เปิดช่องว่างคดี "บอส อยู่วิทยา" ขับรถชนตำรวจเสียชีวิต

อาชญากรรม
27 ก.ค. 63
14:35
3,695
Logo Thai PBS
เปิดช่องว่างคดี "บอส อยู่วิทยา" ขับรถชนตำรวจเสียชีวิต
คดี "บอส อยู่วิทยา" ขับรถชนตำรวจเสียชีวิต ใช้เวลาดำเนินคดีนาน 8 ปี แต่สุดท้ายผู้ต้องหากลับรอดทุกข้อกล่าวหา จนถูกสังคมตั้งคำถามว่ามีช่องว่าใดที่ทำให้คดีจบแบบนี้

กระบวนการ 8 ปี ที่ผ่านมา พบช่องว่างของคดี คือ การประวิงเวลาจนข้อหาหมดอายุความ รวมไปถึงการเพิ่มหลักฐานใหม่เข้าไปด้วย สาเหตุที่ผู้ต้องหาหลุดคดีมีข้อสังเกต "ช่องว่าง" 4 ประเด็นส่วนใหญ่เป็นการใช่ช่องว่างของกฎหมายในการประวิงเวลาจนคดีหมดอายุความและที่สำคัญมีการเพิ่ม "พยานใหม่" ในสำนวนคดีด้วย

ช่องว่างที่ 1 เปลี่ยนตัวผู้ต้องหา เหตุการณ์เมื่อปี 2555 ทันทีที่เกิดเหตุ เมื่อรถเฟอร์รารีพุ่งชน รถจักรยานยนต์ของ ดาบตำรวจวิเชียร ตำรวจตามรอยครบน้ำมันไปถึงบ้านหลังหนึ่งใน ซ.สุขุมวิท 49 ตำรวจควบคุมตัวผู้ต้องคือ นายสุเวศ หอมอุบล พ่อบ้าน โดยพ่อบ้านมอบตัวรับสารภาพว่าเป็นคนขับรถชน แต่เมื่อตำรวจซักกลับให้การวกวน และยอมรับในที่สุดว่า "รับผิดแทนนาย" ตำรวจที่คุมคดีชุดแรกถูกสอบวินัย ขณะที่พ่อบ้านถูกดำเนินคดีให้การเท็จ ส่วน นายวรยุทธ เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

 

ช่องว่างที่ 2 ซื้อเวลา-อายุความหมด ภายหลังนายวรยุทธ เข้าสู่การสอบสวนของตำรวจ ตำรวจตั้งข้อหา 5 ข้อหา เบื้องต้นหลุดไป 1 ข้อหา คือ ขับรถขณะมึนเมาเพราะอ้างว่าตอนขับรถไม่ได้เมา แต่เมาหลังจากกลับถึงบ้านเครียดที่ขับรถชนคนตาย ขณะที่ข้อหาขับรถเร็วเกินกฎหมายกำหนดดิ้นไม่หลุดเพราะมีหลักฐานยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญด้านฟิสิกส์ที่คาดว่านายวรยุทธน่าจะขับรถเร็วถึง 177 กม./ชม คาดเคลื่อนไม่เกิน 17 กม./ชม. ความล่าช้าพิจารณาชั้นตำรวจทำให้ข้อหาขับรถเกินกฎหมายกำหนด และข้อหาขับรถโดยประมาททำให้ทรัพย์สินเสียหายหมดอายุความเท่ากับว่าตำรวจฟ้องนายวรยุทธ แค่ 2 ข้อหา คือ ข้อหาชนแล้วหนี และข้อหาขับรถโดยประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

 

 

ช่างว่างที่ 3 เลื่อนฟ้องขาดอายุความ ในชั้นอัยการผู้ต้องหาเลื่อนฟ้องถึง 7 ครั้ง ส่วนใหญ่อ้างติดธุระในต่างประเทศ และอ้างว่าอยู่ระหว่างร้องขอความเป็นธรรม กมธ.กฎหมายฯ ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ระหว่างที่เลื่อนรับทราบข้อกล่าวหานี้ทำให้ข้อหาชนแล้วหนีหมดอายุความเท่ากับว่านายวรยุทธเหลือข้อหาเดียว คือ ขับรถโดยประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

 

 

ช่องว่างที่ 4 ออกหมายจับแต่จับไม่ได้ เมื่อนายวรยุทธขอเลื่อนหลายครั้งอัยการจึงไม่อนุญาตและเห็นว่า "มีเจตนาประวิงคดีและหลบหนี" ซึ่งตาม ป.วิอาญา การสั่งฟ้องต้องได้ "ตัว" ผู้ต้องมาดำเนินคดี หากอยู่ต่างประเทศ ต้องขอตัวส่งผู้รายข้ามแดน แม้ตำรวจสากลจะออกหมายแดงแต่จนถึงทุกวันนี้ก็ยังจับตัวนายวรยุทธไม่ได้

จุดเปลี่ยนที่เป็นช่องว่างใหญ่ในคดีนี้จึงอยู่ที่ "การประวิงเวลา" และ  "การสร้างหลักฐานใหม่"

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง