หนุนกระจายอำนาจ พัฒนาท้องถิ่นตรงจุด

การเมือง
9 ธ.ค. 63
17:23
245
Logo Thai PBS
หนุนกระจายอำนาจ พัฒนาท้องถิ่นตรงจุด
อดีตนายกฯ อบจ.ชี้กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นช่วยพัฒนาท้องถิ่นอย่างตรงจุด ด้านนักวิชาการชี้พรรคการเมืองช่วยคัดกรองคนคุณภาพลงท้องถิ่น แนะประชาชนเลือกผู้เชี่ยวชาญทำหน้าที่ ด้าน กกต.ชวนประชาชนใช้สิทธิเลือกตั้ง ไม่ไปเลือกตั้งถูกจำกัดสิทธิ์ครั้งละ 2 ปี

วันนี้ (9 ธ.ค.63) ในเวทีเสวนา เลือกตั้ง อบจ.อำนาจท้องถิ่นในมือคุณ โดยมี ผู้ร่วมเสวนา คือ นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา รศ.อรทัย ก๊กผล รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า และ ร.ต.อ. มนูญ วิเชียรนิตย์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนงานสืบสวนสอบสวน สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ก.ก.ต.) ร่วมเสวนาเกี่ยวกับการเลือกตั้งท้องถิ่นในวันที่ 20 ธ.ค.63 ที่จะถึงนี้

 

หนุนกระจายอำนาจท้องถิ่น พัฒนาตรงจุด

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา กล่าวว่า ตนเองเริ่มการทำงานจากท้องถิ่นโดยเป็น สจ.สงขลา ในปี 2528 และเป็น สจ. 2 สมัย เป็นประธานสภาจังหวัด โดยขณะนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นนายกฯ อบจ. และเป็น ส.ส.ในปี 2535 โดยตนเองเข้ามาเป็น สจ.เพราะเชื่อในเรื่องของการกระจายอำนาจ จากนั้นยกร่างกฎหมาย สภาตำบลเป็น องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และกระบวนการกระจายอำนาจเข้มข้นขึ้นในรัฐธรรมนูญปี 2540 เพราะให้ผู้บริหารส่วนท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้ง ดังนั้นผู้ว่าฯซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้งจึงต้องออกไปจากท้องถิ่นเดิมทีสวมหมวก 2 ใบ และในปี 2556 หลังเป็น ส.ส.มากว่า 8 สมัย หรือราว 22-23 ปีจึงกลับไปยังท้องถิ่นกลับมาสู่ท้องถิ่น

 

นายนิพนธ์ยังกล่าวว่า เชื่อว่าถ้าท้องถิ่นเข้มแข็ง ประเทศก็เข้มแข็ง นี่คือ หลักการที่ผมเชื่อ ซึ่งอำนาจของท้องถิ่นในขณะนี้แตกต่างจากอดีตเพราะผู้บริหารมาจากประชาชน จากเดิมที่ผู้ว่าฯสวมหมวก 2 ใบเพราะต้องบริหารท้องถิ่นไปด้วย การให้ผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งและดดยส่วนตัว ส่วนหนึ่งในการติดตามงบประมาณได้ ประสบการณ์ในสภาสอนเราในการจัดทำงบประมาณแผ่นดิน การจัดทำยุทธศาสตร์ จะช่วยในการจัดทำงานท้องถิ่น ประสานงบประมาณลงท้องถิ่น เรียกว่านักบริหารที่จำสำเร็จได้ต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์

ถามว่าผมได้อะไรจากการเป็น ส.ส.มา 22 ปี ก็ได้ประสบการณ์ที่มันส่งเสริม และรู้ว่าเป้าหมายในการพัฒนาควรอยู่ที่ใด และทราบถึงบริบทว่า ท้องถิ่นไม่ควรทำเฉพาะเรื่องโครงสร้างพื้นฐานเท่านั้น ปัจจุบัน จากเดิมมีชนบทกับเมืองใหญ่ ขณะนี้ชนบทแทบจะไม่มีเรามีเมืองขนาดเล็ก เมืองขนาดกลางและเมืองขนาดใหญ่ เราลดช่องว่างระหว่างเมืองและชนบทไปได้พอสมควร ในเมืองมีอะไรเมืองขนาดเล็กก็เริ่มมีแบบนั้น เมื่อก่อนคนหลั่งไหลมาในเมือง ปัจจุบันอยู่เมืองขนาดเล็กได้ขับรถมา 20 นาทีก็ถึงเมืองขนาดใหญ่ นี่คือคุณภาพของการเปลี่ยนแปลงของเมือง

 

นายนิพนธ์ ขยายความเพิ่มเติมว่า ในฐานะที่ดูแลกระทรวงมหาดไทยและดูแลศูนย์ความปลอดภัยทางท้อนถนน และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แต่เดิมเน้นเมืองขนาดใหญ่ เน้น 7 วันอันตรายเช่นถนนหลัก แต่ลืมถนนทั้งหมด 700,000กม.อยู่ในกรมทางหลวง ถนนสายหลัก 53,000 กม. ถนนทางหลวงชนท 48,000 กม.และอีก ราว 600.000 กม.อยู่ในความดูแลของหน่วยงานท้องถิ่น เช่น กทม.ประมาณ 4,000 กิโลเมตร เมืองพัทยา ประมาณ 200 กิโลเมตร ซึ่งที่เหลืออยู่ในความดูแลของเทศบาล อบจ.และ อบต.รวมกว่า 600,000 กิโลเมตร ซึ่งจากเดิมเข้มงวดเฉพาะ 100,000 กิโลเมตร จึงมาเน้นที่ถนนสายรองมากขึ้น ในแต่ละปี 20,000 กว่าศพหรือเฉลี่ยวันละ 60 กว่าศพ ดังนั้นหากไม่นำท้องถิ่นมาร่วมก็จะยากที่จะแก้ไขหากตำบลช่วยแก้ไขในเรื่องดังกล่าวก็จะลดความเสี่ยงได้


ไม่เคยช่วยท้องถิ่นมาทำบทบาทนี้ ตำบลขับขี่ปลอดภัย ก็จะช่วยลดความเสี่ยงตั้งแต่ท้องถิ่น โดยไม่เน้นว่าท้องถิ่นเป็นของพรรคหรือฝ่ายใด ซึ่งท้องถิ่นต้องเป็นของประเทศ หากท้องถิ่นเข้มแข็งประเทศก็จะเข้มแข็ง

 

เชื่อพรรคการเมืองช่วยคัดกรองผู้สมัคร

นายนิพนธ์ ยังมองว่า จุดสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นคือ จะทำอย่างไรให้ท้องถิ่นมีคุณภาพในเชิงการจัดการและความรับผิดชอบ และหากพรรคการเมืองเข้าไปในท้องถิ่นทั้งในเชิงการตรวจสอบดูแลให้โปร่งใส ก็จะเป็นมุมบวก ในการยกระดับท้องถิ่นในการคัดเลือกคนก็จะนำผู้สมัครมาสู่ท้องถิ่นหากคัดเลือกเลือกคนไม่ดีมาให้ประชาชนเลือกประชาชนก็จะลงโทษพรรคการเมืองในการเลือกตั้งครั้งต่อไป แต่หากจะมองในมุมลบก็อาจจะถูกครอบงำซึ่งก็สามารถได้ ตัวอย่างเช่น กรุงเทพฯ เช่น พรรคการเมืองจะต้องคัดผู้สมัครมาลงผู้ว่าฯกทม.พรรคต้องรับผิดชอบ พิถีพิถัน

 

สอดคล้องกับ รศ.ดร.อรทัย ก๊กผล รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า ประเทศที่พัฒนาเช่นอังกฤษ จะส่งผู้สมัครลงท้องถิ่นด้วยและหากกำหนดในกฎหมายว่าต้องสังกัดพรรคก็จะเห็นบทบาทของพรรคการเมืองในการช่วยคัดกรองผู้สมัคร ซึ่งพรรคการเมืองจะช่วยกำกับดูแลระหว่างทางเมื่อเกิดปัญหาพรรคการเมืองจะมีส่วนในการดูแล เช่น กทม.ผู้ชนะการเมืองกรุงเทพฯส่วนใหญ่จะสังกัดพรรค ผู้สมัครอิสระจะค่อนข้างยาก และนี่อาจเป็นโอกาสในการขับเคลื่อนเวทีของระดับจังหวัดที่ทำให้พรรคการเมืองจะส่งผู้สมัครที่มีความน่าสนใจลงไปในท้องถิ่นซึ่งมี 76 ท่าน

ทั้งนี้ ขณะที่ข้อสังเกตจากการศึกษาพบว่า การบริหารท้องถิ่นไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งมีข้อจำกัดทางกฎหมาย งบประมาณ การรู้ภูมิภาค การประสานกับจังหวัด ซึ่งบทบาทของ ท้องถิ่นจะแตกต่างจากส.ส.ที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ แต่ นายกฯอบจ.จะทำหน้าที่บริหารแม้จะมีงบประมาณ หรือบุคลากรอยู่ในมือแต่การจะทำให้เบ็ดเสร็จไม่ใช่เรื่องง่าย รวมถึงการตรวจสอบที่สูงทั้งจาก สตง.รวมถึงระเบียบ และการตรวจสอบต่าง ๆ ค่อนข้างเยอะ ประชาชนจะจับตามอง รวมถึงประสบการณ์เป็นส่วนสำคัญที่ต้องบริหารเงินหลายพันล้าน เพราะต้องอยู่ 4 ปี

ต้องดูคนที่เขาจะมาบริหารให้เราได้จริง ไม่ใช่พูดเก่งอย่างเดียวเพราะต้องอยู่กับเขา 4 ปี เสน่ห์ของการเมืองท้องถิ่นคือไม่ยุบสภาง่าย ๆ ครบแน่นอน 4 ปีก็ 4 ปี ถ้าไม่เจออุบัติเหตุใหญ่ระดับชาติ ดังนั้นหากเลือกไม่ได้ก็ต้องอยู่ 4 ปี หรือหากมีการถอดถอนก็ไม่ใช่เรื่องง่าย

 

โต้ท้องถิ่นทุจริตสูง

นายนิพนธ์ ยังกล่าวว่า ท้องถิ่นในขณะนี้มีการประเมินท้องถิ่น เช่น การให้รางวัลกับท้องถิ่น การให้องค์กรต่าง ๆ มาประเมินก็จะเป็นการยกระดับท้องถิ่น และหากทำงาน 4 ปี แล้วยังไม่มีรางวัลหรือผลงานก็ต้องประเมินกันใหม่ ขณะที่การตั้งคำถามว่า ท้องถิ่นมีการทุจริตจำนวนมากเนื่องจากท้องถิ่นทั้งประเทศมีรวมกว่า 8,000 องค์กร หากพิจารณาความเสียหายจาก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดรวม 400,000 ล้านบาท (ปี 50- 58) ชี้มูล จะพบว่ามีการชี้มูลความผิดไปที่ หน่วยราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาครวมกว่า 200,000 ล้านบาท รัฐวิสาหกิจ 100,000 ล้านบาท ขณะที่ท้องถิ่น 168 ล้านบาท แต่ด้วยจำนวนท้องถิ่นที่มีมากจึงเข้าใจได้ว่ามีการทุจริตจำนวนมาก

ถ้าให้ท้องถิ่นเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ในสภาวะที่เอื้อให้ท้องถิ่นสามารถทำอะไรได้ เชื่อว่าประชาชนจะได้ประโยชน์ ตอนหลังไม่ให้ทำโครงการคุณภาพชีวิตชาวบ้านจึงไปทำโครงสร้างพื้นฐาน ต้องทำให้ประชาชนขาดประโยชน์ไป ดังนั้นจะทำอย่างไรจึงจะตอบสนองความต้องการชุมชนอย่างแท้จริง

 

กกต.ชี้กฎหมายเลือกตั้งใหม่สุดเข้ม

ร.ต.อ.มนูญ วิเชียรนิตย์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนงานสืบสวนสอบสวน สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวว่า ขณะนี้มีการเพิ่มโทษที่หนักขึ้น โดยเจตนารมณ์ในการออกกฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่นปี 62 เพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยป้องกันตั้งแต่เข้า เช่น คุณสมบัติซึ่งลักษณะต้องห้าม โดยกฎหมายเลือกตั้งปี 45 มี 17 ลักษณะ แต่ปัจจุบัน 26 ลักษณะมากว่าผู้สมัคร ส.ส.เช่น เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดแม้ว่าจะรอลงอาญาก็ไม่สามารถลงสมัครได้ หรือ การที่จะได้รับการเลือกตั้งเช่น กรณีการสมัครคนเดียวซึ่งการได้คะแนนเสียงร้อยละ 10 ยังไม่ได้รับการเลือกตั้งแต่คะแนนต้องชนะคะแนนโนโหวตด้วย และกรณีดังกล่าวก็จะทำให้ลงสมัครอีกไม่ได้ซึ่งต้องรับสมัครใหม่ หรือ กรณีเทศบาลที่มีเขตละ 6 คน หากไม่ชนะโนโหวตผู้ที่ไม่ได้คะแนนมากว่าคะแนนโนโหวดก็จะไม่ได้เข้าไปทำหน้าที่ต้องรับสมัครเลือกตั้งใหม่

 

ขณะที่ในมุมของประชาชน ร.ต.อ.มนูญ กล่าวว่า ผู้ที่ไม่ไปเลือกตั้งท้องถิ่นจะถูกจำกัดสิทธิ์ 6 ประการ ในอดีตตามกฎหมายบเลือกตั้งปี 45 หากไม่ไปใช้สิทธิจะเสียสิทธิจนกว่าจะไปเลือกตั้ง สิทธิ์นั้นจะกลับมา แต่ปัจจุบันหาไม่ไปเลือกตั้งจะเป็นการจำกัดสิทธิ์ และหากไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 20 ธ.ค.นี้ได้สามารถแจ้งได้ก่อน 7 หลัง 7 หรือระหว่างวันที่ 13 -19 ธ.ค.63 สามารถแจ้งเหตุต่อนายทะเบียนท้องถิ่นและ วันที่ 21- 27 ธ.ค.63 วันเลือกตั้งจะทำให้ไม่ถูกจำกัดสิทธิ์ 2 ปี ซึ่งกรณีการไม่ไปใช้สิทธิ์จะถูกจำกัดสิทธิ์ครั้งละ 2 ปี เช่นหากไม่ไปเลือกตั้งวันที่ 20 ธ.ค.นี้จะถูกจำกัดสิทธิ์ 2 ปี แต่หากในห้วง 2 ปีมีการเลือกตั้ง มีการเลือกตั้งแล้วไม่ไปเลือกตั้งอีกเวลาจำกัดสิทธิ 2 ปีครั้งแรกจะสิ้นสุดลงและจะเริ่มนับเวลา 2 ปีใหม่ หรือกรณีเช่น หากไมไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 20 ธ.ค.นี้ และในห้วงเวลา 2 ปีการเลือกตั้งและได้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง สิทธิต่างๆจะไม่กลับมาโดยต้องรอให้ครบเวลา 2 ปีก่อน ทั้ง

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง