คำสั่งใหม่สธ. หลังรู้ผลตรวจ ATK เป็นบวก "ต้องรายงานเข้าระบบ"

สังคม
28 ก.ค. 64
18:33
14,147
Logo Thai PBS
คำสั่งใหม่สธ. หลังรู้ผลตรวจ ATK เป็นบวก "ต้องรายงานเข้าระบบ"
กระทรวงสาธารณสุข ออกข้อสั่งการใหม่ ปรับถ้อยคำว่าเมื่อ Antigen test Kit เป็นบวก ให้รายงานเป็น probable case ตามระบบ หากยืนยันด้วย RT PCR ให้รายงานเป็นผู้ป่วยยืนยัน ด้านนพ.ธงชัย ระบุไม่มีความพยายามกดตัวเลขให้ต่ำจากการรายงานใน ศบค.

วันนี้ (29 ก.ค.2564) นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านสนับสนุนงานบริการสุขภาพ ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า หลังมีการเผยแพร่เอกสารถึงผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 23 ก.ค.2564 ให้ยกเลิกการตรวจเชิงรุกโดยการทำ RT-PCR แต่ให้ใช้วิธีการตรวจแบบ Antigen test Kits หรือ ATK แทนการคัดกรองเบื้องต้น

โดยกรณีที่ผู้ป่วยที่พบผลบวก จะเป็นกลุ่ม Probable case ซึ่งยังไม่นับเป็นกลุ่มป่วย ไม่ต้องรายงานในระบบการรายงานโรคติด COVID-19 นั้น จึงทำให้กังวลเรื่องการนับตัวเลขผู้ป่วยหรือไม่

ล่าสุดได้ลงนามประกาศปรับแก้ เปลี่ยนแปลงข้อสั่งการให้ชัดเจนขึ้น แจ้งกับทางผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข และนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด แล้ว

โดยระบุว่า "ตามที่หนังสือที่อ้างถึง ข้อสั่งการข้อ 5 ให้ยกเลิกการทำ Active Case Finding (ACF)โดยการทำ RT-PCR และให้ใช้ Antigen test Kit แทนในการคัดกรองเบื้องต้น"

 

โดยกรณีที่ผู้ป่วยพบผลเป็นบวก จะเป็นกลุ่ม Probable case ซึ่งยังไม่นับเป็นกลุ่มป่วย ไม่ต้องรายงานในระบบการรายงานโรคติดเชื้อ COVID-19 เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางในการปฏิบัติตามที่กรมวิชาการกำหนด สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จึงขอยกเลิกคำสั่งข้อ 5 ตามข้อสั่งการข้างต้น และให้ใช้ ข้อความแทน ดังนี้ 

ข้อ 5 การดำเนินการ Active Case Finding (ACF) ให้ดำเนินการดังนี้

  • 5.1 ปรับให้ใช้ Antigen test Kit (ATK) เข้ามาใช้เสริมหรือแทน RT-PCR ในกรณีที่มีข้อจำกัด
  • 5.2 กรณี Antigen test Kit (ATK) ให้ผลบวก ให้รายงานเป็น Probable case ตามระบบรายงานที่กำหนด และหากเคสดังกล่าวได้รับการตรวจยืนยันด้วย RT-PCR ให้รายงานผู้ป่วยยืนยันเป็น confirmed case ต่อไป

โดยหลักการที่มีคำสั่งดังกล่าว สืบเนื่องจากก่อนหน้านั้นการตรวจหาเชื้อ COVID-19 ต้องทำด้วยวิธี RT-PCR ซึ่งใช้เวลารอนานกว่าผลจะออกประมาณ 24-72 ชั่วโมง ทำให้การควบคุมโรค และการวางแผนการรักษาล่าช้า บางคนไปรอนอนที่บ้าน บางคนจากอาการสีเขียวกลายเป็นสีเหลือง สีแดง และการจะเข้ารักษาในโรงพยาบาล ก็ต้องมีผลตรวจ RT-PCR เพื่อยืนยันกับโรงพยาบาลในการเข้ารักษา

แต่ด้วยจำนวนผู้ป่วยที่มากขึ้น ประกอบกับการตรวจ RT-PCR ใช้เวลานาน จึงมีนโยบายให้ตรวจแบบ Antigen test Kit มาช่วย เพราะจะทำให้ทราบผลรวดเร็ว จึงสนับสนุนให้ใช้ ATK ถ้าผลบวก ก็ให้พิจารณา ทำ Home Isolation ได้เลย

 

แต่บางกรณีไม่ใช่รักษาที่บ้านได้ อาจต้องรักษาในชุมชนหรือโรงพยาบาล ฯลฯ กลุ่มนี้ต้องมีการยืนยันด้วยวิธีการทำ RT-PCR ซึ่งกลุ่มนี้เราจะเรียกว่า Probable case หรือกลุ่มสงสัยว่าจะเป็น หรือกลุ่มน่าจะเป็น แต่อาจไม่เป็นก็ได้ เพราะการตรวจ Antigen test Kit เป็นการตรวจเร็วแบบเบื้องต้น

ดังนั้น เราจะแยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสงสัยว่าจะป่วย คือ Probable case ส่วนอีกกลุ่มที่ต้องทำ RT-PCR และผลเป็นบวก จะเรียกว่า Confirm case หรือผู้ป่วย COVID-19

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทยติดเชื้อโควิดเพิ่ม 16,533 คน เสียชีวิต 133 คน หายป่วยแล้ว 10,051 คน

ศูนย์ฯ บางซื่อ แจ้งจับขายสิทธิฉีดวัคซีน หัวละ 500-1,000 บาท

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง