“พิธา”โชว์เอกสารชี้รัฐบาลเพิกเฉยร่วม COVAX ทำไทยได้วัคซีนช้า

การเมือง
2 ก.ย. 64
21:11
388
Logo Thai PBS
“พิธา”โชว์เอกสารชี้รัฐบาลเพิกเฉยร่วม COVAX ทำไทยได้วัคซีนช้า
“พิธา”อภิปรายระบุ รัฐบาลเพิกเฉยต่อการจัดหาวัคซีน-ไม่เข้าร่วม COVAX ทำไทยได้วัคซีนช้า และพบประวัติวัคซีนซิโนแวคมีคดีติดสินบนส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ

วันนี้ (2 ก.ย.2564) นายพิธา ลิ้มเจิรญรัตน์ อภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กรณีการแก้ไขปัญหา COVID-19 โดยระบุว่า การแก้ไขปัญหาที่ทำให้ประชาชนเจ็บป่วยและเสียชีวิตจาก COVID-19 เป็นจำนวนมาก โดยระหว่างการอภิปรายนายพิธาได้ใช้เอกสารโดยอ้างว่า นำมาจากเพื่อนที่ทำงานในบริษัทยาและในหน่วยงานต่าง ๆ ในต่างประเทศ มาใช้ในการประกอบการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลด้วย

รัฐบาลเพิกเฉยทำไทยได้วัคซีนช้า


นายพิธา ระบุ มีการติดต่อจากผู้ผลิตวัคซีนไฟเซอร์ถึงรัฐบาลไทย แต่สุดท้ายไฟเซอร์ได้แจ้งว่า ไม่ได้รับการตอบรับจากหน่วยงานของรัฐบาล


อย่างน้อยเกียร์ว่างอย่างมากหรือเฉยเมยที่ไม่พิจารณาม้าตัวนี้เลย ซึ่งเอกสารชี้ว่า ล็อกผลม้า ไฟเซอร์ต้องมาตามว่าจะเอามั้ย ขณะที่ 19 พ.ย.แจ้งว่าขอให้ไทยแจ้งโดยเร็วเนื่องจากขณะนี้มีความต้องการวัคซีนอย่างสูงทั่วโลก

นอกจากนี้ นายพิธา ยังแสดงเอกสารการติดต่อระหว่างรัฐบาลไทยและโครงการ COVAX เพื่อให้ไทยเข้าร่วมโครงกา COVAX และได้แจ้งต่อรัฐบาลไทยว่า หากได้วัคซีนช้าและการแพร่ระบาดของ COVID-19 จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ซึ่งมีการติดต่อในช่วงเดือน ก.ย.- พ.ย.2563 

 

ต่อมาโครงการ COVAX ได้ติดตามทวงถามอีกครั้งในเดือน ธ.ค.ว่า ไทยจะเข้าร่วม โครงการ COVAX หรือไม่ และไทยได้ขาดการติดต่อกับโครงการ COVAX ไป


นอกจากนี้ ในช่วงเดือน เม.ย.2564 การที่รัฐบาลแจ้งว่า มีความพร้อม มั่นใจในคุณภาพวัคซีน และผลิตได้ พร้อมส่งเพราะเป็นศูนย์กลางการผลิตวัคซีนของอาเซียน และต่อมาอีก 2 วันในช่วงวันที่ 28 เม.ย.ไทยได้ติดต่อขอรับบริจาควัคซีนแอสตราเซนกาจากสหรัฐฯจำนวน 2 ล้านโดส และอีก 2 วันต่อมาขอเพิ่มเป็น 10 ล้านโดส และสหรัฐฯได้ตอบและระบุว่า บริจาควัคซีนในโครงการ COVAX เท่านั้น

 

นอกจากนี้ยังได้การขอวัคซีนสโนฟี่จากฝรั่งเศสซึ่งซึ่งก็ได้รับแจ้งว่า บริจาคผ่านโครงการ COVAX เช่นกัน

ชี้รัฐบาลไร้เอกภาพ


นายพิธายังพูดถึง ปัญหาความเป็นเอกภาพของกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงสาธารณสุข โดยย้ำว่า การทูตวัคซีนต้องมีเอกภาพ โดยระบุว่า วันที่ 1 มิ.ย.รัฐบาลไทยติดต่อไปที่ทำเนียบขาว สหรัฐอเมิรกาโดยให้สหรัฐฯปรับนโยบายจากเดิม 1 ประเทศ 1 สัญญา โดยปรับให้เป็น 1 ประเทศ 2 สัญญา เพื่อให้สามารถเจรจาให้ได้ทั้ง 2 กระทรวงของไทย

เมื่อม้าเต็งไม่มาตามนัด ม้ามืดจึงมาเป็นม้าหลัก และซีอีโอซิโนแวค ให้สัมภาษณ์บลูกเบิร์กว่า ซิโนแวคสู้เดลต้าไม่ได้

ชี้ “ซิโนแวค” มีประวัติติดสินบน

นายพิธา ยังกล่าวถึง ความน่าเชื่อถือของวัคซีนซิโนแวค โดยระบุว่า เคยมีประวัติติดสินบน โดยให้ อย.ของจีนอนุมัติวัคซีนหลายชนิดในช่วงปี 200 – 2011 ซึ่งอาจจะมีผลต่อวัคซีนที่จะถูกนำมาใช้ในไทย

การจะเลือกวัคซีนเป็นวัคซีนหลัก นายกฯได้มองรอบด้านแล้วหรือยัง

ใช้บรรทัดฐานเดียวกันจัดหา ATK

นายพิธา ยังกล่าวถึงการจัดหาชุดตรวจ ATK ที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบชุดตรวจ ATK ที่มาจากประเทศจีนยี่ห้อหนึ่ง โดยเน้นเรื่องคุณภาพและประสิทธิภาพ ซึ่งมีการท้วงติงจากประเทศสเปนและยุโรปว่า ชุดตรวจดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพ การตรวจมาตรฐานโดยองค์การอาหารและยา และความกังวลเกี่ยวกับกรรมการของบริษัท

ดังนั้น ในการจัดหาชุดตรวจ ATK จำนวน 8.5 ล้านชุด ยี่ห้อ lepu ควรใช้บรรทัดฐานในการตรวจสอบเรื่องคุณภาพและประสิทธิภาพเดียวกัน เนื่องจาก ATK ยี่ห้อ lepu ได้รับคำเตือนจาก อย.สหรัฐฯ และถูกดึงกลับเนื่องจากแปลผลผิดพลาด และมีเอกสารที่สหรัฐฯส่งไปยัง lepu ประเทศจีนว่า มีปัญหาในการแปรผลผิด และมีการท้วงติงจากสหรัฐฯและฟิลิปปินส์ อินเดีย ก็มีน้ำหนักเพียงพอที่จะตั้งคณะกรรมการมาตรวจสอบชุดตรวจ ATK เช่นเดียวกับยี่ห้อจากจีนยี่ห้อแรก รวมถึงการตรวจมาตรฐาน อย.นั้นมีความรอบคอบและตรวจสอบเพียงพอหรือไม่

และ กรณีผู้ถือหุ้นบริษัท Lepu พบว่า ผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้น 50 % เป็นทันตแพทย์ ซึ่งเข้ามาดำรงตำแหน่ง 4 วันก่อนประมูล และผู้ถือหุ้นรายย่อยเป็นชาวรัสเซีย ที่บริษัทจดทะเบียนที่เบริส ที่ขึ้นชื่อเรื่องการฟอกเงิน

คำถามคือ รัฐบาลถ้าบรรทัดฐานกับบริษัทอื่นเป็นแบบนี้ และที่ท่านซื้อ เป็นบรรทัดฐานเดียวกันหรือไม่ ซึ่งน่าเชื่อถือหรือไม่ เพราะไม่น่าไว้วางใจเท่าไหร่


นอกจากนี้ ยังพบว่า บ.ผู้ผลิตวัคซีน Lepu มีประวัตติดสินบนให้กับแพทย์ในการโฆษณาและชักจูงว่าผลิตภัณฑ์น่าใช้มากกว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัทอื่นด้วย

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง