หลักฐาน "ไมโครชิพ-DNA" มัดหนุ่มลอบสวมตั๋วช้างป่าเป็นช้างบ้าน

สิ่งแวดล้อม
11 มิ.ย. 64
08:25
485
Logo Thai PBS
หลักฐาน "ไมโครชิพ-DNA" มัดหนุ่มลอบสวมตั๋วช้างป่าเป็นช้างบ้าน
กรมอุทยานฯ จับกุมหนุ่มเจ้าของปาง จ.กาญจนบุรี หลังผลตรวจสอบทางนิติวิทยาศาสตร์ พบมีการนำลูกช้างมาสวมตั่วรูปพรรณช้างบ้านจากพื้นที่ อ.แม่ระมาด จ.ตาก ซึ่งแกะรอยพบไมโครซิพไม่ตรงกับตั๋วรูปพรรณ และดีเอ็นเอลูกช้างไม่ตรงกับแม่

วันนี้ (11 มิ.ย.2564) นายมงคล ไชยภักดี หัวหน้าหน่วยเฉพาะกิจปฏิบัติการพิเศษผู้พิทักษ์อุทยานแห่งชาติและสัตว์ป่า (พญาเสือ) กล่าวว่า จากกรณีเมื่อวันที่ 27 ต.ค.2563 นาย Kenji ขอโอนตั๋วรูปพรรณช้างเข้า อ.เมืองกาญจนบุรี แต่นายทะเบียนตรวจพบไมโครชิพ หมายเลข 7110485936 ซึ่งไม่ตรงกับในตั๋วรูปพรรณ จึงเจาะเลือดตรวจ DNA พร้อมทั้งอายัดช้างไว้ตรวจสอบความถูกต้อง

ภาพ : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ภาพ : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ภาพ : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช


หน่วยพญาเสือตรวจสอบข้อมูล พบว่าช้างพลายคำน้อย เกิดจากแม่ช้างพังคำศรีที่ อ.แม่ระมาด จ.ตาก เมื่อวันที่ 9 ม.ค.2561 โดยฝังไมโครชิพ หมายเลข 7110361060 เจ้าของชื่อ นายนิมอ เป็นชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง อยู่บ้านป่าสัก ต.แม่หละ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก โดยมีนายเกรียงศักดิ์ บุญตาปวน ปลัดอำเภอแม่ระมาด จ.ตาก เป็นนายทะเบียนตั๋วรูปพรรณ

ต่อมานายนิมอ ขายพลายคำน้อยให้นาย Kenji ต.วังด้ง อ.เมืองกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 4 ก.ย.2562 ในราคา 800,000 บาท แต่นาย Kenji ให้การว่า ซื้อพลายคำน้อยมาในราคา 1,600,000 บาท โดยมีนายหน้าเป็นชายชาวกะเหรี่ยง 2 คน และโอนกรรมสิทธิ์ให้นาย Kenji เรียบร้อยแล้ว

ผลดีเอ็นเอ "ช้างพลายคำน้อย" ไม่ตรงกับแม่ 

จากนั้นเมื่อวันที่ 28 ธ.ค.2563 หน่วยพญาเสือ จึงเดินทางไปตรวจสอบที่ อ.แม่ระมาด พร้อมเจาะเลือดพังแม่คำศรี ตรวจ DNA เพื่อป้องกันความผิดพลาด และขอข้อมูลสัญญาการซื้อขาย จากนายทะเบียนผลการตรวจ DNA ปรากฏว่า ช้างพลายคำน้อย ของนาย Kenji ไม่ใช่ช้างตัวเดิมของนายนิมอ และไม่ใช่ลูกของช้างแม่ช้างพังคำศรี รวมทั้งได้ตรวจสอบเปรียบเทียบ DNA กับลูกช้างตัวอื่นที่จดทะเบียนที่ อ.แม่ระมาด DNA ก็ไม่ตรงกันแต่อย่างใด

ภาพ : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ภาพ : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ภาพ : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช


ล่าสุด เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.ที่ผ่านมา คณะพนักงานเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ ร่วมกับฝ่ายปกครอง และตำรวจชุดปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ปทส.) ร่วมเข้าตรวจสอบบริษัทแห่งหนึ่งใน ต.วังด้ง อ.เมืองกาญจนบุรี ซึ่งเป็นการตรวจสอบต่อเนื่อง พบกับนาย Kenji ผู้แทนบริษัทฯ และเป็นผู้ครอบครองช้างเจ้าหน้าที่ได้ชี้แจงเหตุในการตรวจสอบให้นาย Kenji ได้รับทราบและให้ความร่วมมือในการนำตรวจสอบ ​คณะพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง

ผลการตรวจความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมทั้ง 3 ครั้ง พบว่าช้างพลายคำน้อย ไม่ได้มีความสัมพันธ์เป็นแม่-ลูกกับ แม่คำศรี ตามตั๋วรูปพรรณ ส.พ.5 ที่ออกโดยนายทะเบียนท้องที่ อ.แม่ระมาด

การที่นาย Kenji แสดงตั๋วรูปพรรณ ส.พ.5 เล่มที่ 4211 เลขไมโครชิพ 7110361060 และหลักฐานการเคลื่อนย้ายช้าง อ้างว่าเป็นช้างบ้านในการครอบครอง จึงเป็นการแสดงเอกสารอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ถือเป็นความผิดฐานครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครอง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ม.17 และ ม.92 พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ.2562  โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นอกจากนี้ ยังเป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ แก่เจ้าพนักงานต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับตาม ม.137 ประมวลกฎหมายอาญา

คณะเจ้าหน้าที่ได้แจ้งข้อกล่าวหาให้นาย Kenji แต่ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา พร้อมให้การเพิ่มเติมว่าครอบครองช้างตัวดังกล่าว โดยได้ซื้อขายมาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ภาพ : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ภาพ : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ภาพ : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช


จากนั้น จึงได้จัดทำบันทึกพร้อมนำตัวนาย Kenji และช้างของกลาง นำส่งพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรลาดหญ้า เพื่อดำเนินคดี โดยคิดค่าเสียหายตามราคาซื้อขายช้างของกลางในท้องตลาดจำนวน 1,600,000 บาท สัตว์ป่าของกลางขออนุมัติพนักงานสอบสวนเก็บรักษาไว้ที่ สำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จ.กาญจนบุรี และให้มีนายสัตวแพทย์ดูแลสุขภาพไปจนกว่าจะย้ายช้างไปดูแลในสถานที่เหมาะสมต่อไป

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง