เลือกตั้ง อบต. เลือกใครแล้วดี (EP01)

การเมือง
13 พ.ย. 64
16:27
336
Logo Thai PBS
เลือกตั้ง อบต. เลือกใครแล้วดี (EP01)
ปลายเดือนนี้ (28 พ.ย.64 ) หลายคนที่มีทะเบียนบ้าน ในต่างจังหวัด คงมีโอกาสได้ไปเลือก นายก อบต. และ สมาชิก อบต. เป็นการเลือกตั้ง ในรอบ 8 ปี มี อบต.จัดเลือกตั้ง 5,300 แห่งทั่วประเทศ

กกต. สรุป จำนวน ผู้สมัครทั้งหมด คือ นายก อบต. 12,309 คน และ ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาอบต. 123,941 คน เป็นการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งใหญ่ที่สุด มีผู้สมัครมากที่สุด และ ผู้ที่ได้รับเลือกมากที่สุด เข้าสู่การเมืองระดับท้องถิ่น

ก่อนไปลงคะแนน เราอาจต้องรู้ว่า อบต. ทำอะไรบ้าง และต้องทำอะไรบ้าง แล้ว อบต. ทำอะไรไปบ้าง ทั้ง ๆ ที่ ไม่ใช่หน้าที่โดยตรง ดูได้จากงบประมาณ

ก่อนไปดูว่า อบต. ทำอะไร และใช้งบประมาณ แบบไหน ทำความรู้จัก รายได้ นายก อบต. และสมาชิก อบต. กันก่อน

"เงินเดือน" ค่าตอบแทน นายก-รองนายก อบต.ถูกแบ่งตามรายได้ งบประมาณประจำปีจาก อบต. มีค่าตอบแทนแบ่งเป็น ดังนี้

นายก อบต.
- รายได้ อบต.เกิน 50 ล้านบาท เงินเดือนรวมค่าประจำตำแหน่ง นายก อบต. = 26,080 บาท
- รายได้ อบต.เกิน 25-50 ล้านบาท -เงินเดือนรวมค่าประจำตำแหน่ง นายก อบต. = 24,920 บาท
- รายได้ อบต.เกิน 10-25 ล้านบาท -เงินเดือนรวมค่าประจำตำแหน่ง นายก อบต. = 23,900 บาท
- รายได้ อบต.เกิน 5-10 ล้านบาท เงินเดือนรวมค่าประจำตำแหน่ง นายก อบต. = 22,880 บาท
- รายได้ อบต.ไม่เกิน 5 ล้านบาท เงินเดือนรวมค่าประจำตำแหน่ง นายก อบต. = 21,860 บาท

เห็นเงินเดือน และรายได้ อบต. คราวนี้ มาดูวิธีการใช้เงิน ของ อบต. ทำไมต้องพูดเรื่องการใช้เงิน เพราะเงินทุกบาท ที่ อบต.เอาไปใช้จ่าย มาจากภาษี แม้ส่วนหนึ่งมาจากรัฐที่อุดหนุน

แต่ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมด เป็นภาษีท้องท้องถิ่น ต้องจ่าย เช่น. ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย / ค่าธรรมเนียมน้ำบาดาล เงินอากรประทานบัตรใบอนุญาตและอาชญาบัตร ค่าภาคหลวงและค่าธรรมเนียม ตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้และค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินที่เก็บใน อบต. ฯลฯ

ตอนแรกจะเปิดให้ดูตัวอย่างการใช้งบของ อบต.เรื่องโครงการจัดซื้อจัดจ้าง

การขุดข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญ เรื่อง งบประมาณจัดซื้อจัดจ้าง พบข้อมูลว่า ย้อนหลังปีงบประมาณ ไป 5 ปี คือตั้งแต่ ปี 2560-2564


- มีโครงการจัดซื้อจ้าง มากกว่า 2 ล้าน 6 แสนโครงการ ทั่วประเทศ น่าสนใจว่า เพิ่มขึ้นทุกปี จากประมาณ 2 แสนโครงการในปี 2560 แต่พอปี 2561 โครงการจัดซื้อจัดจ้างเพิ่มขึ้นเท่าตัว เป็น 5 แสนโครงการ


- จากนั้น เพิ่มขึ้นทุกปี มากที่สุดคือในปีงบประมาณ 2563 กว่า 9 แสนโครงการจัดซื้อจัดจ้าง และลดลงทันที ในปี งบประมาณ 2564 เหลือเพียง ไม่ถึง 3 แสน โครงการจัดซื้อจัดจ้าง ใกล้เคียง ปี 2560 เป็นไปได้เพราะสถานการณ์โควิด ต้องลดการใช้จ่ายงบประมาณ ด้านการจัดซื้อจัดจ้าง ในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุข


- แต่ถ้าอยากรู้ว่า แล้วพื้นที่ไหน ใช้งบประมาณ เพื่อการจัดซื้อจัดจ้างมากที่สุด คำตอบคือ ภาคอีสาน มีโครงการเพื่อจัดซื้อจ้างมากที่สุดแน่นอน ตามจำนวนประชากร และ อบต.


- โครงการจัดซื้อจัดจ้าง ก็จะสอดคล้องกับการใช้งบประมาณ เพราะย้อนหลังไป 5 ปี ภาพรวมของ อบต.ทั่วประเทศ ใช้งบประมาณไปกับการจัดซื้อจัดจ้าง ถึงกว่า 3 แสนล้านบาท

จากการตรวจสอบในปี 2560 ซึ่งใช้งบประมาณไป กว่า 40,000 ล้านบาท ภาคอีสาน ใช้งบประมาณเพื่อจัดซื้อจัดจ้าง ในส่วนของ อบต. ไป มากที่สุด ตลอดทั้ง 5 ปี กว่า 1 แสนล้านบาท

ปล. ตอนต่อไปจะไปตรวจงบประมาณ แต่ละโครงการที่น่าสนใจ เช่น
- ถนนยางพารา
- นมโรงเรียน
- ศูนย์เด็กเล็ก
ศุนย์แพทย์ฉุกเฉิน อบต.
งบศึกษา ดูงาน
ฯลฯ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง