ผลทดสอบฉีดวัคซีนไขว้-บูสเตอร์โดส ต้านโควิดเดลตา

สังคม
19 ส.ค. 64
17:02
47,147
Logo Thai PBS
ผลทดสอบฉีดวัคซีนไขว้-บูสเตอร์โดส ต้านโควิดเดลตา
มาถูกทาง! กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับศิริราช เปิดผลทดสอบข้อมูลฉีดวัคซีนสลับชนิด "ซิโนแวค-แอสตราเซเนกา" ครบ 2 สัปดาห์มีระดับภูมิต้านโควิดสายพันธุ์เดลตา ส่วนการฉีดกระตุ้นเข็ม 3 แอสตราเซเนกาดีสุดกระตุ้นภูมิ 11 เท่า ส่วนซิโนฟาร์มกระตุ้นภูมิแค่ 2.5 เท่า

วันนี้ (19 ส.ค.2564) นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า หลังจากไทยเร่งฉีดวัคซีนเพื่อป้องกัน COVID-19 โดยมีวัคซีนที่ขึ้นทะเบียน และมีการนำมาใช้เป็นหลักในขณะนี้คือวัคซีนซิโนแวค และแอสตราเซเนกา ทำให้มีการตั้งคำถามเกิดขึ้นว่าวัคซีนเหล่านี้สามารถกระตุ้นภูมิคุ้ม กันได้ดีมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ถ้ามีการสลับการให้วัคซีน (Mix and Match) รวมถึงการฉีดกระตุ้นเข็ม 3 แบบ heterologous prime-boost

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงได้ร่วมกับศิริราชพยาบาล ทำการศึกษาระดับภูมิคุ้มกันในซีรั่มของคนที่ได้รับวัคซีนโดยใช้ไวรัสสายพันธุ์จริง ที่กำลังระบาดในไทย คือสายพันธุ์เดลตา หรือสายพันธุ์อินเดีย ที่พบในการติดเชื้อกว่า 90%

โดยทำการทดสอบโดยวิธีมาตรฐานคือวิธี Plaque Reduction Neutralization Test ซึ่งต้องปฏิบัติในห้องชีวนิรภัยระดับ 3 เพื่อความปลอดภัย เพื่อหาค่าที่ไวรัสสายพันธุ์เดลตาถูกทำลาย 50% โดยแอนติบอดีที่เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีน โดยทำการศึกษาในอาสาสมัคร 6 กลุ่ม ประกอบด้วย

  • กลุ่มที่ 1 ที่ได้รับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม 
  • กลุ่มที่ 2 ได้รับวัคซีนแอสตราเซเนกา 2 เข็ม 
  • กลุ่มที่ 3 ได้รับวัคซีนซิโนแวค และแอสตราเซเนกา และตามด้วยแอสตราเซเนกา
  • กลุ่มที่ 4 ได้รับวัคซีนแอสตราเซเนกา และตามด้วยซิโนแวค
  • กลุ่มที่ 5 ได้รับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มและตามด้วยซิโนฟาร์ม
  • กลุ่มที่ 6 ได้รับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม และตามด้วยแอสตราเซเนกา 1 เข็ม

ฉีดวัคซีนไขว้มาถูกทางรับโควิดกลายพันธุ์-ภูมิเพิ่ม 11 เท่า 

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ผลการศึกษาพบว่าระดับภูมิคุ้มกันในกลุ่มต่างๆ หลังการได้รับวัคซีนครบโดส 2 สัปดาห์ ต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตา มีค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกันที่สามารถลบล้างฤทธิ์ไวรัส 

ผลการศึกษาการให้วัคซีนสลับแบบซิโนแวค และแอสตราเซเนกา มีภูมิคุ้มกันสูงกว่าการให้วัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม และเทียบเท่ากับการให้แอสตราเซเนกา 2 เข็ม แต่ใช้เวลาสั้นลงแต่ไม่แนะนำให้ฉีดแอสตราเซเนกาเข็มแรกและตามด้วยซิโนแวค

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ส่วนการกระตุ้นเข็มที่ 3 ด้วยแอสตราเซเนกา สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพิ่มมากขึ้นถึง 11 เท่า ในขณะที่กระตุ้นเข็ม 3 ด้วยซิโนฟาร์ม ที่เป็นวัคซีนเชื้อตายเหมือนกัน ให้ภูมิคุ้มกันสูงขึ้นเพียง 2.5 เท่า

ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่านโยบายของรัฐบาลแผนการให้วัคซีนมีความเหมาะสม โดยให้ฉีดแบบสลับซิโนแวค และแอสตราเซเนกา และให้ฉีดเข็ม 3 ด้วยแอสตราเซเนกา

สำหรับการศึกษาขั้นต่อไป ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะทำการตรวจสอบระดับภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เบตา โดยใช้ไวรัสจริงเพื่อสร้างความมั่นใจ ต่อการใช้วัคซีนสลับและการฉีดกระตุ้นเข็ม 3 และเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการให้วัคซีนที่เหมาะสมโดยให้ประสิทธิภาพสูงสุด

อ่านข่าวเพิ่ม ซิโนแวค! ม้ามืดด่านหน้าสู้โควิด วัคซีนแอสตราฯ-ไฟเซอร์มาไม่ทัน

ยังติดตามผลฉีดข้างเคียงรับวัคซีนไขว้

สำหรับการฉีดวัคซีนสลับชนิด เป็นไปตามมติของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติเมื่อวันที่ 12 ก.ค.2564 ที่แนะนำให้ฉีดวัคซีนสลับซิโนแวค และแอสตราเซเนกา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ทำการวิจัยในกลุ่มอาสาสมัครที่มารับวัคซีนในศูนย์ฉีดวัคซีนของกระทรวงสาธารณสุข โดยได้ติดตามผู้ได้รับวัคซีนทำการศึกษาผู้ที่ได้รับวัคซีนซิโนแวค 3 สัปดาห์ 

โดยได้รับเข็มสองเป็นแอสตราเซเนกาทั้งหมด 125 คน เป็นชาย 61 หญิง 64 อายุเฉลี่ย 40 ระหว่าง 18-60 ปีพบว่า มีระดับภูมิคุ้มกัน Quantitative Anti-S RBD เฉลี่ยที่ 716 (399-1127) สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับซิโนแวคเฉลี่ย 117 (58-204) และแอสตราเซเนกาเฉลี่ย 207 (123-338)

 

นอกจากนี้พบภายหลังการฉีดวัคซีนเข็ม 2 พบมีไข้ร้อยละ 66 ปวดศีรษะ ร้อยละ 33 อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ง่วงซึม ร้อยละ 28 ใกล้เคียงกับอาการจากการฉีดแอสตราเซเนกา 2 เข็ม ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุข กำลังติดตามประสิทธิผลของการฉีดวัคซีนสูตรนี้อย่างใกล้ชิด

 

 

 

 

 

 

 



ข่าวที่เกี่ยวข้อง