"อัดน้ำปูน-ถมคันดิน" อุดรอยร้าวเขื่อนห้วยยาง

ภัยพิบัติ
26 ต.ค. 63
15:15
688
Logo Thai PBS
"อัดน้ำปูน-ถมคันดิน" อุดรอยร้าวเขื่อนห้วยยาง
กรมชลประทาน ระดมผู้เชี่ยวชาญ เร่งสำรวจซ่อมแซมเขื่อนห้วยยาง ให้กลับมาใช้งานได้เร็วที่สุด หลังมีน้ำเก็บกัก 49.08 ล้านลบ.ม.มีการระบายน้ำเพื่อลดแรงดันของน้ำที่ซึมรอดผ่านใต้ฐานของตัวเขื่อน ผ่านท่อกาลักน้ำรวม 0.96 ล้านลูก ลบ.ม.

วันนี้ (26 ต.ค.2563) นายสัญญา แสงพุ่มพงษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ขณะนี้เขื่อนห้วยยาง มีปริมาณน้ำเก็บกัก 49.08 ล้าน ลบ.ม. มีการระบายน้ำเพื่อลดแรงดันของน้ำที่ซึมรอดผ่านใต้ฐานของตัวเขื่อน ผ่านท่อกาลักน้ำ อาคารท่อระบายน้ำลงลำน้ำเดิมและท่อส่งน้ำ รวม 0.96 ล้านลูก ลบ.ม. ระดับน้ำลดลงจากเมื่อวานนี้ (25 ต.ค.) 12 เซนติเมตร ทั้งนี้ จากการระบายน้ำดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ลุ่มต่ำบางแห่ง อาทิ บริเวณ กม.8+000 มีน้ำท่วมถนนเป็นระยะทาง 300 เมตร ระดับน้ำสูง 10 เซนติเมตร บริเวณ กม.14+910 น้ำท่วมถนนเป็นระยะทาง100 เมตร ระดับน้ำสูง 15 เซนติเมตร และบริเวณ กม.15+820 น้ำท่วมถนนเป็นระยะทาง 400 เมตร ระดับน้ำสูง 10 เซนติเมตร

กรมชลประทาน ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำบริเวณสะพานบ้านกุดเวียน เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ให้เร็วที่สุด และเตรียมพร้อมเครื่องจักร เครื่องมือ เข้าให้ความช่วยเหลือประชาชนด้านท้ายน้ำที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์
ภาพ:กรมชลประทาน

ภาพ:กรมชลประทาน

ภาพ:กรมชลประทาน

อัดน้ำปูน-ถมคันดินอุดรอยรั่ว

นายกัมปนาท ขวัญศิริกุล ผู้อำนวยการส่วนวิศวกรรมธรณี กรมชลประทาน กล่าวว่า ขณะนี้ได้ทำการถมดินเพิ่มบริเวณลาดเขื่อนด้านเหนือน้ำ และก่อกระสอบทรายรอบจุดรั่ว เพื่อควบคุมแรงดันและลดการกัดเซาะที่ตัวเขื่อน รวมทั้งเจาะสำรวจ Hand Auger เพื่อตรวจสภาพบริเวณข้างเคียง และสำรวจธรณีฟิสิกส์ในแนวที่คาดว่ามีน้ำผ่านตัวเขื่อน

ผลการวิเคราะห์ พบว่ามีน้ำไหลลอดผ่านฐานรากเขื่อนในชั้นหินแนวรอยต่อดินบดอัด และดินเดิมบริเวณร่องแกนเขื่อน จึงได้เจาะอัดฉีดน้ำปูนและสารเคมี เพื่อลดการไหลซึมผ่านชั้นหินฐานราก บริเวณศูนย์กลางเขื่อนจากระดับสันเขื่อนถึงชั้นหินฐานรากในแนวที่คาดว่าจะมีน้ำไหลผ่าน
ภาพ:กรมชลประทาน

ภาพ:กรมชลประทาน

ภาพ:กรมชลประทาน

 

ล่าสุดได้ดำเนินการไปแล้ว 3 หลุมเจาะ และจะทำต่อจนครบตามแผน รวมทั้งถมคันดินด้านท้ายน้ำรอบจุดรั่วและปิดช่องเร่มกักเก็บน้ำเพื่อควบคุมแรงดันและป้องกันการกัดเซาะ ปัจจุบันไม่พบหลุมยุบและการแตกร้าวของตัวเขื่อนเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม ในทุกขั้นตอนของการซ่อมแซมจะมีผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ อาทิ ด้านความปลอดภัยเขื่อน ด้านปฐพีกลศาสตร์ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด

ขอยืนยันว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างและความมั่นคงของตัวเขื่อนแต่อย่างใด เขื่อนห้วยยาง และอาคารประกอบ ยังมีความมั่นคงแข็งแรงดี จึงขอให้ประชาชนด้านท้ายเขื่อนอย่าได้วิตกกังวล  

ภาพ:กรมชลประทาน

ภาพ:กรมชลประทาน

ภาพ:กรมชลประทาน

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ระบายน้ำทิ้งวันละ 9 แสนลบ.ม.ซ่อมรอยร้าว "อ่างห้วยยาง"

 

 

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง