"ประพัฒน์" ผู้พลิกชีวิตเกษตรกรแบบเก่าสู้โลกร้อน

สิ่งแวดล้อม
4 ก.ย. 63
14:27
1,396
Logo Thai PBS
"ประพัฒน์" ผู้พลิกชีวิตเกษตรกรแบบเก่าสู้โลกร้อน
ไทยพีบีเอสออนไลน์สัมภาษณ์ นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ อดีตรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ผู้ที่ยอมพลิกชีวิตจากการปลูกส้มโชกุน พืชเชิงเดียวมาทำเกษตรแบบผสมผสาน ปรับตัวสู้กับภาวะโลกร้อน ชี้หากเกษตรไทยยังช้ามีโอกาสล่มสลาย

วันนี้ (4 ก.ย.2563) นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ อดีตรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ บอกประสบการณ์ปรับตัวที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้วยระบบเกษตรยั่งยืน หลังจากพลิกชีวิตหันหลังให้การเมือง

เขาบอกว่า จากประสบการณ์เกษตรมาทั้งชีวิต กว่า 40 ปีได้ปรับเปลี่ยนการผลิตปลูกส้มโชกุน พืชเชิงเดี่ยวมาทำเกษตรผสมผสาน สร้างเศรษฐกิจแบบผสม ไม่ใช่ทำแบบมักง่าย แต่ต้องทำแบบมีความรู้ว่าพื้นที่ของตัวเองเหมาะสมกับการปลูกชนิดไหน และอะไรบ้างที่จะสร้างเศรษฐกิจในครัวเรือน

จากส้มโชกุนที่ปลูกและต้องใช้น้ำเยอะ มาเป็นการปลูกไม้ผลที่ใช้น้ำน้อย เช่น มะม่วง ส้มโอที่ใช้น้ำน้อย และทำ และปศุสัตว์ เลี้ยงสัตว์พันธุ์พื้นเมือง เช่น ไก่ และฟาร์มหมู ขายในชุมชุม มีโรงชำแหละหมู ขายหมูติดแอร์ครบวงจร ปลูกไผ่และส่งเสริมการแปรรูปจากไผ่ เช่น ตะเกียบ ไม้ลูกชิ้นปิ้ง เผาถ่าน เป็นการสร้างเศรษฐกิจใหม่ๆ

ภาพ: เฟซบุ๊กประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์

ภาพ: เฟซบุ๊กประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์

ภาพ: เฟซบุ๊กประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์

 

ประพัฒน์ บอกว่า กิจกรรมลักษณะแบบนี้ ถ้าเกษตรกรต้องการปรับเปลี่ยน เกษตรกรสามารถหาความรู้ได้ทั้งจากการไปอบรม และหาความรู้จากอินเตอร์เน็ตทั่วไป และดูงานจากเกษตรกรในพื้นที่อื่นๆ แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน

ถ้าเกษตรกรยังไม่ปรับเปลี่ยนตัวเอง ยังใช้การผลิตแบบเดิมๆ ปลูกข้าวแบบเดิมเหมือนหลายสิบปีก่อน ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปลูกอ้อยแบบเดิม ในที่สุดก็อยู่ไม่ได้ เพราะต้นทุนไทยแพงกว่าเพื่อนบ้านหลายเท่า เราต้องเปลี่ยนถ้าไม่ปรับหรือเปลี่ยน ไม่ช้าหรือเร็วอาชีพนี้จะต้องเลิกในที่สุด 

เพราะว่าตอนนี้ทั้งโลกเสรีมากขึ้น การส่งออกสินค้าเกษตรกร ไม่สามารถกีดขวางประเทศอื่นๆได้วันหนึ่งก็ต้องเปิดเสรี เพราะถ้าเปิดเสรี และยังคงต้นทุนสูง ก็แข่งขันกับต่างประเทศไม่ได้ ในการปรับเปลี่ยนจึงเป็นทางรอด แต่ต้องปรับเปลี่ยนแบบมีความรู้ เหมือนกับผมที่เปลี่ยนมาให้มีระบบเศรษฐกิจให้มีระบบเศรษฐกิจในพื้นที่เกษตรมากกว่า 1 อย่าง

ภาพ: เฟซบุ๊กประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์

ภาพ: เฟซบุ๊กประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์

ภาพ: เฟซบุ๊กประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์

ต้องอดทนเพื่อสู้กับความอยู่รอด

นายประพัฒน์ กล่าวอีกว่า สำหรับครอบครัวเขาต้องใช้เวลาในการศึกษาก่อนปรับตัว เช่น การเลี้ยงไก่พันธุ์พืนเมือง ต้องใช้เวลา 3 ปี ทำไปศึกษาไปจนขยายตลาด เช่นเดียวกับหมูก็ใช้เวลา 3-4 ปีกว่าที่จะเข้าใจและปรับเปลี่ยนและสร้างเศรษฐกิจจากหมู รวมทั้งเลี้ยงแพะ เลี้ยงแกะ ส่วนไม้ผลยืนต้น ต้องใช้เวลาถึง 5 ปีกว่าจะออกดอกและมีผลผลิต และรู้การตลาด ส่วนไผ่ แม้จะทำมาหลายปี แต่ยังมองว่าไม่ประสบความสำเร็จ เพราะรัฐบาลยังไม่เข้าใจและยังต้องพยายามผลักดันต่อไป แต่เหล่านี้เป็นการปลุกและเลี้ยงเพื่อทดแทนการปลูกพืชเชิงเดียว

หากถามว่าเกษตรกรไทยติดหล่มอะไรถึงไปไม่ถึงจุดหมาย ประพัฒน์ กล่าวว่า สภาเกษตรกร ก็ผลักดันแนวคิดใหม่ๆ ผลักดันการผลิตภาคการเกษตรให้กับพี่น้องเกษตรกร เพราะเชื่อว่าถ้ามาถูกทางพี่น้องจะเรียนรู้และปรับตัวทัน 

เกษตรกรไทยติดหล่มความคิดตัวเอง ขาดแคลนทุนทรัพย์ มีปัญหาหนี้สิน สุขภาพ ครอบครัว ทำให้ไม่สามารถหลุดออกจากสภาพปัยหาที่เผชิญอยู่ได้ เพราปัญหาเฉพาะหน้ายังมีมาก

นอกจากนี้มองว่ารัฐบาลต้องเป็นพี่เลี้ยง เช่น มีแหล่งเงินทุน และปรับการใช้จ่ายเงินภาครัฐ และธกส. ต้องปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ ที่เหมาะสมระยะยาวมากขึ้น ปีต่อปีน้อยลง และให้ความรู้ที่เป็นแก่นสารที่จำเป็นตรงเป้าไม่ใช่เอาสิ่งที่ไม่ใช้ประโยชน์ไปอบรมแบบเดิมๆ

 

ภาพ: เฟซบุ๊กประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์

ภาพ: เฟซบุ๊กประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์

ภาพ: เฟซบุ๊กประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์

 

สภาเกษตรกรแห่งชาติพร้อมที่จะร่วมมือกับรัฐบาลในทุกมิติ สร้างแนวทางในการช่วยปรับตัวให้เกษตรกรได้ ตอนนี้เป็นเพราะยังมีช่องว่าง พวกเขาเองยังมีความเชื่อมั่นในวิธีการเก่าๆ แต่สภาเกษตรกรยังมองว่าวิธีการเก่าที่ใช้กันตอนนี้โบราณคร่ำครึเกินไปไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน

ถ้าให้ประเมินเกษตรกรที่จะอยู่รอดในอาชีพนี้ เหลือน้อยมาก ทั้งข้าวโพด มันสำปะหลัง แต่ตอนนี้อาจมีแค่เรื่องข้าวบริโภคในประเทศที่ยังอยู่รอดเพราะยังไม่มีข้าวจากต่างประเทศเข้ามา ข้าวที่ชาวนาไทยผลิตในประเทศจะแข่งขันไม่ได้ นั่นจะหมายถึงหายนะ เพราต้นทุนเราสู้เขาไมได้ ทางเดียวกันคือต้องปรับเปลี่ยน ถ้าไม่รีบปรับเปลี่ยนจะหมายถึงการล่มสลายทั้งระบบ


ไม่ปรับไม่เลิก ยกเว้นไม่ผล และประมง แต่พืชไร่สู้ไม่ได้ต้องปรับเปลี่ยน ต้องหนีคู่แข่งให้ทัน

ก้าวข้ามสู่การเปลี่ยนแปลง

นายประพัฒน์ บอกว่า ถึงแม้จะเคยเป็นอดีต รมว.ทส.แต่ขอน้ำจากชลประทานมา 10 ปียังไม่สำเร็จ จากจุดนี้ทำให้ต้องกลับมาคิดว่า อย่าเปลี่ยนธรรมชาติ แต่เปลี่ยนจากตัวเราเอง หาความรู้ที่จะเพิ่มการผลิต ทดลองจากเล็กไปหาใหญ่ เช่น เลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำจาก 50 ตัวตอนนี้ผ่านไปจนตอนนี้จากแม่พันธุ์ 6 แม่ ตอนนี้มีเป็น 100 แม่

การออกแบบทางเศรษฐกิจผสมผสานที่มีการบริหารจัดการที่ดีจะลดรายจ่าย เช่นวางแผนการเงินรายวัน เช่น ขายไข่ไก่กี่แผง ขายหมู ลูกหมู พืชผลในฟาร์มได้เท่าไหร่ ผมมีพนักงานฟาร์ม 20 คน รายจ่ายเป็นแสนบาทแต่มีรายได้หมู ไก่มาใช้จ่ายเงินเดือน ส่วนเงินออมเก็บจากต้นสักไว้ในระยะยาว 

ทั้งนี้ ประพัฒน์ แนะแนวทางสำหรับเพื่อนเกษตรกรว่า อยากให้รีบปรับตัว เพราะถ้าไม่ปรับตัวอนาคตเกษตรกรไทยจะไม่รอดแน่ๆ ต้องก้าวข้าม เท่าทันแล้วจะต้องออกจากห่วงโซ่นี้ให้ได้ ซึ่งประสบการณ์ที่ผ่านมายอมรับว่าเกษตรกรลำบากหนี้เยอะแต่ทำแล้วมีความสุข

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง