"หมอประสิทธิ์" เตือนธ.ค.นี้จุดเสี่ยงโควิดระลอกใหม่-ไวรัสกลายพันธุ์

สังคม
26 พ.ย. 64
14:16
8,284
Logo Thai PBS
"หมอประสิทธิ์" เตือนธ.ค.นี้จุดเสี่ยงโควิดระลอกใหม่-ไวรัสกลายพันธุ์
"หมอประสิทธิ์" ประเมิน COVID-19 พบทั่วโลกช่วงขาขึ้น ต.ค.นี้ ตัวเลขกระโดดเป็น 600,000 คนต่อวัน "ยุโรป" กลายเป็นศูนย์กลางระบาดรอบใหม่ โลกพบไวรัส B 1.1.529 จับตา ธ.ค.นี้ จุดเสี่ยงโควิดระลอกใหม่ ห่วงไทยซ้ำรอยช่วงสงกรานต์

วานนี้(25 พ.ย.2564) ศาสตราจารย์ นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงประเมินสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ว่า ข้อมูลล่าสุดเมื่อ 22 พ.ย.ที่ผ่านมา พบว่าการแพร่ระบาดใหญ่ในทวีปอเมริกาเหนือ และยุโรป ซึ่งพบว่าตัวเลขกราฟตัวเลขผู้ติดเชื้อ กำลังกำลังจะวกขึ้น โดยเฉพาะที่สหรัฐอเมริกา

ขณะที่ยุโรปพบว่าตั้งแต่ปลาย ส.ค.-ก.ย.ที่ผ่านมา หลายประเทศในยุโรปกราฟกำลังวิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น ออสเตรีย เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเยอรมนี ซึ่งน่าห่วงว่า ยุโรปกำลังเข้าหน้าสู่ช่วงฤดูหนาว ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงของการระบาด  

ช่วงต.ค.พบอุบัติการณ์ติดเชื้อของคนทั้งโลกเริ่มกลับมาเป็น 500,000-600,000 คนต่อวัน จากเดิมที่ลดลงเหลือ 300,000 คนต่อวัน สวนทางกลับกราฟตัวเลขการเสียชีวิตที่ลดลง ทั้งนี้มาจากการฉีดวัคซีน 

"ยุโรป" ตัวเลขขาขึ้น COVID-19 

นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า เยอรมนี การระบาดประเทศเดียว ตัวเลขการติดเชื้อล่าสุดเมื่อ 23 พ.ย.ติดเชื้อ 54,268 คน และมีประชากรฉีดวัคซีน 117,572,238 โดส ครอบคลุม 76.6% ส่วนเนเธอร์แลนด์ พบการติดเชื้อวันละ 20,000 คนต่อวัน ซึ่งมีการฉีดวัคซีน 24,382,465 โดส หรือ 76.4% โดยมีประชากรได้รับ 1 โดส 

ส่วนประเทศไอร์แลนด์ เป็นอีกหนึ่งงประเทศที่ฉีดวัคซีนเยอะ และไม่คาดคิดจะมีพบการติดเชื้อเพิ่มวันละ 3,000 คน ฉีดวัคซีนไปแล้ว 8 ล้านโดส จากประชากรมีแค่ 5 ล้านคน การติดเชื้อจึงถือว่าไม่น้อย ทำให้รัฐบาลเริ่มล็อกดาวน์ ตั้งแต่พบผู้ติดเชื้อ 43 คน 

อย่างไรก็ตาม การกลับมาระบาดอีกครั้งในต่างประเทศไม่ได้ทำแบบไทยคือ Home isolation ซึ่งอาจจะกระทบต่อการการบริหารจัดการเตียง ทำให้มีการออกมาตรการเพิ่มเติม ตอนนี้ยุโรปกลายเป็นศูนย์กลางระบาดของ COVID-19 ต้องจับตาเดือน ธ.ค.นี้ คือช่วงพีเรียดความเสี่ยงของการระบาด เนื่องจากอากาศเย็น และเป็นช่วงที่มีการพบปะในช่วงคริสต์มาส และปีใหม่ ทำให้ยุโรปต้องออกมาตรการ เพื่อกดตัวเลขให้ลดลง

อ่านข่าวเพิ่ม  อังกฤษระงับเที่ยวบิน 6 ชาติแอฟริกา หวั่นโควิดกลายพันธุ์

นพ.ประสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ส่วนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งไทย มีแนวโน้มตัวเลขที่ลดลงแล้ว แต่ปีก่อนถึงตัวเลขจะลดลง เคยมีการวกกลับมาได้ โดยไทยเริ่มมีการฉีดวัคซีน COVID-19 เข็ม 3 ตั้งแต่เดือนก.ย.ที่ผ่านมา ไทยมีการฉีดวัคซีนได้ 89 ล้านโดส การเสียชีวิตและการติดเชื้อยังคู่ขนานกันไป 

จับตาธ.ค.นี้ เป็นจุดเสี่ยง ขอหลีกเลี่ยงอย่าให้บุคคลเสี่ยง สถานที่เสี่ยง กิจกรรมเสี่ยง เพราะ 3 เสี่ยงจะมาเจอในช่วงเวลาเสี่ยง คือเดือนธ.ค.นี้ เหมือนกับที่ไทยเคยเผชิญช่วงการระบาดเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา   

จับตาไวรัสกลายพันธุ์-อากาศหนาว

ทั้งนี้ นพ.ประสิทธิ์ กล่าวอีกว่า การกลับมาของ COVID-19 มีปัจจัยเรื่องวัฒนธรรม และความเชื่อ และความเป็นอิสระที่ไม่ยอมรับการใส่หน้ากาก การเว้นระยะห่าง การไม่ฉีดวัคซีน รวมทั้งการผ่อนคลาย การสันทนาการ ซึ่งพบผู้นำบางประเทศที่ประกาศให้ผ่อนคลายเช่น ไม่ต้องใส่หน้ากากอนามัย

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเรื่องสภาพภูมิอากาศ เพราะประเทศตะวันตกเข้าสู่ช่วงหน้าหนาวที่อุณหภูมิลดลง ทำให้ต้องอยู่ในอาคาร รวมทั้งภูมิคุ้มกันต่อไวรัสที่ลดลงเร็วกว่าที่นักไวรัสคาดการณ์ไว้ เช่น ฉีดแอสตรา เซเนกา 2 เข็มในช่วง 4-5 เดือนภูมิจะลดลง และต้องฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ตลอดจนพบการกลายพันธ์ุของไวรัสที่ผ่านมามี ซึ่งมีการติดตาม เดลตา พลัส (AY.4.2) และ  B 1.1.529 ที่พบล่าสุด

สำหรับ B 1.1.529 การพบสายพันธุ์ไวรัสกลายพันธุ์มากกว่า 50 จุด มีโปรตีนสไปค์กว่า 30 แห่ง ซึ่งมีการยืนยันผู้ติดเชื้อ แล้ว 10 คน พบที่แอฟริกาใต้ 6 คน ส่วนอีก 3 คนที่บอสวานา  และ 1 คนที่ฮ่องกง

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศบค.ขยายเวลา พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อีก 2 เดือน - ยกเลิกเคอร์ฟิวทั่วประเทศ

ลุ้น! ศบค.ปลดล็อกสถานบันเทิง-เล็งต่อพ.ร.ก.ฉุกเฉิน 2 เดือน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง