สธ.ชี้ 15 คนติดโควิดสายพันธุ์อินเดียอาการไม่รุนแรง-วัคซีนยังใช้ได้

สังคม
21 พ.ค. 64
17:01
3,053
Logo Thai PBS
สธ.ชี้ 15 คนติดโควิดสายพันธุ์อินเดียอาการไม่รุนแรง-วัคซีนยังใช้ได้
อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุผลการถอดรหัสคนงานแคมป์หลักสี่ 61 ตัวอย่าง พบ 15 ตัวอย่างติดเชื้อสายพันธุ์อินเดีย B1.617.2 เป็นคนงาน 12 คนและอีก 3 คนเป็นผู้สัมผัสร่วมบ้าน ชี้อาการไม่รุนแรงแยกอยู่ห้องความดันลบ ส่วนวัคซีน COVID-19 ยังมีประสิทธิภาพในเชื้อสายพันธุ์นี้

วันนี้ (21 พ.ค.2564) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวกรณีพบคนงานในแคมป์หลักสี่ติดเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์อินเดียว่า จากการถอดรหัสพันธุกรรมเชื้อ COVID-19 จากคนงานจำนวน 61 ตัวอย่าง พบว่า 15 ตัวอย่าง พบว่าเป็นสายพันธุ์อินเดีย  B1.617.2 

โดยเป็นเพศชาย 7 และหญิง 8 คน และอายุเฉลี่ย 46 ปี ทุกคนอาการไม่รุนแรง ผู้ติดเชื้อกลุ่มดังกล่าว รักษาตัวอยู่ในห้องแยกความดันลบ (Isolation) ในโรงพยาบาลสนาม เพื่อแยกโซนกับผู้ป่วยรายอื่นที่มีการป่วยในระยะเวลาใกล้กัน

ผู้ที่ติดเชื้อสายพันธุ์อินเดีย เป็นคนงานในแคมป์ 12 คน และอีก 3 คนเป็นผู้สัมผัสร่วมบ้าน จึงต้องเร่งสอบสวนโรค แต่ส่วนใหญ่อาการเล็กน้อยไม่รุนแรง ซึ่งอยู่ในระยะที่สามารถแพร่โรคได้ โดยสธ.และกทม.จะต้องเร่งรัดติดตามผู้สัมผัสอย่างอย่างเข้มข้น

 

ยังไม่มีข้อบ่งชี้ชัดเจน-ยันวัคซีนยังมีประสิทธิภาพ

นพ.โอภาส กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมามีการเฝ้าระวัง COVID-19 ที่ระบาดแล้วพบมี 4 สายพันธุ์คือ สายพันธุ์อังกฤษ บราซิล อินเดีย และแอฟริกาใต้ โดย สธ.ร่วมกับมหาวิทยาลัยในการถอดรหัสสายพันธุ์ และที่ระบาดในไทย ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์อังกฤษ ซึ่งแพร่เชื้อรวดเร็วมากกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม และส่วนสายพันธุ์อินเดีย ที่เริ่มพบระบาดในหลายประเทศ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ส่วนเมียนมา และกัมพูชา ยังอยู่ระหว่างการถอดรหัสล่าช้าอยู่ แต่คาดว่าจะเป็นสายพันธุ์อินเดียเช่นกัน

สำหรับสายพันธุ์ดังกล่าว มีข้อมูลจากประเทศอังกฤษ Public Health England พบว่า สายพันธุ์นี้ การแพร่กระจายไม่ได้แตกต่างจากสายพันธุ์อินเดีย แปลว่า สายพันธุ์อังกฤษกับสายพันธุ์อินเดีย การแพร่กระจายเชื้อไม่แตกต่างกัน

ส่วนความรุนแรงของโรคยังไม่มีข้อมูลที่บ่งชี้ว่าสายพันธุ์อินเดียมีความรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์อังกฤษ และเรื่องการดื้อวัคซีนพบว่า สายพันธุ์อินเดียยังไม่ดื้อต่อวัคซีน โดยเฉพาะยี่ห้อหลักที่ประเทศไทยนำเข้ามาใช้อยู่ คือ แอสตร้าเซนเนก้ายังสามารถป้องกันสายพันธุ์อินเดียและอังกฤษได้ โดยเห็นได้ว่าที่ประเทศอังกฤษมีการใช้แอสตร้าเซนเนก้า ปรากฎว่าการระบาดลดน้อยลง

สายพันธุ์อินเดียที่ตรวจพบในขณะนี้ มีความสามารถในการแพร่เชื้อได้เร็วเหมือนกับสายพันธุ์อังกฤษ แต่ยังไม่มีผลกับยารักษาและวัคซีนป้องกัน COVID-19 ยังสามารถใช้ได้ปกติ

ผู้สื่อข่าวถามถึงที่มาของสายพันธุ์อินเดียที่พบในครั้งนี้ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เมื่อ 2-3 สัปดาห์ก่อน พบสายพันธุ์นี้ในสถานกักกันโรค เป็นหญิงไทยที่เดินทางมาจากประเทศปากีสถาน และข้อมูลในประเทศมาเลเซีย ก็ค้นพบสายพันธุ์นี้มานานแล้ว แต่ที่ประเทศเมียนมา ไม่สามารถระบุได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดในการถอดรหัสพันธุกรรม

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

พบเชื้อโควิด "สายพันธุ์อินเดีย" ใน 15 คนงานแคมป์หลักสี่

 

รู้จัก COVID-19 g เชื้อกลายพันธุ์ที่อินเดีย

ก่อนหน้านี้เพจเฟซบุ๊ก  ศูนย์ข้อมูลจีโนมทางการแพทย์ Center for Medical Genomics ได้โพสต์ข้อมูล เมื่อวันที่ 21 เม.ย.ที่ผ่านมา ทำไมควรตระหนักแต่ไม่ควรตื่นตระหนกกับข่าว “โควิดกลายพันธุ์ที่อินเดีย”

ข่าวจากสื่อทั้งในประเทศ และต่างประเทศในช่วงนี้จะโฟกัสไปที่โควิดอินเดีย สายพันธุ์ B.1.617 ที่มีการกลายพันธุ์ไป 2 ตำแหน่ง (double mutations) และ B.1.618 สายพันธุ์เบงกอล กลายพันธุ์ไป 3 ตำแหน่ง (triple mutations) ในไวรัสตัวเดียว ทั้งสองสายพันธุ์มาจากสายตระกูลใหญ่ G (GISAID Clade) โดยมีผู้ติดเชื้อ B.1.617 ในอินเดียมากที่สุด

ล่าสุดผู้เชี่ยวชาญอินเดียตรวจพบว่า B.1.617 ได้กลายพันธุ์แยกออกเป็น 3 เชื้อสายย่อย (sub lineages) คือ B.1.617.1, B.1.617.2, และ B.1.617.3 (PANGO lineage) โดย B.1.617.1 และ B.1.617.3 มีการกลายพันธุ์ไปสองตำแหน่ง คือ E484Q และ L452R ส่วน B.1.617.2 มีการวิวัฒนาการย้อนกลับเหลือการกลายพันธุ์เพียงตำแหน่งเดียวคือ L452R ส่วน E484Q หายไป (ภาพ1 A,B,C)

กระทรวงสาธารณสุขของอินเดีย ออกมายอมรับว่ามีการระบาดของสายพันธุ์ B.1.617 ที่มีการกลายพันธุ์ไป 2 ตำแหน่งเท่านั้น ที่ควรให้ความสนใจ (variant of interest; VOI) โดยยังไม่ได้จัดอยู่ในการกลายพันธุ์ที่ต้องกังวล (variant of concern; VOC) และมิได้กล่าวถึงสายพันธุ์เบงกอล B.1.618 เลย

ข้อมูลที่หลั่งไหลเข้ามาสู่ท่านจากสื่อต่างๆ อย่างรวดเร็วอาจทำให้หลายท่านมีอาการสภาวะจิตตกขึ้นได้ อาการของสภาวะจิตตก ในระยะแรกๆ จะรู้สึกเป็นกังวลเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ อย่างมาก เริ่มกลัวและคิดถึงสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นในแง่ลบ ซึ่งอาจมีอาการอื่นๆ ตามมาในภายหลัง เช่น นอนไม่หลับ ใจสั่น ไม่มีสมาธิ ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ เป็นต้นซึ่งล้วนจะเป็นผลเสียต่อจิตใจและร่างกาย (ข้อมูลจาก สสส.)

หากมาดูข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสจากอินเดียนี้ อาจช่วยให้หลายท่านได้คลายความวิตกกังวลลงได้บ้าง เพราะผู้เชี่ยวชาญพบว่าไวรัสสายพันธุ์อินเดียอาจไม่ร้ายกาจหรือสร้างปัญหาเท่ากับสายพันธุ์แอฟริกาใต้ บราซิล และอังกฤษ เพราะสายพันธุ์อินเดีย B.1.617 มาจากตระกูล G (GISAID Clade) ซึ่งเกิดขึ้น และติดต่อระบาดอยู่ตั้งแต่ปีที่แล้วในอินเดีย

หากเป็นสายพันธุ์ที่สามารถก่อโรครุนแรง การระบาดรุนแรงก็น่าจะเกิดตั้งแต่ต้นปี 2564 มาแล้ว แต่กลับไม่พบ พบแต่การระบาดแบบต่ำๆจำกัดวง ไม่รวดเร็วเท่าไวรัสก่อโรคโควิด-19 สายพันธุ์อื่น และอาจไม่สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายเหมือนกับสายพันธุ์เคนต์ B.1.1.7 ที่กำลังระบาดในอังกฤษและหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยดังนั้นการระบาดหนักระลอกสองของโควิดในอินเดียน่าจะมีปัจจัยอื่นเข้ามาเสริมนอกเหนือจากโควิดกลายพันธุ์ WHO เองก็ระบุว่าไวรัสโควิด -19

สายพันธุ์อินเดีย ได้มีการกลายพันธุ์ไปในระดับเพียงควรเฝ้าระวัง เท่านั้น B.1.617 พบครั้งแรกในอิน เดียเมื่อปลายปี 2563 มีการถอดรหัสพันธุกรรมไปมากกว่า 1,200 ตัวอย่างที่อัปโหลดไปยังฐานข้อมูล GISAID open-access จากอย่างน้อย 17 ประเทศ

ถอดรหัสสายพันธุ์อินเดีย

แม้จะมีติดต่อแพร่ระบาดไปแล้วอย่างน้อย 17 ประเทศ แต่ยังไม่เข้าข่ายที่จัดให้เป็นไวรัสกลายพันธุ์ที่น่ากังวลใจ (variant of concern: VOC) เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลบ่งชี้ชัดว่า

  • มีการแพร่กระจายของไวรัสสายพันธุ์อินเดียได้มากกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม
  • ก่อให้เกิดอาการของโรคโควิด-19 ที่รุนแรงมากกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม เช่นต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น หรือมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้น
  • ปฏิกิริยา Neutralization ในห้องปฏิบัติการลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แอนติบอดีที่สร้างขึ้นในรหว่างการติดเชื้อหรือการฉีดวัคซีนครั้งก่อนยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสในหลอดทดลองได้ลดลง
  • ด้อยประสิทธิภาพของการรักษาด้วยยาหรือวัคซีนลงเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิม
  • ก่อปัญหาในการตรวจหาเชื้อไวรัสทางห้องปฏิบัติ เช่นการตรวจ PCR กล่าวคือตรวจไม่พบ หรือตรวจได้ไม่ดี เมื่อเทียบกับการตรวจไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิมเนื่องมาจากตำแหน่งบนจีโนมของไวรัสที่ PCR primer เข้าจับมีการเปลี่ยนแปลงไปเพราะการกลายพันธุ์


ในแง่ของการกลายพันธุ์ของสายพันธุ์ B.1.617.1 ซึ่งเป็นไวรัสกลายพันธุ์ที่พบมากที่สุดในอินเดีย ความสนใจส่วนใหญ่จะพุ่งมาที่การกลายพันธุ์ ตำแหน่ง E484Q และ L452R ที่อาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโปรตีนในส่วนหนามแหลมบริเวณเปลือกนอกของไวรัส (Spike) แม้จะมีหลักฐานจากห้องปฏิบัติการว่าปฏิกิริยา “Neutralization” ที่ทดสอบกับโมโนโคลนอลแอนติบอดีบางชนิดลดลง แต่ภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการฉีดวัคซีนในร่างกายมนุษย์นั้นมีลักษณะเป็น โพลีโคลนอล และยังเกี่ยวข้องกับการตอบสนองของ T-cell อีกด้วย ดังนั้นจึงยังไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่า B.1.617.1 สามารถหลบเลี่ยงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้

นอกจากนี้การกลายพันธุ์ที่ตำแหน่ง 484Q ในการทดลองยังไม่ปรากฏว่าสามารถจับ กับ receptor สำคัญ ACE2 ของเซลล์ปอดได้ดีกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม ทำให้ไม่น่าจะก่อให้เกิดการติดเชื้อที่รุนแรงไปกว่าสายพันธุ์อันตรายอย่างสายพันธุ์บราซิล (P1 หรือ B.1.1.28) และแอฟริการใต้ (B.1.351) ซึ่งมีการกลายพันธุ์ไปเป็น 484K

นอกจากนี้สายพันธุ์อินเดีย B.1.617 ก็ไม่มีการกลายพันธุ์ในตำแหน่ง N501Y ซึ่งเป็นตำแหน่งสำคัญที่จะทำให้ไวรัสใหม่กลายพันธุ์เข้าข่ายการเป็นเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 กลายพันธุ์ที่รุนแรงและควรกังวล (VOC) WHO พิจารณาให้เฉพาะ B.1.617.1 จัดเป็น VOI เพราะมี E484Q แต่ขาด N501Y ส่วน B.1.617.2 ไม่มีทั้ง E484Q และ N501Y และ B.1.617.3 อาจถือว่าเป็น VOI ได้เพราะมี E484Q

สำหรับสายพันธุ์อินเดีย-เบงกอล B.1.618 ที่มีการกลายพันธุ์ถึง 3 ตำแหน่ง (S145-, S146-, S484K, และ S614G) https://www.facebook.com/CMGrama/posts/3898419576932460
เรายังไม่มีข้อมูลทางคลินิกที่มายืนยัน นอกจากคาดเดาจากการกลายพันธุ์บนสายจีโนม ดังนั้นจึงไม่มีอะไรที่น่าตื่นตระหนกแม้หากจะมีสายพันธุ์อินเดียหลุดเข้ามาระบาดในประเทศไทย ตรงกันข้ามเชื้อไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์อังกฤษที่กำลังระบาดในไทยขณะนี้น่ากังวลใจมากกว่า เพราะมี N501Y ควรทุ่มทรัพยากรที่มีอยู่เข้าควบคุมการระบาดให้ได้โดยเร็วที่สุด

WHO รายงานว่าพบการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในอินเดียระลอกที่สองรวดเร็วกว่าระลอกแรกมาก ทั้งที่ไวรัสสายพันธุ์อินเดียที่กลายพันธุ์พบมีระบาดมาตั้งแต่ปลายปี 2563 ดังนั้นการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในอินเดียระลอกที่สอง

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศบค.เผยไทยพบโควิดเพิ่ม 3,481 เสียชีวิต 32 หายป่วย 2,868 คน

ก.คมนาคม เตรียมพร้อมสถานีกลางบางซื่อ ฉีดวัคซีนบุคลากรด่านหน้า​ 24 พ.ค.นี้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง