เบื้องหลังความเหน็ดเหนื่อย "แพทย์ชนบท" ลุยตรวจโควิดคนกรุง

สังคม
12 ส.ค. 64
18:58
762
Logo Thai PBS
เบื้องหลังความเหน็ดเหนื่อย "แพทย์ชนบท" ลุยตรวจโควิดคนกรุง
การทำงานของทีมแพทย์ชนบท เรียกว่า "7 วันปฏิบัติการแห่งความหวังเพื่อคนกรุง" ขณะที่ ปธ.ชมรมฯ บอกว่า สิ่งที่ทำแลกกับความฝันตัวเอง เพราะอยากเห็นประชาชนได้ตรวจ-รักษาเร็ว มีแรงสู้ COVID-19” แต่ความเหนื่อยครั้งนี้จะคุ้มหรือไม่ คำตอบอยู่กับท่าทีระดับนโยบายด้วย

ทีมแพทย์ชนบทบุกกรุงกว่า 400 ชีวิต มีหมอจริงจริง ๆ เพียง 20 คน ที่เหลือคือทีมสหวิชาชีพที่มีหัวใจของการช่วยชีวิตคน ช่วง 7 วันนี้ ทีมแพทย์ชนบทใช้คำว่า “ตรวจไม่หมด-จะไม่ยอมกลับ" ประชาชนไปกว่า 150,000 คน จึงไม่ใช่แค่ตัวเลขตรวจคัดกรอง แต่หมายถึงความทุ่มเทของทีมแพทย์ อาสาสมัครชุมชน และภาคประชาชน ที่ช่วยควานหาผู้ติดเชื้อแข่งกับเวลา


ภารกิจบุกกรุงของทีมแพทย์ชนบท พบตัวเลขผู้ติดเชื้อกว่า 15,000 คน แม้จะเป็นแค่ 10% ของการตรวจทั้งหมด 150,000 คน แต่หากตรวจพบช้ากว่านี้อาจเกิดปัญหาจาก COVID-19 สายพันธุ์เดลตา ที่ระบาดเร็วและแรง ผู้ติดเชื้อ 1 คน แพร่ไปยังผู้อื่นได้ถึง 8 คน

ถ้าหาไม่เจอ หรือผู้ติดเชื้อ 1.5 หมื่นคนนี้ถูกแยกออกมาช้า เราอาจจะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอีกไม่รู้กี่คน


วันที่ 4-10 ส.ค.ที่ผ่านมา คือ วันที่ทีมแพทย์ชนบทปฏิบัติภารกิจ ซึ่งพบผู้ป่วยสีแดง 331 คน แบบจำลองทางระบาดวิทยาคาดการณ์ว่า การหาตัวผู้ติดเชื้อกลุ่มนี้พบ อาจช่วยรักษาชีวิต หรือลดการเสียชีวิตได้ 319 คน หรือ 46 คนต่อวัน


ไม่ว่าจะเป็นปฏิบัติการแห่งความหวังของคนกรุง หรือความฝันของ นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ประธานชมรมแพทย์ชนบท ก็สะท้อนถึงนัยความพยายามตัดวงจรระบาดให้ได้ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อลดการสูญเสีย แต่เฉพาะเรื่องวัคซีน แพทย์ชนบทย้ำว่าเกินมือ ดังนั้นระดับนโยบายต้องช่วยสานฝัน อย่าให้ความเหนื่อยของทีมแพทย์ชนบทรอบนี้ต้องสูญเปล่า

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง