กางแผนรับมือ "โอมิครอน" ระลอกใหม่ เตียง-ยา-บุคลากรพร้อม?

สังคม
27 ธ.ค. 64
14:32
3,761
Logo Thai PBS
กางแผนรับมือ "โอมิครอน" ระลอกใหม่ เตียง-ยา-บุคลากรพร้อม?
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กระทรวงสาธารณสุข ยอมรับไทยอยู่ระดับ 3 เตือนภัยโควิด หลัง "โอมิครอน" รุกคืบเปิดตัวเลขหากย่อหย่อน 3-4 เดือนหลังปีใหม่ติดเชื้อ 30,000 คนต่อวัน พร้อมแจงเตียงยังว่างรองรับกว่า 1 แสนเตียง ยาฟาร์วิพิราเวียร์มีพออีก 2 เดือน 15 ล้านเม็ด

วันนี้ (27 ธ.ค.2564) นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงสถานการณ์โรค COVID-19 ฉากทัศน์การแพร่ระบาด และการปฏิบัติตัวของประชาชนว่า ภาพรวมคนไทยฉีดวัคซีนได้ครบ 100 ล้านโดส ตั้งแต่ 20 ธ.ค.ที่ผ่านมา แต่เชื่อว่าตัวเลขอาจจะมากกว่านี้ ซึ่งข้อมูลคนฉีดวัคซีน มาจากการลงระบบที่ครบสมบูรณ์ โดยวานนี้ (26 ธ.ค.) ตัวเลขฉีดวัคซีน 102,681,943 โดส รัฐบาลมีนโยบายในการฉีดบูสเตอร์เข็ม 3 ให้ประชาชน ส่วนบุคลากรทางการแพทย์ ได้รับเข็ม 3 และจะได้บูสเตอร์เข็ม 4

สถานการณ์โลกเป็นเวฟที่ 4 โดยการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนที่เข้ามาระบาดพบใน 106 ประเทศ สหรัฐอเมริกา 47 รัฐ ส่วนไทยตั้งแต่วันที่ 18 ธ.ค.ที่ผ่านมา คัดกรองผู้เดินทางเข้าไทยและพบมีตัวเลข การติดเชื้อโอมิครอนสะสมตั้งแต่วันที่ 18 -26 ธ.ค.แล้วจำนวน 514 คน และบุคคลเหล่านี้กลับไปตามพื้นที่ต่างๆ แต่ก็มีการเล็ดรอดออกไปเช่นไปเยี่ยมญาติ

ปัจจุบันบันมีต้นเชื้ออยู่ 514 คน และพบว่ามีการกระจาย 14 จังหวัด ส่วนใหญ่เป็นผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจากต่างประเทศ และ 20% สัมผัสใกล้ชิดจากผู้เดินทางจากต่างประเทศ

ไทยเตือนภัยระดับ 3 รับมือโอมิครอน

นพ.เกียรติภูมิ กล่าวว่า จากการศึกษาผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์โอมิครอนในประเทศแอฟริกาใต้ ตั้งแต่ 1 ต.ค.-30 พ.ย.64 พบว่ามีอัตราการนอนโรงพยาบาลลดลง เมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่นๆ แต่ความรุนแรงไม่แตกต่างกัน โดยอัตราการนอนโรงพยาบาล 2.5% และอาการหนัก 21%

พบว่าอาการส่วนใหญ่จะลงที่หลอดลมมากกว่าที่จะลงปอด อาการไอ แต่ถ้าลงปอดก็ทำให้อาการรุนแรงเช่นเดียวกับเดลตาได้ทั้งนี้ ยาฟาร์วิพาเวียร์ยังใช้รักษาโอมิครอนได้

ส่วนในไทยผู้ติดเชื้อโอมิครอนจาก 100 คนแรกพบ 41 คนที่รักษาตัวพบว่าผู้ติดเชื้อร้อยละ 54 อาการไอมากที่สุด รองลงมาเจ็บคอ ไข้ ส่วนอาการได้กลิ่นลดลงพบเพียง 1 คน ร้อยละ 2 ส่วนการให้ยาฟาร์วิพิราเวียร์ (จากข้อมูลผู้ที่ใช้ 20 คน) พบว่า 10 คนอาการดีขึ้นภายใน 24-72 ชั่วโมง หลังรับยา และให้จนครบ 5 วัน ทั้งนี้ผู้ติดเชื้อ โอมิครอน ยังอยู่ในการควบคุม ส่วนที่ไปพบปะและสัมผัสกลุ่มเสี่ยงได้มีการสอบสวนโรค

ตอนนี้มีการเตือนภัยโควิดแบ่ง 5 ระดับ และไทยตอนนี้ยังอยู่ในระดับ 3 ซึ่งกรมควบคุมโรค จะมีการอธิบายรายละเอียดกิจกรรมต่างที่อยู่ในระดับ 3 เพื่อให้ประชาชน ภาครัฐ และทุกภาคส่วนรับทราบสถานการณ์ และการทำกิจกรรมเลี่ยงการติดเชื้อ

ทั้งนี้ ขอความร่วมมือประชาชนและสถานประกอบการ ปฏิบัติตามมาตรการ Covid-Free Setting อย่างเคร่งครัด ชะลอการเดินทางออกไปยังต่างประเทศ และหลังจากผ่านพ้นเทศกาลปีใหม่ แนะนำให้ปฏิบัติงานที่บ้าน หลีกเลี่ยงการเจอผู้คน เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อ  

อ่านข่าวเพิ่ม  เปิดฉากทัศน์ "โควิด" หลังปีใหม่ตัวเลขแตะ 30,000 คนต่อวัน

 

3 ฉากทัศน์ไทยขอแค่เส้นเขียวเลี่ยงล็อกดาวน์ 

นพ.เกียรติภูมิ กล่าวอีกว่า แนวโน้มพบการติดเชื้อจากการเดินทางกลับจากต่างประเทศมากขึ้น และส่วนใหญ่เป็นโอมิครอน จึงอยากให้ประชาชนทำความเข้าใจว่า ตอนที่เราเคยสู้กับเดลตา ที่มีความรุนแรงและการแพร่กระจายเร็วมาก และวัคซีนมีเพียง 20% ก็ยังรับมือได้ แต่ถ้าเราร่วมมือกันครั้งนี้อีกครั้งจะทำให้สถานการณ์ไม่รุนแรงเกินไป

นพ.เกียรติภูมิ กล่่าวว่า ซึ่งฉากทัศน์ 3 แบบที่ทาง สธ.จำลองขึ้น ในฉากทัศน์แรกคือ ไม่อยากให้เป็น ถ้าไม่มีมาตรการควบคุมไทย กำลังถึงทางแยกมีการแพร่ของโอมิครอน เพราะมีการแพร่ะระบาดสูง ถ้าคุมไม่ได้ภายใน 3-4 เดือนติดเชื้อรายวัน 30,000 คน แต่ถ้าเส้นสีเขียว คุมได้ 1-2 เดือนตัวเลข 10,000-15,000 คนต่อวัน ค่อยๆทรงตัว และค่อยๆลดลงในที่สุด 

หากควบคุมได้ดีตามเส้นสีเขียวจะอยู่ที่ 10,000 คน และควบคุมโรคได้เร็ว 1-2 เดือนตัวเลขจะลดลงมา หากทำได้ในระดับปานกลาง ตัวเลข 15,000-16,000 คนต่อวัน ค่อยๆทรงตัว และลดลงในที่สุด ทางสธ.อยากให้เป็นเส้นสีเขียว จึงต้องร่วมมือกันอีกครั้ง เพราะไม่อยากล็อกดาวน์ประเทศ

 

กางตัวเลข 1 แสนเตียงรับผู้ป่วยโควิดระลอกใหม่

นพ.เกียรติภูมิ กล่าวว่า อยากสร้างความมั่นใจให้ประชาชนว่าถ้ามีการระบาดใหญ่ เตียงจะมีเพียงพอหรือไม่ จากการสำรวจเขตสุขภาพที่ 1-13 มีเตียงทั้งหมด 178,139 เตียง และเคยขยายถึง 200,000 เตียง แต่ตอนนี้เริ่มลดลงแล้ว และมีอัตราการใช้เตียงไปแล้ว 13.7% หรือ 24,372 เตียง ยังเหลืออีก 153,767 เตียง

โดยจะแบ่งเป็น 3 ระดับ คือเตียงสีแดงอาการหนัก ระดับ 3 ซึ่งมีเตียงรองรับ 4,955 เตียง มี การใช้เตียงแล้ว 31%หรือ 1,568 เตียง เหลือเตียงว่าง 3,387 เตียง

 

ส่วนสีเหลืองระดับ 2 มีเตียงทั้งหมด 60,928 เตียง การใช้เตียงแล้ว 25.6% หรือ 15,574 เตียง เหลือเตียงว่าง 45,354 เตียง ส่วนสีเขียว ระดับ 1 มีเตียงรองรับ 112,256 เตียง มีการใช้เตียงแล้ว 6.4%หรือ 7,230 เตียง เหลือเตียงว่าง 105,026 เตียง

การรองรับเตียงในระดับสีเขียว สามารถเพิ่มได้ในระยะเวลาสั้น และถ้าไม่มีอาการมากจะเน้นให้คนติดเชื้อโอมิครอนอยู่ที่บ้าน แต่สำคัญคือต้องป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ และสธ.จะรีบให้ยากเพื่อไม่ให้เกิดอาการรุนแรง

นอกจากนี้ ปลัดสธ.กล่าวอีกว่า ขณะนี้ สธ.มียาฟาร์วิพิราเวียร์ในระบบสำรองยา 15 ล้านเม็ด และประ มาณการณ์ว่า จะเพียงพอสำหรับ 2 เดือน ซึ่งกรณีการระบาดภายใน 30 วันต้องใช้ยาเพิ่ม ทางองค์การเภสัชกรรม มีการสำรองวัตถุดิบพร้อมผลิตยาได้ 60 ล้านเม็ดหรือ 30 ล้านเม็ดต่อเดือน ส่วนยาเรมเดซิเวียร์ คงเหลือ 44,064 vial

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

"คลัสเตอร์กาฬสินธุ์" ยืนยันผลโอมิครอน 125 คน รอผลตรวจอีก 97

สธ.เร่งคุมโอมิครอน รับมีเล็ดลอดจากระบบ

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง