ทำไมต้องอนุรักษ์นกในธรรมชาติ?

สิ่งแวดล้อม
21 ก.พ. 64
19:24
1,769
Logo Thai PBS
ทำไมต้องอนุรักษ์นกในธรรมชาติ?
ชมรมอนุรักษ์นกและธรรมชาติล้าน พบผู้นำชุมชน และชาวบ้านใน 3 ตำบล ของ อ.เมืองลำพูน พูดคุยถึงการอนุรักษ์นกในพื้นที่ เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน และแหล่งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของประเทศ

ทำไมถึงต้องอนุรักษ์นก?

กฤษณศักดิ์ สิงห์ค ชมรมอนุรักษ์นกและธรรมชาติล้านนา บอกว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ได้มาดูนกที่บ้านร้องแกบ พบนกอินทรีหายาก เช่น นกอินทรีหางขาว บริเวณหลังป่าช้าบ้านร่องแกบ และยังพบนกอินทรีทุ่งหญ้าสเต็ป ที่ไม่พบในไทย 8 ปีแล้ว ก็พบที่หมู่บ้านนี้ รวมถึงยังพบนกอินทรีหัวไรขาว อีก 2 ตัว นกอินทรีปีกลาย พบอย่างน้อย 8 ตัว

 

 

นอกจากนี้ยังพบนกทุ่งมากมาย เช่น นกเป็ดพม่า นกชายเลนปากงอน นกช้อนหอยดำเหลือง ซึ่งถือเป็นนกหายากระดับโลก

นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ หรือ หมอหม่อง ประธานชมรมอนุรักษ์นกและธรรมชาติล้านนา ให้ดูภาพนกประจำถิ่นในจังหวัดลำพูน มี 8 ชนิด เช่น นกกระจอก นกเอี้ยงสาริกา นกกระปูด ฯลฯ

เราไม่มีทางอนุรักษ์สิ่งใด ถ้าเราไม่รู้จักสิ่งนั้น

มีนกอีกหลายสายพันธุ์ที่พบที่บ้านร่องแกบ และใกล้เคียงที่คนในหมู่บ้านยังไม่รู้จักแต่พบที่นี่ เช่น นกอินทรีย์หางขาว ซึ่งเป็นนกหายาก

 

นกในระบบนิเวศน์มีความสำคัญ หลายคนได้ยิน "นกช่วยปลูกป่า"

นกเป็นฟันเฟื่อนสำคัญของระบบนิเวศน์ สร้างความสมดุลให้สมบูรณ์

บทบาทสำคัญของนกแบ่งตามอาหารที่กิน เช่น นกกินผลไม้ นกเหล่านี้จะช่วยฟื้นฟูป่า เพราะเมล็ดพืชที่นกกินจะถูกย่อยด้วยอินทรีย์ของนกกระตุ้นให้เมล็ดพันธุ์งอกได้ดีกว่าการปลูก, นกที่กินแมลง จะช่วยกำจัดและควบคุมแมลง

นกกินน้ำหวาน จะช่วยผสมเกสรของต้นไม้ ดอกไม้ ทำให้ได้ผลผลิตดี,นกผู้ล่า เช่น นกแสก จะกินหนูเป็นอาหาร นกแสก 1 ครอบครัว ปีหนึ่งจะกินหนูประมาณ 3,000 ตัว ในทางภาคใต้จะเลี้ยงในสวนปาล์ม เพื่อกำจัดหนู, นกกินซาก เช่น แร้ง ปัจจุบันแทบไม่พบเห็นแล้วในประเทศไทย

 

หมอหม่อง เห็นการดักตาข่ายนก อาจจะป้องกันพืชผล หรือ เป็นอาหาร มองว่า การดักตาข่ายเป็นการไม่เลือกว่านกชนิดไหน นกส่วนใหญ่ที่ติดตาข่ายเป็นนกกินแมลง ซึ่งกังวลว่า อาจส่งผลต่อการเสี่ยงสูญพันธุ์ในอนาคต เช่น นกจาบปีกอ่อน

ผลการสำรวจพบว่า นกติดตาข่ายมากที่สุดในประเทศไทยคือ ที่ จ.ลำพูน

มีการแลกเปลี่ยนพูดคุยกันในชุมชน และชมรม ตัวแทนเทศบาลตำบลป่าสัก ได้เสนอประเด็นหลังรับทราบข้อมูลจากชมรมดูนกฯ หลายคนเคยเห็นคนในชมรมดูนก เข้ามาในพื้นที่

 

 

แต่ทราบถึงชนิดนกหายากที่พบ ในพื้นที่ต.ป่าสัก-เวียงยอง-หนองหนาม ทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่า จะต้องมีการอนุรักษ์ โดยเร่งประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจกับชาวบ้าน กำหนดมาตราการที่ชัดเจนดูแล เช่น ต.ค.-มี.ค. เป็นช่วงการอนุรักษ์นก โดยมองว่าการอนุรักษ์นก นอกจากจะช่วยลดการใช้สารเคมีการเกษตร ยังจะนำมาซึ่งรายได้ให้กับชุมชน ให้กลายเป็นแหล่งดูนกด้วย

ด้านตัวแทน สสจ.ลำพูน เตรียมนำเสนอเป็นวาระส่งเสริมการท่องเที่ยว กำหนดแผนการพัฒนาปฏิทินที่ชัดเจน ซึ่งจะสร้างรายได้ให้ชุมชนอีกทาง

 

 

การพูดคุยระหว่างชาวบ้าน ผู้นำชุมชน ชมรมอนุรักษ์นกล้านนา ทุกคนเห็นตรงกันที่จะผลักดันและอนุรักษ์นก ซึ่งสิ่งแรกที่ชุมชนจะทำคือ สร้างความเข้าใจกับชาวบ้าน ขณะเดียวกันชมรมฯ ก็สนับสนุนข้อมูลและวิชาการเรื่องนกให้ร่องแกบ เป็นแหล่งดูนกหายากพร้อมกับการอนุรักษ์สร้างรายได้ยั่งยืนสู่ชุมชน

ปัจจุบันไม่มีกฎหมายเอาผิดกับการดักตาข่าย แต่นกส่วนใหญ่ถือเป็นสัตว์คุ้มครอง ตามกฎหมาย

ขอบคุณภาพจาก ชมรมอนุรักษ์นกและธรรมชาติล้านนา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง