนื่อจากไทยยังเป็นประเทศกำลังพัฒนาเพื่อให้เดินหน้าต่อไป ขณะที่ในปัจจุบัน พ.ร.ก.กู้เงิน สบน.มีแผนการกู้เงินที่เป็นสากลใช้ตราสารการเงินหลายรูปแบบเพื่อกระจายความเสี่ยง สร้างความสมดุล ไม่กระทบตลาดเงินตลาดทุนมากเกินไป เช่น ระยะยาวจึงออกพันธบัตรรัฐบาล และพันธบัตรออมทรัพย์ต้องการให้ประชาชนมีโอกาสได้ช่วยกันแก้ไขปัญหา COVID-19 ผ่านการซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ เพราะกำหนดไว้ซื้อได้ไม่เกินจำนวน 2 ล้านบาท

"ที่ผ่านมากู้ไปแล้ว 1.4 แสนล้านบาท ต้นทุนอัตราแลกเปลี่ยนร้อยละ 1.5 ซึ่งสอดคล้องกับภาวะตลาดเงินตลาดทุนในปัจจุบัน ขณะที่หนี้สาธารณะต่อจีดีพี ตั้งแต่ปี 2555 อัตราส่วนอยู่ราวร้อยละ 40 ในการที่จะกู้ครั้งนี้เพราะต้องการที่จะมีเงินงบประมาณสู้COVID-19 ทำให้อัตราส่วนมันจำเป็นต้องสูงขึ้นมิฉะนั้นจะสู้ไม่ได้ และหากไม่มีภัยนี้ก็จะอยู่ราวร้อยละ 40 ต่อไป "

นายอุตตม ยังกล่าวว่า กรณีการตั้งคำถามว่า ตาม พ.ร.ก.การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีการจัดตั้งกองทุนตราสารหนี้เอกชนว่าจะให้อำนาจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมากเกินควรนั้น พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าวไม่ได้ให้อำจเกินควรเพราะ มาตรา 5 แม้ให้อำนาจ รมว.คลังชี้ขาดไว้เพื่อให้ดำเนินการตาม พ.ร.ก.ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการใช้อำนาจของรัฐมนตรีมีความโปร่งใส และแม้ว่าจะถือเป็นที่สุดก็เพียงการบริหารเท่านั้น แต่ยังคงอยู่ภายใต้การตรวจสอบของศาลตามอำนาจปกติมิใช่ให้อำนาจจนเทียบเท่าศาล ไม่ได้ตัดสิทธิอำนาจทางศาลแต่อย่างใด และสามารถตรวจสอบผ่านช่องทางศาลได้ทุกเวลา

ขณะที่ มาตรา 19 วรรค 1 ของพ.ร.ก.การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินฯ ที่ระบุว่า รมว.คลัง มีอำนาจในการซื้อตราสารหนี้ นั้นกำหนดเงื่อนไขให้ใช้ดุลยพินิจ กรณีตราสารหนี้ประสบภาวะสภาพคล่องอย่างร้ายแรงจากโรค COVID-19 และจำเป็นเร่งด่วนต่อการรักษาภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และมีผู้พิจารณา 2 ขั้นตอนคือธนาคารแห่งประเทศไทย และรัฐมนตรี บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้ขัด ม.77 วรรค 3 ของรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด

"กองทุน BSF ไม่ได้อุ้มบริษัทใด แต่จำเป็นต้องดูแลระบบตราสารหนี้ของสถาบันการเงินซึ่งดูแลประชาชนที่ลงทุนในตราสารหนี้และเงินออมของประชาชน และเป็นการช่วยเหลือผู้ออกหุ้นกู้โดยคิดดอกเบี้ยแพงเป็นพิเศษ ซึ่งพ.ร.ก.ซอฟท์โลนช่วยเอสเอ็มอีจะดอกเบี้ยต่ำเป็นพิเศษ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง