ไฟป่า-รุกที่-จับขาย ต้นเหตุ "ผีเสื้อสมิงเชียงดาว" หายไปกว่า 40 ปี

สิ่งแวดล้อม
24 ก.ย. 64
14:00
1,182
Logo Thai PBS
ไฟป่า-รุกที่-จับขาย ต้นเหตุ "ผีเสื้อสมิงเชียงดาว" หายไปกว่า 40 ปี
นักกีฏวิทยา องค์การสวนพฤษศาสตร์ เผยต้นเหตุที่ทำให้ "ผีเสื้อสมิงเชียงดาว" หายไปจากดอยเชียงดาวกว่า 40 ปี คือการบุกรุกพื้นที่ป่า การลักลอบจับขายให้นักสะสม และปัญหาไฟป่าที่เกิดขึ้นต่อเนื่องทุกปี ทำให้พืชอาหารหายไป

วันนี้ (24 ก.ย.2564) ดร.วิชัย ศรีสุขา นักกีฏวิทยา องค์การสวนพฤษศาสตร์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ผีเสื้อสมิงเชียงดาว หรือ ผีเสื้อภูฐาน ซึ่งเป็นผีเสื้อชนิดหายาก อาศัยอยู่ในเฉพาะเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาว จ.เชียงใหม่ เพียงแห่งเดียว ได้หายไปจากธรรมชาติกว่า 40 ปีแล้ว

 

จากการบุกรุกพื้นที่ป่า การลักลอบจับขายให้นักสะสม และปัญหาไฟป่าที่เกิดขึ้นต่อเนื่องทุกปี ทำให้กระทบกับพืชอาหารของผีเสื้อสมิงเชียงดาว และทำให้วงจรชีวิตมันหายไป

การหายไปของผีเสื้อสมิงเชียงดาว เป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างมาก เนื่องจากจนถึงปัจจุบันนี้ ยังไม่มีใครเคยเห็น ไข่ หนอน และตัวผีเสื้อ ของมันเลย ว่ามีลักษณะอย่างไร

เช่นเดียวกับ ผีเสื้อไกเซอร์อิมพีเรียล และ ผีเสื้อนางพญาพม่า บนดอยผ้าห่มปก อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ เป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ที่ไม่พบผีเสื้อ 2 ชนิดนี้ ในพื้นที่แหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ

 

ด้วยปัญหาลักษณะเดียวกันคือ การบุกรุกป่า สภาพป่าถูกทำลาย ทำการเกษตร และไฟป่า ที่ทำให้โครงสร้างสังคมป่าไม้เปลี่ยนแปลงไป กระทบต่อวงจรชีวิตผีเสื้อและห่วงโซ่อาหาร ผีเสื้อจึงอยู่ไม่ได้

ผีเสื้อ คือภาพสะท้อนความสมบูรณ์ของระบบนิเวศป่า ป่าไหนมีผีเสื้อจำนวนมาก แสดงว่าป่านั้นมีความสมบูรณ์

นักกีฏวิทยา องค์การสวนพฤษศาสตร์ กล่าวว่า กระแสตื่นตัวการอนุรักษ์ผีเสื้อในปัจจุบันยังมีน้อย ซึ่งการอนุรักษ์ผีเสื้อ ต้องเริ่มจากการเพิ่มพื้นที่ป่า เพิ่มแหล่งอาหารของหนอนและผีเสื้อ

สิ่งที่ได้ตามมานอกจากความสวยงามของผีเสื้อแล้ว จะส่งผลให้สภาพอากาศไม่แปรปรวนด้วย

 

นายบุญยัง ศรีจันทร์ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว แหล่งดูผีเสื้อที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 100 ชนิด

ภาพ : สมภพ ลีลานุช จนท.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดอยเชียงดาว

ภาพ : สมภพ ลีลานุช จนท.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดอยเชียงดาว

ภาพ : สมภพ ลีลานุช จนท.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดอยเชียงดาว

 

ภาพ : สมภพ ลีลานุช จนท.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดอยเชียงดาว

ภาพ : สมภพ ลีลานุช จนท.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดอยเชียงดาว

ภาพ : สมภพ ลีลานุช จนท.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดอยเชียงดาว

 

ก็ไม่เคยพบ ผีเสื้อสมิงเชียงดาว เช่นกัน คาดว่าอาจไม่เหลือตามธรรมชาติแล้ว และหายไปตั้งแต่มีการแผ้วถางพื้นที่ปลูกฝิ่นเมื่อ 40 ปีที่แล้ว ไม่เฉพาะผีเสื้อสมิงเชียงดาวเท่านั้น ที่นี่ยังพบว่า ด้วงกว่างดาว ก็ถูกคุกคามเช่นเดียวกัน

ชวนดูผีเสื้อ “แหล่งผีเสื้อหน่วยผาตั้ง”

นายบุญยัง กล่าวว่า สำหรับใครที่อยากศึกษาเรื่องผีเสื้อ สามารถมาดูได้ที่ แหล่งผีเสื้อหน่วยผาตั้ง หน่วยพิทักษ์ป่าสบห้วยผาตั้ง-นาเลา เขตรักษาพันธุ์สัตว์เชียงดาว จ.เชียงใหม่ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช บริเวณนี้มีผีเสื้อกว่า 100 ชนิด เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบถ่ายรูปและอยากเรียนรู้เรื่องผีเสื้อ หากสถานการณ์โควิดคลี่คลาย หวังว่าทุกคนจะมีโอกาสแวะเวียนมา

ภาพ : สมภพ ลีลานุช จนท.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดอยเชียงดาว

ภาพ : สมภพ ลีลานุช จนท.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดอยเชียงดาว

ภาพ : สมภพ ลีลานุช จนท.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดอยเชียงดาว

“พิพิธภัณฑ์แมลง” องค์การสวนพฤษศาสตร์

พิพิธภัณฑ์แมลง องค์การสวนพฤษศาสตร์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ แหล่งรวบรวมพันธุ์แมลงที่ใหญ่ที่สุด มีตัวอย่างแมลงมากกว่า 1 แสนตัวอย่าง และมีตัวอย่างผีเสื้อมากกว่า 2,000 ตัวอย่าง ที่เก็บสะสมไว้ศึกษาวิจัยและการค้นพบในประเทศไทย

อ่านเพิ่มเติม : รู้จักแมลงคุ้มครอง 20 ชนิดของไทย

 

นักกีฏวิทยา องค์การสวนพฤษศาสตร์ กล่าวว่า ผีเสื้อในประเทศไทย ที่รวบรวมไว้มาจากผู้เชี่ยวชาญด้านผีเสื้อ มีมากกว่า 1,500 ชนิด แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ผีเสื้อกลางวันและผีเสื้อกลางคืน ซึ่งผีเสื้อกลางคืนมีมากที่สุด และมีความหลากหลายกว่าผีเสื้อกลางวัน ถิ่นที่อยู่ของผีเสื้อกลางคืน ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในป่าธรรมชาติและในชุมชน

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับเชฟหนุ่มลอบขายซาก “ผีเสื้อ” สัตว์คุ้มครองหายากผ่านโซเชียล

"ชุดเลี้ยงหนอนผีเสื้อ" เด็กตื่นเต้น เรียนรู้โลกใหม่ในวันที่ต้องอยู่บ้าน

สอนลูกให้เข้าใจชีวิต ผ่านวงจรหนอนผีเสื้อ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง