ทธ.ตรวจสอบเหตุหินเกาะทะลุ จ.กระบี่ ถล่ม ชี้่กระทบระบบนิเวศน์

ภูมิภาค
23 ต.ค. 63
13:28
3,454
Logo Thai PBS
ทธ.ตรวจสอบเหตุหินเกาะทะลุ จ.กระบี่ ถล่ม ชี้่กระทบระบบนิเวศน์
กรมทรัพยากรธรณี ร่วมกับ กรมอุทยานฯ ลงพื้นที่ตรวจสอบแหล่งธรณีวิทยาเหตุหินถล่มในอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา - เกาะพีพี จ.กระบี่

วานนี้ ( 22 ต.ค.63 ) กรมทรัพยากรธรณี ร่วมกับอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-เกาะพีพี จ.กระบี่ ลงพื้นที่ตรวจสอบธรณีวิทยากรณีเรื่องหินถล่มบริเวณเกาะทะลุ จ.กระบี่

ภาพ : กรมทรัพยากรธรณี

ภาพ : กรมทรัพยากรธรณี

ภาพ : กรมทรัพยากรธรณี

จากผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 ต.ค.63 โดยหินจากเขาทะลุขนาดใหญ่แตกเป็น 2 ก้อน ถล่มลงในทะเล ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยว พายเรือ ดำน้ำ ในช่วงเวลาที่มีพายุดีเปรสชัน ฝนตก คลื่นลมแรง โดยไม่มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตแต่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ทางทะเลในบริเวณดังกล่าว

ภาพ : กรมทรัพยากรธรณี

ภาพ : กรมทรัพยากรธรณี

ภาพ : กรมทรัพยากรธรณี

 

เกาะทะลุมีลักษณะเป็นภูเขาลูกโดดในทะเล เกิดจากการกัดเซาะ ผุผัง ตามธรรมชาติ มีลักษณะธรณีวิทยาเป็นหินตะกอนเนื้อประสานชนิดหินปูนเนื้อโดโลไมต์ (dolomitic limestone) สีเทา เนื้อแน่นเป็นมวลหนา ไม่แสดงลักษณะชั้นหิน มีรอยแตกร้าวมาก เปราะแตกหักง่าย พบรู โพรง และถ้ำ อยู่ทั่วไป ตั้งอยู่ในพื้นที่ภูมิประเทศแบบคาสต์ (karst topography ) ซึ่งประกอบด้วยหินปูน หินโดโลไมต์ และหินปูนเนื้อโดโลไมต์ ซึ่งละลายได้ในนำ้ทึ่มีฤทธิ์กรดอ่อนๆ

ภาพ : กรมทรัพยากรธรณี

ภาพ : กรมทรัพยากรธรณี

ภาพ : กรมทรัพยากรธรณี

 

โดยทั่วไปพื้นที่ภูมิประเทศแบบคาสต์ สามารถเกิดโพรง ถ้ำ หลุมยุบ หินร่วง หินถล่ม ได้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ประกอบด้วยยอดเขาสูง ชัน และหน้าผา เช่น หน้าผาคาสต์ ( karst Wall ) ภูเขาคาสต์รูปโคน( karst cone) และภูเขาคาสต์รูปตึก ( karst tower) ซึ่งต้องระมัดระวัง เฝ้าระวัง การเกิดหินร่วง หลุมยุบ และหินถล่มโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ช่วงเวลาฤดูมรสุม

ภาพ : กรมทรัพยากรธรณี

ภาพ : กรมทรัพยากรธรณี

ภาพ : กรมทรัพยากรธรณี

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง