เปิดสถิติโครงการด้านการแพทย์ฉุกเฉินของ อบต.ทั่วประเทศ

การเมือง
23 พ.ย. 64
20:47
369
Logo Thai PBS
เปิดสถิติโครงการด้านการแพทย์ฉุกเฉินของ อบต.ทั่วประเทศ
“การให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน” ซึ่งไม่ได้อยู่ในภารกิจที่ “ต้องทำ” หรือ “อาจทำ” ตามกฎหมาย กลับมีโครงการและงบประมาณมากกว่าภารกิจหลัก

ข้อมูลในปีงบประมาณ 2560-2564 พบว่า อบต.ทั่วประเทศใช้งบฯ ส่วนนี้กว่า 317 ล้านบาท เกือบ 10,000 โครงการ

 

266.8 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 84 ของงบฯ การให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินทั้งหมด คือการจ้างเหมาแรงงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งเพิ่มขึ้นทุกปี ได้แก่

  • จ้างเหมาแรงงานปฏิบัติหน้าที่ประจำ อบต.
  • จ้างเหมาแรงงานปฏิบัติหน้าที่ประจำศูนย์กู้ชีพ
  • จ้างเหมาแรงงานประจำรถกู้ชีพ
  • จ้างเหมาแรงงานประจำศูนย์วิทยุ

เปรียบเทียบภูมิภาค

แม้จะมีการปรับลดโครงการด้านการแพทย์ฉุกเฉินในปี 2562 แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงสถานการณ์โควิด-19 โครงการก็ได้รับการอุดหนุนอีกครั้ง โดยเฉพาะปี 2564 ที่ทุกภูมิภาคมีโครงการมากที่สุดเท่าที่เคยมีในรอบ 5 ปี

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงเป็นภาคที่จำนวนโครงการและงบประมาณสูงที่สุด  และทำให้มูลค่าเฉลี่ยต่อโครงการต่ำสุดด้วย โดยภาคใต้มีมูลค่าเฉลี่ยเป็นอันดับหนึ่ง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้งบฯ ในการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินมากที่สุด 192.1 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นค่าจ้างเหมาแรงงานแล้ว 168.2 ล้านบาท

สัดส่วนต่อทั้งประเทศและจังหวัดสูงสุด ด้านจำนวนโครงการ

  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 64 : บุรีรัมย์
  • ภาคกลาง ร้อยละ 12 : เพชรบูรณ์
  • ภาคใต้ ร้อยละ 10 : นครศรีธรรมราช
  • ภาคเหนือ ร้อยละ 9 : น่าน
  • ภาคตะวันตก ร้อยละ 3 : กาญจนบุรี
  • ภาคตะวันออก ร้อยละ 3 : ปราจีนบุรี

สัดส่วนต่อทั้งประเทศและจังหวัดสูงสุด ด้านงบประมาณ

  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 53 : ขอนแก่น
  • ภาคกลาง ร้อยละ 12 : สมุทรปราการ
  • ภาคใต้ ร้อยละ 19 : นครศรีธรรมราช
  • ภาคเหนือ ร้อยละ 9 : น่าน
  • ภาคตะวันตก ร้อยละ 4 : กาญจนบุรี
  • ภาคตะวันออก ร้อยละ 3 : ฉะเชิงเทรา

TOP 5 จังหวัด

จังหวัดจำนวนโครงการสูงสุด

  1. บุรีรัมย์
  2. ขอนแก่น
  3. นครพนม
  4. สกลนคร
  5. มหาสารคาม

จังหวัดงบประมาณสูงสุด

  1. นครศรีธรรมราช
  2. ขอนแก่น
  3. อุบลราชธานี
  4. มหาสารคาม
  5. บุรีรัมย์

จังหวัดมูลค่าเฉลี่ยต่อโครงการสูงสุด

  1. พัทลุง
  2. สมุทรปราการ
  3. ภูเก็ต
  4. สิงห์บุรี
  5. ปัตตานี

อบต.ไหน "ที่สุด" อะไรบ้าง

อบต.จำนวนโครงการมากสุด

  1. อบต.สวายจีก จ.บุรีรัมย์ 605 โครงการ
  2. อบต.ทุ่งกระเต็น จ.บุรีรัมย์ 302 โครงการ
  3. อบต.โนนธาตุ จ.ขอนแก่น 291 โครงการ
  4. อบต.พังขว้าง จ.สกลนคร 283 โครงการ
  5. อบต.บ้านผึ้ง จ.นครพนม 282 โครงการ

อบต.งบประมาณมากสุด

  1. อบต.บางปลา จ.สมุทรปราการ 9.5 ล้านบาท
  2. อบต.บ้านหัน จ.ขอนแก่น 6.9 ล้านบาท
  3. อบต.บางพลีใหญ่ จ.สมุทรปราการ 5 ล้านบาท
  4. อบต.หนองบัว จ.กาญจนบุรี 4.9 ล้านบาท
  5. อบต.หนองแวง จ.กาฬสินธุ์ 4.3 ล้านบาท

อบต.มูลค่าเฉลี่ยต่อโครงการมากสุด

  1. อบต.เขาวง จ.สระบุรี 3.2 ล้านบาท
  2. อบต.แม่คำมี จ.แพร่ 2.6 ล้านบาท
  3. อบต.บางปลา จ.สมุทรปราการ 2.4 ล้านบาท
  4. อบต.บานา จ.ปัตตานี 1.8 ล้านบาท
  5. อบต.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช 1.5 ล้านบาท

 

แน่นอนว่าระบบการแพทย์เป็นโครงสร้างที่จำเป็นอย่างยิ่ง แต่จากการจำแนกบทบาทหน้าที่ของ อบต.ตาม พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 เป็นกลุ่ม A, B, C ด้านล่างนี้ จะเห็นได้ว่า อบต.ถูกกำหนดให้ “ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย” ตามข้อ A(4) อยู่แล้ว จึงอาจต้องทบทวนอีกครั้งว่า C(2) การให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน มีส่วนงานใดที่ซ้ำซ้อนหรือแตกต่างไปหรือไม่

[อ่านรายงานภาพรวมโครงการของ อบต.ได้ที่ แผ่โครงการ อบต.ทั่วประเทศ ทำอะไร-ที่ไหนแพง]

กลุ่ม A กิจการที่ อบต. ‘ต้องทำ’ มี 9 ภารกิจ


กลุ่ม B กิจการที่ ‘อาจจัดทำ’ 13 ภารกิจ

  • 
B(1) ให้มีน้ําเพื่ออุปโภค บริโภคและการเกษตร
  • 
B(2) ให้มีการบำรุงรักษาการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น

  • B(3) ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
  • 
B(4) ให้มีและบํารุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อน และสวนสาธารณะ
  • 
B(5) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์
  • 
B(6) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
  • 
B(7) บํารุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
  • 
B(8) การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
  • 
B(9) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของ อบต.
  • 
B(10) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
  • 
B(11) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
  • 
B(12) การท่องเที่ยว
  • 
B(13) การผังเมือง

กลุ่ม C ภารกิจอื่น ๆ 11 ภารกิจ ที่ทีมข่าวจำแนกเพิ่มเติมจากการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล

  • 
C(1) การพัฒนาศักยภาพบุคลากร

  • C(2) การให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
  • 
C(3) เพศศึกษาและวิธีการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

  • C(4) การส่งเสริมสุขภาพ
  • 
C(5) การป้องกันและปราบปรามการทุจริต

  • C(6) การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

  • C(7) การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
  • 
C(8) การส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
  • 
C(9) การลดความเหลื่อมล้ำของสังคม

  • C(10) การสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก
  • 
C(11) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น

ดูข้อมูลภาพรวมและโครงการอื่นๆ ได้ที่ แผ่โครงการ อบต.ทั่วประเทศ งบฯ พุ่งโครงการเพียบ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง