THE EXIT : แก้ปัญหาที่ดินหาดดอนแพง

ภูมิภาค
21 ก.ค. 63
19:06
610
Logo Thai PBS
THE EXIT : แก้ปัญหาที่ดินหาดดอนแพง
ไม่ถึงหนึ่งเดือนที่ THE EXIT ชี้ให้เห็นถึงความพยายามครอบครองที่ดินหาดดอนแพง จ.นครพนม ของคนกลุ่มหนึ่งทั้งที่เป็นที่สาธารณประโยชน์ แต่กลุ่มทุนบังคับให้ชาวบ้านที่อยากจะไถ่ถอนต้องหาเงินมาคืน ล่าสุดคณะกรรมาธิการการกฎหมาย สภาฯ เตรียมลงพื้นที่ปลายก.ค.นี้

ชาวบ้านหัวหาด ต.บ้านแพง อ.บ้านแพง จ.นครพนม ชี้แนวเขตที่ดินทำกินบนเกาะดอนแพง และระบุพิกัดจีพีเอส ซึ่งเป็นมาตรการจัดระเบียบการถือครองที่ดินของเทศบาลตำบลบ้านแพง หลังนายทุน ทั้งรายใหญ่และรายเล็ก ต่างอ้างสิทธิ์ในที่ดินหลายร้อยไร่ ก่อนจะเรียกเก็บค่าเช่าจากชาวบ้านคนละ 5,00-7,000 บาทต่อปี ซึ่งเป็นการแสวงหาประโยชน์ในที่ดินของรัฐมานานเกือบ 20 ปี

หาดดอนแพงเป็นที่ดินงอกขึ้นเองตามธรรมริมฝั่งแม่น้ำโขง ครอบคลุมพื้นที่บ้านหัวหาดหมู่ 12 จรดบ้านท่าลาด หมู่ 9 ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร รวมพื้นที่เกือบ 5,000 ไร่

 

กระทรวงมหาดไทยเคยมีคำสั่งให้ อบจ.นครพนม จัดสรรให้ชาวบ้านเช่าทำกินตั้งแต่ปี 2528 ไร่ละ 20 บาท แต่เมื่อปี 2540 การถ่ายโอนอำนาจไปยังสุขาภิบาลบ้านแพง แต่ติดขัดเรื่องระเบียบราชการ จึงเป็นช่องว่างให้นายทุนเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในที่ดินหลายร้อยไร่

นางบุญกอง ภาโสม ชาวบ้านหัวหาด ต.บ้านแพง อ.บ้านแพง จ. นครพนม กล่าวว่า อยากรู้ว่าสิทธิของตัวเองอยู่ตรงไหน ตอนแรกทำกินมา และรัฐยังไม่มาจับพิกดัดให้ ต่อไปจะได้ทำกินสบายใจขึ้น มีที่ดินที่ได้รับ 1 ไร่ 2 งาน ตอนที่แบ่งกันเดิมคนละ 8 เมตรกว่าๆ



ไทยพีบีเอส ตรวจสอบการถือครองที่ดินของนายทุนพบว่า เริ่มทยอยคืนให้กับชาวบ้านบางส่วน แต่ต้องไถ่ถอนคืนในราคาที่นำมาจำนองไว้โดยไม่คิดดอกเบี้ย ทั้งที่การทำนิติธรรมสัญญาดังกล่าวถือว่าผิดข้อตกลง ระหว่างผู้เช่ากับภาครัฐเมื่อปี 2528 ซึ่งตามระเบียบต้องยึดคืนเพื่อนำมาจัดสรรใหม่ แต่นายทุนยังเรียกเก็บเงินจากชาวบ้าน และ ยังห้ามไปชี้แนวเขตครอบครองที่ดินหากยังไม่จ่ายเงินคืน

นายดนัย สิทธิวัชระชัย นายกเทศมนตรีตำบลบ้านแพง อ.บ้านแพง จ.นครพนม กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการสำรวจว่าเป็นนอมินีหรือไม่ จนกว่าจะมีการมาเซ็นสัญญากัน เหมือนกับการเช่าแผงตลาดที่ทำเช่ากับเทศบาล ถ้ามาเช่าแล้ว 3 อาทิตย์แต่ไม่ทำกิน หรือขายของ ถ้าไม่มีเหตุผลเพียงพอจะรายใหม่ไปเช่าแทน



อดีตข้าราชการฝ่ายปกครองอำเภอบ้านแพง ตั้งข้อสังเกตการจัดระเบียบครั้งนี้ต้องตรวจสอบสถานะความเป็นเกษตรกรตัวจริง หรือ นอมินีถือครองแทนนายทุน เพราะหากไม่ตรวจสอบอย่างรอบคอบการแก้ไขปัญหาก็จะไร้ประโยชน์ และที่ดินทั้งหมดก็จะตกอยู่ในมือของนายทุนเช่นเดิม

อดีตข้าราชการฝ่ายปกครองอำเภอบ้านแพง จ.นครพนม กล่าวว่า นายทุนต้องถอยออกไป เพราะไม่มีคุณสมบัติทำกินตรงนี้ นายทุนจะเจ็บกว่าคนอื่นๆ ถ้านายทุนถอยออกไปแล้ว และอาจมีที่ดินบางแปลงที่จะต้องหาผู้เช่ารายใหม่ ต้องพิจารณาคนที่เหมาะสม ไม่ใช่แค่สักแต่จะขอสิทธิ์ไว้แล้วสุดท้ายโอนไปขายแบ่งเงินกันเหมือนที่ผ่านมา



ขณะที่คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และ สิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ได้บรรจุปัญหาที่ดินหาดดอนแพง จ.นครพนม เข้าสู่วาระการหารือเพื่อแก้ไขปัญหา โดยจะเชิญคณะกรรมการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ซึ่งประกอบด้วยรองผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และ นายกเทศมนตรีบ้านแพง เข้าเข้าชี้กรรมาธิการภายในสัปดาห์ด้าน ก่อนจะลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงในช่วงปลายเดือนก.ค.นี้

หาดดอนแพงเป็นที่ดินงอกขึ้นเองตามธรรมชาติ รัฐบาลฝรั่งเศสได้ยินยอมโอนให้รัฐบาลสยามขณะนั้น เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2571 ประมาณกว่า 2,000 ไร่ และ เริ่มจัดสรรให้ชาวบ้านโดยวิธีการจับสลากเมื่อปี 2502 คนละตั้งแต่ 3 งานจนถึง 2 ไร่ มีข้อตกลงห้ามซื้อขายเปลี่ยนมือ หรือ ต้องทำกินเอง กระทั่งปัจจุบันตกอยู่ในมือนายทุนรายใหญ่ประมาณ 60-70 แปลง

 

ที่ดินหาดดอนแพงแบ่งออกเป็น 3 แปลง แปลงแรกประมาณ 2,400 ไร่ได้รับโอนจากฝรั่งเศสเมื่อปี 2471  แปลงที่ 2 อีกประมาณ 700-800 ไร่ มีประชาชนเข้ามาจับจองทำกิน หรือ ปล่อยเช่าบางส่วน และ แปลงที่ 3 อีกกว่า 1,000 ไร่ เป็นที่ดินงอกใหม่ยังไม่ได้จัดสรรให้ทำกิน แต่เริ่มมีนายทุนและชาวบ้าน เข้าไปจับจองทำประโยชน์ หากไม่เร่งแก้ไขปัญหา ที่ดินทั้งหมด อาจตกอยู่ในมือของนายทุนและผู้ครอบครอง 2563

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

The EXIT : ฮุบที่ดินริมโขงหาดดอนแพง ตอนที่ 1

The EXIT : ฮุบที่ดินริมโขงหาดดอนแพง ตอนที่ 2 

 

 

 

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง