ศบค.ไฟเขียว 4 จว.สีแดงเข้ม นั่งกินในร้านได้ถึง 5 ทุ่ม เริ่ม 21 มิ.ย.นี้

การเมือง
18 มิ.ย. 64
12:48
18,589
Logo Thai PBS
ศบค.ไฟเขียว 4 จว.สีแดงเข้ม นั่งกินในร้านได้ถึง 5 ทุ่ม เริ่ม 21 มิ.ย.นี้
ศบค.มีมติผ่อนคลายมาตรการ 4 จังหวัดสีแดงเข้ม กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ ให้นั่งกินในร้านอาหารได้ถึง 23.00 น. ไม่เกิน 50% ของที่นั่ง เริ่ม 21 มิ.ย.นี้

วันนี้ (18 มิ.ย.2564) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ว่า ไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 3,058 คน เป็นการติดเชื้อใหม่ 2,599 คน ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 459 คน ยอดป่วยสะสม (ตั้งแต่ เม.ย.64) 181,919 คน หายป่วยเพิ่ม 4,094 คน หายป่วยสะสม (ตั้งแต่ เม.ย.64) 148,984 คน เสียชีวิต 22 คน

ขณะที่ยอดติดเชื้อสะสมตั้งแต่ปี 2563 อยู่ที่ 210,782 คน หายป่วยสะสม 176,410 คน เสียชีวิตสะสม 1,577 คน

สรุปจำนวนผู้ได้รับวัคซีน COVID-19 ฉีดแล้ว 7,219,668 โดส เป็นเข็มที่ 1 5,252,531 คน เข็ม 2 1,967,137 คน

10 จังหวัดที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศรายใหม่สูงสุด ได้แก่ กทม. สมุทรปราการ สมุทรสาคร สงขลา ชลบุรี นนทบุรี ปัตตานี ปทุมธานี นครปฐม นครศรีธรรมราช 

มาตรการผ่อนคลาย เริ่ม 21 มิ.ย.นี้

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า จากการติดตามการระบาดของโรค COVID-19 โดยมีการปรับพื้นที่การระบาดดังนี้ 

พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 4 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ

พื้นที่ควบคุมสูงสุด 11 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตรัง นครปฐม ปัตตานี เพชรบุรี สงขลา สมุทรสาคร สระบุรี ยะลา นราธิวาส

พื้นที่ควบคุม 9 จังหวัด คือ จันทบุรี นครศรีธรรมราช ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา ระยอง ระนอง ราชบุรี สระแก้ว สมุทรสงคราม ขณะที่อีก 53 จังหวัด คือพื้นที่เฝ้าระวังสูง

 

ขณะที่หลังมีการปรับพื้นที่ก็มีการปรับมาตรการเพื่อผ่อนคลายด้วยโดยมีการรับฟังจากผู้ประกอบการ และภาคประชาชน คือ การจัดกิจกรรมในพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด ห้ามจัดกิจกรรมที่มีคนมากกว่า 50 คน, พื้นที่ควบคุมสูงสุด ห้ามจัดกิจกรรมที่มีคนมากกว่า 100 คน, พื้นที่ควบคุม ห้ามจัดกิจกรรมที่มีคนมากกว่า 150 คน และพื้นที่เฝ้าระวังสูง ห้ามจัดกิจกรรมที่มีคนมากกว่า 200 คน

ส่วนของร้านอาหาร พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด สามารถบริโภคในร้านได้ โดยกรณีมีเครื่องปรับอากาศให้นั่งได้ไม่เกิน 50% เปิดได้ไม่เกิน 23.00 น. (งดการจำหน่าย และดื่มสุราในร้าน), พื้นที่ควบคุมสูงสุด บริโภคในร้านได้ เปิดไม่เกิน 23.00 น. (งดการจำหน่าย และดื่มสุราในร้าน), พื้นที่ควบคุม บริโภคในร้านได้ เปิดได้ตามปกติ (งดการจำหน่าย และดื่มสุราในร้าน) และ พื้นที่เฝ้าระวังสูง บริโภคในร้านได้ เปิดได้ตามปกติ

ศูนย์การค้าพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด เปิดได้ไม่เกิน 21.00 น., พื้นที่ควบคุมสูงสุดเปิดบริการได้ตามปกติ, พื้นที่ควบคุม เปิดบริการได้ตามปกติ และพื้นที่เฝ้าระวังสูง เปิดบริการได้ตามปกติ

 

ขณะที่สถานศึกษาพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด ห้ามใช้อาคารสถานที่ เพื่อจัดการเรียนการสอน กิจกรรมที่มีการรวมตัวของคนจำนวนมาก, พื้นที่ควบคุมสูงสุด ให้ใช้อาคาร สถานที่เพื่อจัดการเรียนการสอน กิจกรรมที่มีการรวมตัวของคนจำนวนมากต้องผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด พื้นที่ควบคุม ให้ใช้อาคาร สถานที่เพื่อจัดการเรียนการสอน กิจกรรมที่มีการรวมตัวของคนจำนวนมากตามมาตรการที่กำหนด และพื้นที่เฝ้าระวังสูง ให้ใช้อาคาร สถานที่เพื่อจัดการเรียนการสอน กิจกรรมที่มีการรวมตัวของคนจำนวนมากตามมาตรการที่กำหนด

 

นอกจากนี้ ให้ปิดสถานที่เล่นกีฬา หรือการแข่งขันกีฬา ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ยกเว้นสถานที่เล่นกีฬากลางแจ้ง เปิดได้ไม่เกิน 21.00 น. แข่งขันได้โดยไม่มีผู้ชม, พื้นที่ควบคุมสูงสุด เปิดบริการได้ตามปกติทุกประเภท ไม่เกิน 21.00 น. จัดการแข่งขันโดยจำกัดผู้ชม 

ทั้งนี้ ให้เริ่มผ่อนคลายได้ตั้งแต่วันที่ 21 มิ.ย.เป็นต้นไป ซึ่งจะมีข้อกำหนดออกมาทางราชกิจจานุเบกษา 

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่าส่วนการจัดการสถานที่กักกัน ซึ่งทางราชการกำหนด ซึ่งจะเริ่มในวันที่ 1 ก.ค.นี้ โดยระบุว่า การดำเนินงานในส่วนของ State quarantine (SQ) ที่ดำเนินการมากว่า 1 ปี พบว่ามีการใช้บริการเพิ่มมากขึ้น และมีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก

หลายรายเป็นคนไทย เดินทางไปต่างประเทศแล้วกลับมาขอใช้สิทธินี้ และมีการเดินทางหลายครั้ง

โฆษก ศบค. กล่าวว่า ได้ปรับให้คนที่จะเดินทางเข้ามาในประเทศไทย กักตัวในสถานที่กักกันทางเลือ ก ลักษณะที่เรียกว่า Alternative Quarantine (AQ) สำหรับคนที่มีสัญชาติไทย และไม่มีสัญชาติไทย เข้ารับการกักตัว อย่างไรก็ตาม ได้ปรับใช้ SQ เฉพาะในกลุ่มเปราะบาง ข้าราชการที่กลับมาจากต่างประเทศ

บุคคลปกติทั่วไปทั้งคนไทยและไม่ใช่คนไทย ต้องใช้ AQ แต่ในส่วนของคนไทย ภาครัฐจะช่วยค่าใช้จ่ายสวอป ค่าตรวจหาเชื้อ ส่วนค่าโรงแรม ที่พัก ท่านต้องจ่ายเอง

นอกจากนี้ Organizational Quarantine (OQ) จะใช้รองรับใน 2 กรณี คือ กรณีแรงงานไทยที่กลับมาจากการทำงานในต่างประเทศ คือ ผู้ที่ไปทำงานและหารายได้เข้ามา ซึ่งกระทรวงแรงงานจะเป็นผู้ดูแล โดยต้องกำหนดพื้นที่ ระยะเวลาที่จะเข้าไปดูแล และผู้ที่มีสัญชาติไทยซึ่งประสบปัญหาตกทุกข์ได้ยากอยู่ในต่างประเทศ ที่ประสงค์จะเดินทางกลับไทย เป็นกลุ่มเปราะบางและไม่มีกำลังในการจ่าย ภาครัฐก็จะต้องเป็นผู้จัดหา OQ ให้

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวา กรณีการเดินทางเข้ามาทางบกในส่วนของประเทศทางชายแดน ยังมี SQ อยู่ โดยรัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย เพื่อช่วยลดปัญหาการหลบหนีเข้าเมือง ซึ่งอาจเสี่ยงแพร่เชื้อ COVID-19 ทั้งนี้ หน่วยงานที่กำกับการไม่มีข้อขัดข้องในด้านงบประมาณ

ส่วนการเดินทางเข้ามาทางน้ำ ผู้มีสัญชาติไทยเข้ารับการกักตัวใน AQ โดยบุคคลดังกล่าวจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายของตัวเอง

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวถึงเรื่องการผ่อนคลายสำหรับการถ่ายทำภาพยนต์ และรายการโทรทัศน์ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เสนอขออนุญาต 1. ให้มีผู้เข้าร่วมถ่ายทำไม่เกิน 50 คน ต้องพิจารณาเรื่องความหนาแน่นของพื้นที่ด้วย อย่างน้อย 4 ตาราเมตรต่อคน 2.ให้ยกเว้นผู้ที่ไม่ต้องสวมหน้ากาก บางช่วงเวลา เช่น รายการละคร เฉพาะนักแสดงที่เข้าฉาก รายการประกวดร้องเพลง เฉพาะผู้ที่เข้าร่วมประกวดที่มีการจัดพื้นที่เฉพาะไว้ ผู้ประกาศข่าว โดยจะต้องจัดให้มีฉากกั้น เว้นระยะห่าง และ 3. แนวปฎิบัติในการถ่ายรายการโทรทัศน์ ละคร ภาพยนตร์และวิดัทัศน์ 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง