สภาองค์กรผู้บริโภค ยื่นกลต.-กสทช.ค้านควบรวม "ทรู-ดีแทค"

สังคม
23 พ.ย. 64
12:25
2,703
Logo Thai PBS
สภาองค์กรผู้บริโภค ยื่นกลต.-กสทช.ค้านควบรวม "ทรู-ดีแทค"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สภาองค์กรผู้บริโภค เตรียมทำข้อเสนอยื่นกสทช.-ตลาดหลักทรัพย์ จุดยืนไม่หนุนควบรวมกิจการ "ทรู-ดีแทค" ชี้จำกัดทางเลือกผู้บริโภคเสี่ยงกระทบราคา-คุณภาพ เข้าข่ายมีอำนาจเหนือตลาด 52% กีดกันการแข่งขัน เล็งจ่อฟ้องหากคำตอบไม่ชัดเจน

วันนี้ (23 พ.ย.2564) สภาองค์กรของผู้บริโภค แถลงกรณีซีพี–เทเลนอร์ควบรวม กระทบผู้บริโภค หลังจากควบรวมกิจการทรู-ดีแทค โดยเชิญตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือและเตรียมทำหนังสือส่งถึง กสทช.และตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากมีจุดยืนไม่เห็นด้วยกับการควบรวม และกังวลผลกระทบต่อผู้บริโภค 

นางบุญยืน ศิริธรรม ประธานสภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) กล่าวว่า ทางสอบ.ไม่ได้ขัดขวางการควบคุมกิจการของ 2 ค่าย แต่กังวลการมีทางเลือกน้อย จะทำให้ผู้บริโภคไม่ถูกเอาเปรียบ หรือจะมีหลักประกันอะไรว่าไม่ลิดรอนทางเลือกของผู้บริโภคในการเลือกใช้เครือข่ายมือถือที่หลากหลาย 

ยืนยันไม่มีอคติกับค่ายใดๆ แต่ห่วงความเป็นธรรมกับผู้บริโภค เพราะถ้าธุรกิจควบรวมมากขึ้น อนาคตจะเกิดการฮั้วราคากันหรือไม่ เพราะทางเลือกมีน้อยแล้วจะกระทบต่อสิทธิผู้บริโภค 

อ่านข่าวเพิ่ม กสทช.ห่วงควบรวม "ทรู-ดีแทค" สุ่มเสี่ยงฮั้วค่าบริการ

ห่วงมีอำนาจเหนือตลาด 52% กีดกันการแข่งขัน

น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) กล่าวว่า จุดยืนไม่เห็นด้วยกับควบรวมกิจการ  เพราะทำให้เหลือทางเลือกกับผู้บริโภคลดลง เหลือแค่ 2 เจ้า และสุดท้ายอาจจะไม่มีการแข่งขันกัน ทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภค ซึ่งคล้ายกับควบรวมขององค์การโทรศัพท์ และการสื่อสาร เพราะสุดท้ายจะไม่มีแรงจูงใจให้เกิดการแข่งขัน

อยากให้ กสทช.เข้ามาให้ข้อมูลกับผู้บริโภค เพราะถ้าควบรวมกิจการจะแชร์ส่วนแบ่งตลาด 52% และอีกเจ้า 40 % จะเป็นส่วนที่กิจการที่มีอำนาจเหนือตลาดหรือไม่ 

น.ส.สารี กล่าวว่า การที่ผู้บริโภคถูกจำกัดทางเลือกหน่วยงานกำกับดูแลไม่ควรเกิดขึ้น ซึ่งในต่างประเทศชัดเจนมี 3-4 เจ้า แต่ไม่มีที่ไหนที่มี 3 เจ้าแต่กลับมาเหลือ 2 เจ้า และควรมีเจ้าใหม่ๆมากขึ้น และกสทช.ควรสนับสนุนให้มีเจ้าใหม่เกิดขึ้น และโอเปอเรเตอร์ผู้ให้บริการโทรคมนาคมใช้คลื่นในราคาพิเศษ เพื่อให้เกิดการการแข่งขัน

 

นอกจากนี้มองว่าการคุ้มครองผู้บริโภคไม่มีเป็นอุปสรรคต่อทุน เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ ทรู-ดีแทค สามารถใช้เงื่อนไขประกาศของกสทช. เรื่องการร่วมมือเป็นพันธมิตรกัน โดยไม่เป็นอุปสรรค เช่น ใช้โครงข่ายร่วมกันจะทำให้ลดต้นทุน แต่กลับไม่เห็นการทำความร่วมมือในลักษณะนี้

การควบรวมคือการกีดกันเจ้าอื่น เพราะเป็นเจ้าเดียวกัน สวนทางกับประกาศของ กสทช. จึงไม่สนับสนุนการควบรวม และไม่ควรตัดโอกาส ตัดทางเลือกผู้บริโภค

จ่อยื่นกสทช.-ตลาดหลักทรัพย์ห่วงควบรวม

เมื่อถามว่า สอบ.จะมีอำนาจในการดำเนินการเรื่องนี้อย่างไร น.ส.สารี กล่าวอีกว่า ขณะนี้จากตัวเลขมีผู้ใช้เครือข่ายดีแทค 32 ล้านเลขหมาย ส่วนทรู จำนวน 19 ล้านเลขหมาย รวม 2 เจ้าหลังควบรวมจะมีตัวเลข  51 ล้านเลขหมาย ส่วนเอ 47.3 ล้านลขหมาย เมื่อพิจารณากฎหมายแข่งขัน จึงมีอำนาจเหนือตลาดเกิน 50%

น.ส.สารี กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาสภาผู้บริโภค เคยมีการฟ้องกิจการค้าปลีก กรณีของซีพีรวมกับเทสโก้ ซึ่งยังไม่ได้ขออนุญาตให้หน่วนยงานกำกับดูแลมีการพิจารณา ดังนั้นตอนนี้ขอรอข้อมูลตรงนี้ก่อนว่าสภาฯ จะดำเนินการฟ้องคดีหรือไม่

ต่อไปจะส่งผลต่อราคาของผู้บริโภค หรือคุณภาพการให้บริการหรือไม่ แม้ว่าเบื้องต้นอาจจะไม่ส่งผลต่อราคา แต่ในระยะยาวค่อนข้างกังวล เพราะไทยไม่มีหน่วยงานที่จะกำกับดูแลในกิจการโทรคมนาคม

 

น.ส.สารี กล่าวอีกว่า เท่าที่ทราบตอนนี้กสทช.ไม่มีอำนาจในประเด็นดังกล่าว ส่วนทางสภาองค์กรผู้บริโภค ซึ่งจัดตั้งตามรัฐธรรมนูญให้เราทำตามที่มีอำนาจตามพ.ร.บ.ให้ถือว่าทำหน้าที่เป็นตัวแทนผู้บริโภคในทุกด้าน

เบื้องต้นสภาจะทำข้อเสนอไปยัง กสทช.ว่าควรสั่งห้ามการควบรวม เพื่อให้เกิดอำนาจเหนือตลาด และทำหนังสือถึงตลาดหลักทรัพย์ และคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เพื่อขอคัดค้านการพิจารณาการควบรวมกิจการครั้งนี้ และจัดประชุมเพื่อร่วมกันพิจารณาแนวทางอื่นๆ รวมถึงแนวทางการดูแลผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบในเรื่องนี้ด้วย

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปิดดีลทรู-ดีแทคสู่ยุค 4.0 คาดแชร์ส่วนแบ่งตลาด 2.17 แสนล้าน

ดีลใหญ่! TRUE-DTAC พร้อมควบรวมกิจการตั้งบริษัท Tech Company

"เทเลนอร์" ยอมรับอยู่ระหว่างเจรจาควบรวม "ทรู-ดีแทค"

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง