ไทยส่อเจรจาขอเข้าร่วม CPTPP ไม่ทัน

เศรษฐกิจ
2 ก.ค. 63
18:20
385
Logo Thai PBS
ไทยส่อเจรจาขอเข้าร่วม CPTPP ไม่ทัน
ไทยอาจจะเข้าร่วมเจรจา CPTPP ไม่ทันในวันที่ 5 ส.ค.นี้ หลังกรรมาธิการเตรียมเสนอสภาฯ ขอขยายเวลาทำงานออกไปอีก 60 วัน เพราะมีรายละเอียดที่ต้องพิจารณามาก ขณะที่ภาคเอกชนระบุหากไทยขอเข้าเจรจาไม่ทันในปีนี้ อาจจะทำให้ไทยเจรจายากขึ้นจากจำนวนประเทศภาคีที่เพิ่มขึ้น

วันนี้ (2 ก.ค.2563) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร.จัดเสวนา "ความตกลง CPTPP ประโยชน์ ผลกระทบและประสบการณ์จากประเทศภาคี" โดยนายปรีดี ดาวฉาย ประธาน กกร.เปิดเผยว่า การจัดเสวนาครั้งนี้ เพื่อรับฟังความเห็น ประโยชน์ และผลกระทบจากการเข้าร่วม CPTPP ของประเทศภาคีที่เข้าเป็นสมาชิก ถึงข้อดีและข้อเสีย เนื่องจากขณะนี้ไทยกำลังจะมีการพิจารณาว่าจะเข้าร่วมเจรจาหรือไม่ ซึ่งในส่วนของ กกร.สนับสนุนให้มีการเข้าร่วมเจรจา แต่หากเสียเปรียบก็ไม่จำเป็นต้องเข้าร่วม

นายกลินท์ สารสิน

นายกลินท์ สารสิน

นายกลินท์ สารสิน

นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า CPTPP เป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศ หากไทยล่าช้าออกไป จะมีผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุน ล่าสุด จากการหารือร่วมกับหอการค้าญี่ปุ่นในไทย มีหลายอุตสาหกรรมที่กำลังพิจารณาตัดสินใจย้ายฐานการผลิตไปยังเวียดนาม เพราะเวียดนามมี CPTPP หากระบวนการในการเจรจา CPTPP ของไทยไม่ทันภายในปีนี้จะยิ่งทำให้การเจรจาต้องยืดเยื้อ

กมธ. CPTPP เตรียมขอขยายเวลาทำงานอีก 60 วัน

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า กรรมาธิการ CPTPP เตรียมเสนอสภาฯ ขอขยายเวลาทำงานออกไปอีก 60 วัน จากเดิมที่จะครบกำหนดในวันที่ 11 ก.ค.นี้ เนื่องจากมีรายละเอียดที่ต้องพิจารณาค่อนข้างมากและมีประเด็นที่เป็นข้อกังวลมาก เช่น การคุ้มครองพันธุ์พืช การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ซึ่งหากมีการขยายเวลาออกไปก็เป็นไปได้ว่าไทยอาจจะขอเจรจาเข้าร่วมไม่ทันในวันที่ 5 ส.ค.นี้ ต้องรอรอบต่อไปในปีหน้า

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม

สำหรับการเสวนาวันนี้ มีการเชิญประเทศภาคี เช่น เวียดนาม ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น มาสะท้อนถึงผลดีผลเสีย ส่วนใหญ่ระบุตรงกันว่าการค้าขยายตัว การโอกาสการส่งออกมากขึ้น เศรษฐกิจขยายตัว แต่ทุกประเทศก็ยอมรับเช่นเดียวกันว่ามีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในประเทศ เช่น เวียดนาม ที่อุตสาหกรรมยานยนต์ได้รับผลกระทบ นมและผลิตภัณฑ์นม นอกจากนี้ ผลการศึกษาเรื่อง CPTPP ของเวียดนามยังพบว่ามีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าใจเรื่องนี้เพียงร้อยละ 2 เท่านั้น

"เอฟทีเอ วอทช์" ชี้ขยายเวลาช่วยให้พิจารณารอบคอบ

น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล รองประธานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน หรือ เอฟทีเอ วอทช์ ระบุว่า การขยายเวลาของกรรมาธิการออกไปอีก 60 วัน ถือว่าเป็นผลดี เพราะจะได้มีการพิจารณารายละเอียดให้รอบคอบ โดยเฉพาะการตีความด้านกฎหมาย โดยเห็นว่าไทยไม่จำเป็นต้องเร่งรีบขอเจรจาเข้าร่วม CPTPP จนกว่าจะได้ข้อสรุปจากทุกภาคส่วนอย่างรอบคอบและขอให้รัฐบาลรอผลการศึกษาจากกรรมาธิการ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชี้รัฐบาลฉวยโอกาส COVID-19 อ้างฟื้น ศก.ร่วม CPTPP 

นายกฯ สั่งการเจรจา CPTPP ยึดประโยชน์ชาติ-ประชาชน 

กกร.สนับสนุนให้ไทยเข้าร่วมเจรจา CPTPP 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง