เช็ก "ยอดเตียง" รองรับ "โอมิครอน" สูงสุดวันละ 52,300 เตียง

สังคม
5 ม.ค. 65
12:00
611
Logo Thai PBS
เช็ก "ยอดเตียง" รองรับ "โอมิครอน" สูงสุดวันละ 52,300 เตียง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สำรวจความพร้อมเตียงรับมือโควิด "โอมิครอน" สธ.ประมาณรับมากสุด 52,300 คนต่อวัน อาการรุนแรง 785 คนต่อวัน ส่วน กทม.-ปริมณฑล 8,300 คนต่อวัน อาการรุนแรง 125 คนต่อวัน ส่วนภาพรวมเตียงทั่วประเทศ 178,139 เตียงต่อวัน ยาฟาร์วิพิราเวียร์ 15 ล้านเม็ดรับมือ 2 เดือน

วันนี้ (5 ม.ค.2565) ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานว่าพบผู้ติดเชื้อ COVID-19  เพิ่ม 3,899 คน รวมผู้ป่วยสะสม 2,210,612 คน ( 1 เม.ย.64) หายป่วยกลับบ้าน 2,508 คน หายป่วยสะสม 2,155,403 คน (ตั้งแต่ 1 เม.ย.) ผู้ป่วยกำลังรักษา 34,877 คน เสียชีวิต 19 คน 

ขณะที่สถานการณ์ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน พบมีแนวโน้มจํานวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นตัวเลข 2,062 คนประกอบกับในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ประชาชนมีการจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ รวมถึงการท่องเที่ยว ซึ่งก่อนหน้านี้กระทรวงสาธารณสุข ประเมินฉากทัศน์ที่แย่ที่สุดว่าอาจมีตัวเลขผู้ติดเชื้อสูงขึ้นหลัก 30,000 คนต่อวัน

ไทยพีบีเอสออนไลน์ เช็กสถิติเตียงรองรับผู้ป่วย COVID-19 ระลอกใหม่ ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 27 ธ.ค.2564 นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ความมั่นใจว่าถ้ามีการระบาดใหญ่ เตียงจะมีเพียงพอหรือไม่

จากการสำรวจเขตสุขภาพที่ 1-13 มีเตียงทั้งหมด 178,139 เตียง และเคยขยายถึง 200,000 เตียง มีอัตราการใช้เตียงไปแล้ว 13.7% หรือ 24,372 เตียง ยังเหลืออีก 153,767 เตียง

โดยจะแบ่งเป็น 3 ระดับ คือเตียงสีแดงอาการหนัก ระดับ 3 ซึ่งมีเตียงรองรับ 4,955 เตียง มี การใช้เตียงแล้ว 31%หรือ 1,568 เตียง เหลือเตียงว่าง 3,387 เตียง 

 

ส่วนสีเหลืองระดับ 2 มีเตียงทั้งหมด 60,928 เตียง การใช้เตียงแล้ว 25.6% หรือ 15,574 เตียง เหลือเตียงว่าง 45,354 เตียง ส่วนสีเขียว ระดับ 1 มีเตียงรองรับ 112,256 เตียง มีการใช้เตียงแล้ว 6.4%หรือ 7,230 เตียง เหลือเตียงว่าง 105,026 เตียง

การรองรับเตียงในระดับสีเขียว สามารถเพิ่มได้ในระยะเวลาสั้น และถ้าไม่มีอาการมากจะเน้นให้คนติดเชื้อโอมิครอนอยู่ที่บ้าน สำคัญคือต้องป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ และสธ.จะรีบให้ยาเพื่อไม่ให้เกิดอาการรุนแรง

อ่านข่าวเพิ่ม เปิดฉากทัศน์ "โควิด" คาดการณ์หลังปีใหม่แตะ 30,000 คนต่อวัน

เตียงรับโอมิครอนปอดอักเสบ 11,000 คนต่อวัน

แต่หากจำแนกเป็นการเตรียมพร้อมเตียงรองรับผู้ติดเชื้อโอมิครอน ทั่วประเทศ กระทรวงสาธารณสุข ประมาณการเตียงรองรับผู้ติดเชื้อที่มีความรุนแรง หรืออาการปอดอักเสบ 11,000 เตียง แบ่งเป็น

  • เตียงระดับ 2.2 จำนวน 6,000 เตียง
  • เตียงระดับ 3 จำนวน 5,000 เตียง

ผู้ติดเชื้อโอมิครอนที่มีอาการรุนแรงนอนโรงพยาบาล 14 วัน

  • เตียงรองรับโอมิครอน ที่มีอาการรุนแรง 785 คนต่อวัน
  • ผู้ติดเชื้อโอมิครอนพบอาการรุนแรง 1.5% เตียงรองรับ 52,300 คนต่อวัน

ส่วนความพร้อมรองรับผู้ติดเชื้อโอมิครอน กทม.-ปริมณฑล ประมาณการเตียงรองรับผู้ติดเชื้อที่มีความรุนแรง (1,760 เตียง)แบ่งเป็น

  • เตียงระดับ 2.2 จำนวน 1,264 เตียง
  • เตียงระดับ 3 จำนวน 496 เตียง

ผู้ติดเชื้อโอมิครอนที่มีอาการรุนแรงนอนโรงพยาบาล 14 วัน

  • เตียงรองรับโอมิครอน ที่มีอาการรุนแรง 125 คนต่อวัน
  • ผู้ติดเชื้อโอมิครอนพบอาการรุนแรง 1.5% เตียงรองรับ จำนวน 8,300 คนต่อวัน

ส่วนยา สธ.มียาฟาร์วิพิราเวียร์ในระบบสำรองยา 15 ล้านเม็ด และประมาณการว่า จะเพียงพอสำหรับ 2 เดือน ซึ่งกรณีการระบาดภายใน 30 วันต้องใช้ยาเพิ่ม ทางองค์การเภสัชกรรม มีการสำรองวัตถุดิบพร้อมผลิตยาได้ 60 ล้านเม็ดหรือ 30 ล้านเม็ดต่อเดือน ส่วนยาเรมเดซิเวียร์ คงเหลือ 44,064 vial

กทม.มีเตียงรองรับ 25,345 เตียง

ส่วนของกทม. เตรียมความพร้อมของบุคลากร สำรองเตียงพยาบาล ยาเวชภัณฑ์ เครื่องมือทางการแพทย์ หากเกิดการแพร่ระบาดระลอกใหม่ รวมทั้งเสถานที่รองรับผู้ป่วย ซึ่งในส่วนศักยภาพเตียงโรงพยาบาลมีทั้งหมด 25,345 เตียง แบ่งออกเป็น

  • โรงพยาบาลหลัก 2,922 เตียง
  • โรงพยาบาลสนาม 2,898 เตียง
  • Hospitel จำนวน 19,525 เตียง (กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข)
  • ศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ (Community Isolation) 40 แห่ง รองรับผู้ป่วยได้ 5,066 เตียง

สำหรับศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ ปัจจุบันเปิดให้บริการ 3 แห่ง 772 เตียง มีผู้ครองเตียง 50 คน เหลือ 5,016 เตียง ส่วนอีก 37 แห่ง อยู่ในสถานะ Standby Mode พร้อมเปิดให้บริการภายใน 24 ชั่วโมง จำนวน 25 แห่ง 3,062 เตียง พร้อมเปิดบริการภายใน 3 วัน จำนวน 12 แห่ง 1,232 เตียง  

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

"หมอแล็บแพนด้า" เฉลยแล้วใช้ ATK ตรวจน้ำประปาขึ้น 2 ขีด

เพจ "เส้นด้าย" เผยคนหาเตียงโควิดหลักร้อย มากสุดรอบ 3 เดือน

กางแผนรับมือ "โอมิครอน" ระลอกใหม่ เตียง-ยา-บุคลากรพร้อม? 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง