รอพิสูจน์! ชุดตรวจ ATK ของ Lepu แม่นยำหรือคลาดเคลื่อน

สังคม
8 ต.ค. 64
12:23
9,509
Logo Thai PBS
 รอพิสูจน์! ชุดตรวจ ATK ของ Lepu แม่นยำหรือคลาดเคลื่อน
นักระบาดวิทยา แจงชุดตรวจ ATK ของ Lepu พบในห้องปฏิบัติการมีผลลวงไม่เกิน 5% หลังทางสสจ.นครศรีธรรมราช สั่งระงับใช้ในโรงพยาบาล เพราะไม่เหมาะกับกลุ่มเสี่ยงสูง เล็งให้คณะกรรมการทางการแพทย์ พิสูจน์ความจริงอีกครั้ง

กรณีชุดตรวจ ATK ของ Lepu ก่อนหน้านี้ สสจ.นครศรีธรรมราช ระบุพบมีผลคลาดเคลื่อนไม่เหมาะกลับการนำมาใช้ในกลุ่มเสีายงสูง แต่ประชาชนยังสามารถใช้ชุดตรวจแบบโฮม ยูส ที่หน่วยงานรัฐจัดหาให้ได้ เพียงแต่ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในโรงพยาบาล

วันนี้ (8 ต.ค.2564) นายเอกวัฒน์ ผสมทรัพย์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ชี้แจง เรื่องที่นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ให้ความเห็นกับสื่อมวลชนว่าชุดตรวจ ATK ของ Lepu ให้ผลตรวจที่ผิดพลาด จากการตรวจหาเชื้อ COVID-19 ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง โดยพบว่ามีผลบวกลวงกว่า 50%

ข้อมูลดังกล่าวไม่น่าจะเป็นความจริง และไม่น่าจะมีการแสดงผลที่ผิดพลาดมากขนาดนี้ จากผลการตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการที่ผ่านมา ชุดตรวจ ATK เล่อผู่ มีผลบวกลวงไม่เกิน 5% 

หลังจากนี้จะมีการตรวจพิสูจน์ความจริงจากคณะกรรมการทางการแพทย์กระทรวงสาธารณสุขอย่างเร่งด่วนอีกครั้ง เพื่อพิสูจน์ความจริงให้ประชาชนได้ทราบ

อ่านข่าวเพิ่ม สสจ.นครศรีฯ สั่งห้ามใช้ชุดตรวจโควิด Lepu ในกลุ่มเสี่ยงสูง

ผลตรวจ ATK คลาดเคลื่อนจริง

ส่วนกรณีที่สสจ.นครศรีธรรมราช นพ.จรัสพงษ์ สุขกรี นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช สั่งห้ามโรงพยาบาลทุกแห่ง นำ ATK ชนิดนี้ ไปใช้กับกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง และให้แพทย์บุคลากรทางการแพทย์ใช้ ATK แบบโปรเฟรสชันแนลยูส เนื่องจากพบผลความเบี่ยงเบนสูง

หลังจากนี้น 1 วัน มีการแถลงข่าวครั้งที่สอง โดยนr.จรัสพงษ์ อ้างถึงผลการศึกษาการใช้ ATK เล่อผู กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 392 ตัวอย่าง และชี้แจงว่าชุดตรวจเล่อผู ไม่ได้มีปัญหา แต่พบว่าโรงพยาบาลบางแห่ง นำเอาชุดตรวจแบบโฮมยูส มาตรวจในโรงพยาบาล ให้กับผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ซึ่งตามหลักการ ต้องใช้การตรวจแบบทางการแพทย์เท่านั้น

มีข้อมูลจากนักระบาดวิทยาคนหนึ่ง ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการศึกษาวิจัยดังกล่าวว่า การเปรียบเทียบผล ATK กับผล RT-PCR ในบุคคลเดียวกัน โดยเลือกผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง ในอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จำนวน 392 คน พบว่า มีผลลบลวงในกลุ่มผู้ที่ติดเชื้อจริง เท่ากับ 73% โดย ATK ให้ผลเป็นลบ จำนวน122คน จากจำนวนผู้ติดเชื้อจริงที่มีผล RT-PCR เป็นบวก จำนวน 167 คน

ทำให้สามารถคำนวณค่าความไว ได้เท่ากับ 27% โดยคำนวณจากผล ATK เป็นบวกจำนวน 45 คน จากการตรวจในผู้ติดเชื้อโควิดจริงที่มีผล RT-PCR เป็นบวก จำนวน 167 คน ซึ่งโดยปกติแล้ว ค่าความไวของชุดคัดกรองที่ดี จะต้องสูงถึง 70-90 ขึ้นไป จึงจะมีประโยชน์ในการคัดกรองได้ 

นักวิจัย ยืนยันผ่านอย.ยังใช้งานได้หมด

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผอ.กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ไบโอเทค สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า การทดสอบชุดตรวจ ATK ผลเบื้องต้นจากการใช้มีการตรวจหากับเชื้อไวรัส COVID-19 เทียบกับมาตรฐาน PT-PCR คือตัวอย่างเชื้อเป็นผลบวกหมด แต่ถ้าลดระดับเชื้อน้อยลงเรื่อยๆ พบว่าชุดตรวจมีการวัดได้อยู่ แต่บางตัวอย่างตรวจหาเชื้อไม่ได้ เพราะปริมาณไวรัส COVID-19 น้อย

เมื่อถามว่าการใช้ชุดตรวจคลาดเคลื่อนดังกล่าวใช่ต่อได้หรือไม่ ดร.อนันต์ กล่าวว่า คนที่ใช้ ATK จะมีตัวน้ำชุดตรวจ และตัวสวอป ซึ่งตัวน้ำใน ATK จะเป็นสารละลายที่ใช้วัดโปรตีนไวรัส COVID-19 ดังนั้นการใช้ต้องมีการคนหาเชื้อ และปล่อยให้สารระลายในน้ำแตกออก ดังนั้นโอกาสที่ปริมาณโปรตีนที่จะวัดอาจจะออกมาได้ไม่มาก และชุดของเลอผู่ ตัวอย่างอาจจะไม่เจอกับน้ำละลายได้ จึงต้องเข้าใจถึงหลักการทำงานตรวจอนุภาคไวรัส และผลความคลาดเคลื่อนอาจจะมาจากตัวผู้ใช้งาน และตัว ATK 

กรณีทั้งนี้ชุดตรวจที่ผ่านมาการรับรองของอย.ยังสามารถใช้งานได้หมด ขึ้นกับความเสี่ยงถ้าไปใกล้กับคนติดเชื้อ และมีอาการแล้ว ก็ควรตรวจแบบโปรเฟสโปรเฟรสชันแนลยูส

ส่วนการแจกจ่ายชุดตรวจ ATK โดยสปสช. ข้อมูลวันที่ 5 ต.ค.ที่ผ่านมา พบว่าแจก ATK แล้ว 473,514 ชุด 231,935 คน มีกลุ่มเป้าหมายที่ได้ตรวจ เป็นกลุ่มที่มีอาการ 122,089 คน, อยู่ในพื้นที่เสี่ยง 209,745 คน, กลุ่มที่ใกล้ชิดผู้ป่วย 214,486 คน  ผลการตรวจพบว่าประชาชนที่รับ ATK บันทึกผลแล้ว 103,224 คน, รอบันทึกผล 127,754 คน, พบผลบวก 1,105 คน

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

3 เดือนเส้นทาง ATK "Lepu" กับคุณภาพที่ถูกกังขา

"อนุทิน" อ้าง สสจ.นครศรีฯ อาจสื่อสารไม่ถูกต้อง ปมห้ามใช้ ATK "Lepu"

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง