2 พส.พระมหาไพรวัลย์-พระมหาสมปอง ไลฟ์ธรรมะขำ "ไม่ผิดวินัยร้ายแรง"

สังคม
6 ก.ย. 64
18:35
6,477
Logo Thai PBS
2 พส.พระมหาไพรวัลย์-พระมหาสมปอง ไลฟ์ธรรมะขำ "ไม่ผิดวินัยร้ายแรง"
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ชี้กรณี 2 พส.พระมหาไพรวัลย์-พระมหาสมปอง ไลฟ์ธรรมะขำ "ไม่ถือว่าผิดวินัยร้ายแรง" ขณะที่หลวงพี่ ระบุปรากฎการณ์ธรรมะขำ ช่วยดึงคนรุ่นใหม่ และต่างศาสนาหันมาสนใจธรรมะ ต่อไปสามารถปรับเนื้อหาที่เข้มข้นขึ้น

กรณีพระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ และพระมหาสมปอง พระนักเทศน์ของวัดสร้อยทอง ไลฟ์ผ่านเฟชบุ๊ก พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ ซึ่งถือเป็นปรากฎการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และยังสร้างกระแสดังข้ามคืนเนื่อง เพราะมีผู้เข้ามารับฟังมากกว่า 200,000 คนในวันที่ 3 ก.ย.ที่ผ่านมา ท่ามกลางกระแสวิจารณ์ที่หลากหลายมุมมอง และพฤติกรรมไม่เหมาะสม

วันนี้ (6 ก.ย.2564) นายณรงค์ ทรงอารมณ์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า เท่าที่ดูแล้วไม่ถือว่ามีความผิดวินัยรุนแรงของพระสงฆ์ โดย พศ.มอบหมายให้นายสิปป์บวร แก้วงาม โฆษก พศ.เป็นผู้ดูแลเรื่องนี้ แต่โดยขั้นตอนหลักขั้นตอนต้องเป็นเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร ซึ่งขณะนี้เจ้าอาวาสวัดหัวลำโพง ทำหน้าที่รักษาการณ์อยู่ อย่างไรก็ตาม แม้ไม่ได้แต่งตั้งอย่างเป็นทางการ แต่มีอำนาจเต็มที่จะปกครองสั่งการอย่างหนึ่งอย่างใดได้ตามเห็นสมควร

ด้านพระมหาไพรวัลย์ ได้โพสต์ข้อความ พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ ระบุว่า อนุโมทนาขอบคุณท่าน ผอ. สำนักงานพุทธ และท่านรอง ผอ. ที่ให้ความเป็นธรรมกับพระตัวเล็กๆ ทั้ง 2 รูป #รักสำนักพุทธมาก ปล.ยินดีมากๆ นะหากสำนักงานพุทธจะให้อาตมาช่วยโปรโมท โครงการหรือกิจกรรมทางศาสนาใดๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ

พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ

พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ

ธรรมะเข้าถึงทุกกลุ่ม-สอดแทรกเทศน์ขำ

นอกจากนี้ พระมหาไพรวัลย์ ยังได้ตอบคำถามผ่านในรายการโหนกระแสตอนหนึ่งว่า การเทศน์ไลฟ์สดครั้งนี้มีคนส่วนหนึ่งที่เป็นคนต่างศาสนา มันมีที่ไหนที่คนเทศน์แล้วมีคนต่างศาสนาเข้ามาฟัง และร่วมในการรับรู้ ถือเป็นการรวมคนของทุกศาสนา

ธรรมะของพระพุทธเจ้าไม่ได้จำกัดศาสนา จะไปอายเพื่ออะไร อาตมาว่าก่อนจะไปอายคนศาสนาอื่น อายตัวเองก่อนว่าทำไมไม่เห็นข้อดีของการเทศน์แบบนี้

ขณะที่พระมหาไพรวัลย์ ยังระบุว่า “ขอนิดนึงเถอะ ว่าใส่อารมณ์ขันเข้าไปในชีวิตบ้าง อย่าเห็นเสียงหัวเราะเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย คนมันจะเป็นโรคประสาทตายกันทั้งประเทศแล้ว เพราะมันเครียด” มีคนอินบ็อกซ์ มาหาอาตมาตลอดว่าเครียด ต้องกินยาหาหมอ

ทำไมไม่เห็นธรรมะที่สอดแทรกเข้าไปก็มีอยู่ โดยยกว่าสมัยหลวงพ่อพระพยอมกัลยาโณ สมัยหนุ่มๆท่านก็มีเสียงหัวเราะท่านเทศน์ก็แทรกเข้าไป ทำไมถึงมองว่าการเทศน์ขำ การเทศน์สอดแทรกเข้าไปถึงเป็นเรื่องคอขาดบาด

ธรรมมะสายฮา ไม่ได้คาดหวังผล เพียงแค่อยากให้เฉพาะวัยรุ่นที่เคยหันหลังให้ศาสนาเยอะ เคร่งเครียด ให้กลับมาหาศาสนา เมื่อธรรมะเข้าถึงกันง่ายจับต้องง่าย ถ้ามีโอกาสเหมาะก็จะค่อยๆ หยอดธรรมะเข้าไป

รู้ยัง 10 คำฮิต 2 พส.วสท.

ไทยพีบีเอสออนไลน์ พบว่าการไลฟ์เฟซบุ๊กครั้งนี้มีการใช้ศัพท์ที่เกิดขึ้นจากปรากฎการณ์นี้

  • พส. หมายถึง พระสงฆ์
  • แครอท หรือเดรทส้ม หมายถึง พระสงฆ์
  • วสท. หมายถึง วัดสร้อยทอง
  • สภาพ หมายถึง ยอมรับสภาพจริงรูปลักษณ์ปัจจุบัน
  • จึ๋ง หมายถึง ดีงาม เลิศมาก ไม่มีที่เปรียบ
  • ขิต /สู่ขิต หมายถึง ดับ สิ้น ตาย
  • แกง หมายถึง แกล้ง โกหก หลอกให้เชื่อ
  • อย่าวีน หมายถึง อย่าโมโห
  • แกงหม้อใหญ่ หมายถึง หลอกให้คนจำนวนมากหลงเชื่อ
  • ไหว้สา หมายถึง การไหว้และพูดถึงคนที่เคารพ 
ภาพ: พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ

ภาพ: พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ

ภาพ: พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ

พ.ร.บ.สงฆ์ ม.38 ว่าด้วยพระสงฆ์ในปกครอง

ขณะที่วันนี้ นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ทำคำร้องส่งไปยังมหาเถรสมาคม (มส.) ผ่าน ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เพื่อขอให้มีบัญชาสอบสวนเอาผิดภิกษุที่ชอบเล่นโซเชียลมีเดียโดยไลฟ์สด เอาธรรมะมาสอนเป็นเรื่องตลกขบขัน แต่พอมีคนสนใจเข้ามาดูมากๆ รวมทั้งมีเพจที่มาคอมเมนต์ขายสินค้า มาโปรโมทแบรนด์ตัวเอง กลับมาทวงถามให้จ่ายค่ามาใช้พื้นที่เพจของตนในขณะไลฟ์สด

ในประเด็นนี้ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 38 กำหนดให้เจ้าอาวาสมีหน้าที่อบรมบ่มนิสัยบรรพชิตและคฤหัสถ์ให้ตั้งอยู่บนความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา และหากบรรพชิตและคฤหัสถ์ไม่อยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาส เจ้าอาวาสสามารถขับไปเสียจากวัดได้

กมธ.ศาสนา สภาฯ นิมนต์ 2 พส.ชี้แจงปมจัดไลฟ์ 9 ก.ย.นี้

นายสุชาติ  อุสาหะ ประธานกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่าวันที่ 9 ก.ย.นี้ เวลา 10.00 น.จะนิมนต์ พระมหาไพรวัลย์ และพระมหาสมปอง เข้าชี้แจงต่อกรรมาธิการ ภายหลังเกิดกระแสวิจารณ์ในโซเชียลมีเดียล ถึงการออกมาไลฟ์สดทางโซเชียล 

ส่วนตัวมองว่าการที่พระทั้ง 2 ออกมาทางโซเชียล สามารถทำได้ แต่ก็ต้องพิจารณาถึงคำวิพากษ์วิจารณ์ รวมถึงต้องพิจารณาว่ามีโฆษณาแฝงหรือไม่

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง