มองปัญหาการศึกษา จ.ยะลา มุ่งสร้างหลักสูตรจังหวัดแก้ให้ตรงจุด

สังคม
7 ม.ค. 65
07:40
526
Logo Thai PBS
มองปัญหาการศึกษา จ.ยะลา มุ่งสร้างหลักสูตรจังหวัดแก้ให้ตรงจุด
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
วงเสวนาวิชาการมองปัญหาการศึกษาเด็กยะลาทั้งปัญหาความยากจน ด้านนักวิชาการมองการเรียนรู้ภาษาไทยที่ยังไม่แข็งแรงแม้จะมีการเรียนรู้มากขึ้น เตรียมสร้างหลักสูตรจังหวัดใช้ฐานพหุภาษาพัฒนายั่งยืน

เมื่อวันที่ 6 ม.ค.2565 ในการเสวนา "วิกฤตทางการศึกษา ทางเลือก ทางรอดของเด็กยะลา" โดยมีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา ผศ.เกสรี ลัดเลีย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นายรอซีดี เลิศอริยะพงษ์กุล นายกสมาคมกรีนเครสเซนต์ ประเทศไทย และ น.ส.รุ่งกานต์ สิริรัตน์เรืองสุข รองปลัดองค์การบริการส่วนจังหวัดยะลา

นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า การศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อยู่ใน 3 อันดับท้ายของประเทศ คือ ลำดับที่ 74, 75, 76 ยะลาอาจจะดีกว่าอีก 2 จังหวัด การพัฒนาทรัพยาการมนุษย์อยู่ในอันดับท้ายๆ ขณะที่ปัญหาเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบและผลผลิตมวลรวมภาคเกษตร 22,000 ล้านบาท จากปี 2558 โดยคนยะลาร้อยละ 80 เหลือผลิตภัณฑ์มวลรวมอยู่ที่ 10,000 กว่าล้านบาท ซึ่งภาคเกษตรได้รับผลกระทบจากราคายางตกต่ำความไม่สงบ ทำให้ยากจนมากขึ้น

จากข้อมูลปี 2562 อยู่ผลิตภัณฑ์มวลรวมของ จ.ยะลา อยู่ที่ 15,000 ล้านบาท ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการศึกษาโดยเฉพาะเด็กที่หลุดออกนอกระบบ ขณะที่ประกอบกับความไม่เข้าใจของผู้ปกครองทำให้เด็กออกนอกระบบมากขึ้น และยิ่งมีสถานการณ์โควิด-19 คาดว่าจะมีเด็กออกนอกระบบเพิ่มขึ้นจำนวนมาก หากแนวทางแก้ไขปัญหาโควิดยังเหมือนเดิม ตัวเลขเด็กออกนอกระบบคงจะเพิ่มขึ้นมากก่าเดิมอย่างมากแน่นอน

ขณะที่ความสามารถในการแข่งขันของ จ.ยะลา คือประสิทธิภาพ ความเสมอภาค และความสามารถในการฟื้นฟูตัวเอง มาจากทรัพยาการธรรมชาติและคน ซึ่งเป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้ หลังการเกิดเหตุความไม่สงบ และเหตุความไม่สงบลดลงก็จะถึงช่วงฟื้นฟู หากไม่ดำเนินการจะทำให้คนหนุ่มสาวออกจากพื้นที่ และเหลือเพียงผู้สูงอายุและจังหวัดจะกลายเป็นเมืองร้าง

นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า ควรเป็นหน้าที่ของคนยะลาทุกคนในการช่วยกันแก้ไขปัญหา แต่วันนี้ความถนัดอาจไม่เหมือนกัน สิ่งที่ต้องเริ่มมาดูคืออะไรคือปัญหาที่สำคัญคือเด็กยากจนที่หลุดจากระบบการศึกษา เช่น ช่วงโควิดผู้ปกครองไม่สามารถ หาอุปกรณ์ในการเรียนออนไลน์ได้ และเป็นภาระ จึงให้เด็กหยุดเรียนเพราะมองว่าปัญหาปากท้องนั้นสำคัญกว่า"

การทำงานไม่ทำเพื่อตัวเราแต่เพื่อสร้างอนาคตให้กับลูกหลาน วันนี้มาช่วยกันวางตั้งแต่วันนี้ จ.ยะลา ควรที่จะหลุดพ้นจากจังหวัดที่อยู่ท้าย ๆ ของประเทศ

ผศ.เกศรี กล่าวว่า วิกฤตการศึกษาของ จ.ยะลา ในปี 2564 มีการออก ออก พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา และ พ.ร.บ.เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ทั้ง 2 ฉบับออกมาในระยะเวลาใกล้เคียงกันและหนุนเสริมกันอย่างมากโดย พ.ร.บ.นวัตกรรมทางการศึกษา ซึ่งมีระยะเวลา 7 ปี ในการทำงานซึ่งมีระยะเวลาค่อนข้างสั้นและสามารถต่อเวลาได้เจตนรมณ์ คือ เจตนาออกมาเพื่อปลดล็อกให้การศึกษายกระดับชีวิตคนได้จริง ๆ จุดไหนที่ติดปัญหาสามารถปลดล็อกได้ โดยมี จ.ยะลา เป็น 1 ใน 8 จังหวัดนำร่อง โดยมีคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา สามารถออกกฎหมายของตนเองเพื่อดูแลโรงเรียนภายใต้พื้นที่นวัตกรรมได้ โดย จ.ยะลา มี 30 โรงเรียนสามารถออกกฎหมายไปปลดล็อกได้ทุกเรื่องทั้งเรื่องบุคลากร สื่อ และวิธีสอนซึ่งเป็นเจตนรมร์ที่ต้องการให้ พ.ร.บ.ตัวนี้แก้ไขปัญหาในหลายๆ อย่าง

ทั้งนี้ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวทำงานมาตั้งแต่ปี 2562 ในปีที่ผ่านมามีการวิเคราะห์ จ.ยะลา พบว่า โรงเรียนนำร่อง 30 โรงเรียนของ จ.ยะลา วิเคราะห์ต้นทุนของโรงเรียน โจทย์ที่เป็นปัญหาเร่งด่วนและวิกฤต โดยจะเชื่อมโยงตัวสมรรถนะและความสามารถในการแข่งขัน คือ 1. ภาษา หลายทีปี่ผ่านมามีความพยายามแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะปัญหาอ่านออกเขียนได้ แต่ยังไม่สามารถใช้ภาษาที่นำไปสู่ความคิดขั้นสูงได้ หรือคิดเชิงวิเคราะห์ได้ แม้ว่าขณะนี้เยาวชนใช้ภาษาไทยดีขึ้นแล้ว

หลายคนมองว่าปัญหาของเรา คือ การใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่ 2 แล้วโยนปัญหาทั้งหมดไปตรงนั้น แต่จากการศึกษาพบว่า การที่เด็กใช้ภาษาแม่ และใช้ภาษาที่ 2 ไม่ว่าจะภาษาใดก็ตาม หรือ ภาษาที่ 3, 4, 5 ไม่ได้ทำให้สมองเด็กเสียหาย เพียงยังหาวิธีการในการคลี่คลายให้เด็กใช้ภาษาแม่อย่างเข้มแข็ง และใช้ภาษา 2,3,4 ให้เข้มแข็งเหมือนกันมากกว่า

ผศ.เกศรี กล่าวว่า หลายคนมากว่าสถานการณ์น่าจะดีขึ้นแล้วเพราะเด็กใช้ภาษาไทยมากขึ้นแล้ว แต่จากการศึกษาพบว่าเด็กใช้ภาษาไทยมากขึ้นแต่อ่อนแอ ไม่มีคุณภาพ ใช้มากขึ้นแต่ไม่ได้หมายความว่าดีขึ้น แต่ยังไม่อยากเชื่อในปรากฏการณ์นี้ทั้งหมด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาเชิงลึกใน 46 โรงเรียนว่า สภาวะการณ์ด้านภาษาที่แท้จริงเป็นอย่างไร การถดถอยของภาษาแม่ถดถอยเร็วกว่าที่คาดจริงหรือไม่ และถดถอยแบบไหนและอะไรที่จะสูญเสียไปพร้อมภาษาแม่ แน่นอนว่าสิ่งที่หายไปพร้อมกับภาษาแม่ คือ ภูมิปัญญา เพราะภาษาแม่มีไว้เก็บกักภูมิปัญญาและถ่ายทอดภูมิปัญญา และหากภาษาแม่สูญเสียภูมิปัญญาก็สูญเสีย ขณะที่ภาษาไทยก็อ่อนแอซึ่งเป็นแบบนั้นจริงหรือไม่

ขณะนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลาอยู่ระหว่างการศึกษาสภาวะการณ์ด้านภาษาร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลาราชนครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยศึกษาสถานการณ์ของภาษาในเด็กยะลา ทั้งภาษาไทยและภาษาแม่และคิดว่าผลการวิจัยจะออกมาในช่วงต้นปี

ภาษาไทยที่เด็กใช้มากขึ้น อาจจะยังไม่น่าดีใจสำหรับบางท่าน เพราะภาษาไทยที่ใช้ไม่ได้บ่งบอกถึงสมรรถนะในการคิด วิเคราะห์ หรือการคิดขั้นสูงเลย ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงและกังวลด้วยซ้ำ หากปล่อยต่อไปจะส่งผลต่อการเรียนรู้ทั้งหมด

โจทย์ต่อไป คือ การศึกษาที่จะนำไปสู่การมีอาชีพและการมีงานทำ ทั้งเรื่องของการเงิน ดิจิทัล และ ตัวสุดท้ายคือจิตวิญญานความเป็นครู ขณะนี้วิกฤตการเรียนรู้ของยะลามีหลายเรื่อง แต่ที่สำคัญมี 2 ด้าน คือ กระบวนการบริหารการจัดการทางการศึกษาซึ่งตองไปปลดล็อกอะไรอีกมาก และผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของเด็กที่ยึดโยงกับภาษา ซึ่งในวิกฤตก็มีโอกาสของ พหุภาษา ด้วยเหมือนกัน วิกฤตในเรื่องของการจะนำไปสู่การที่เด็กจะสามารถทำงานได้จริงหรือไม่ และวิกฤตจิตวิญญานความเป็นครู ซึ่งเราสร้างคนเก่งแต่จะสร้างคนดีได้อย่างไร ซึ่งควรปลูกฝังตั้งแต่ระบบผลิตครู

ทั้งนี้ ควรเสริมสมรรถนะทั้งสมรรถนะกลางและสมรรถนะที่มีเฉพาะเด็กยะลา ดังนั้น สมรรถนะกลางอาจจะเป็เรื่องของภาษา การอยู่ร่วมกับคนอื่นและการอยู่ร่วมกันกับคนอื่น แต่สมรรถนะที่มีเฉพาะเด็กยะลาต้องถามว่ารู้จัก จ.ยะลา ดีขึ้นหรือยัง และสิ่งที่เด็กยะลาควรที่จะรู้ คือควรที่จะรักยะลาหรือไม่ ภาคภูมิใจการเป็นคนยะลาหรือไม่ รู้จักที่จะเติบโตในเศรษฐกิจและสังคมของคนยะลาจริงๆ หรือ ไม่

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของการทำให้กลไกลทั้ง ในส่วนของคณะกรรมการศึกษาระดับจังหวัด คณะกรรมการการศึกษาเชิงพื้นที่ คณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่เชิงนวัตกรรม ให้ทำงานประสานเชื่อมโยงให้ทุกมุมได้ทำงานร่วมกันในเชิงนโยบาย โดยขณะนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จะทำหน้าที่ประสานกลไกลด้านข้อมูลเนื่องจากแต่ละหน่วยงานใช้เฉพาะข้อมูลหน้างานของตนเอง และกลไกลระดับขับเคลื่อนนโยบายในโรงเรียนในทุกประเภท จะต้องประสานงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ได้ หากกลไกลระดับจังหวัดเข้มแข็งและยึดเด็กเป็นตัวตั้งก็จะมีประโยชน์

ผศ.เกศรี กล่าวว่า หากพูดถึงหัวใจของหลักสูตรสมรรถนะ โดยการันตีที่ผลลัพธ์ ยืดหยุ่นเวลา คำนึงถึงความแตกต่างของเด็กรายคน เช่น การันตีผลลัพธ์ว่า เด็กจบ ป.6 ต้องมีสมรรถนะอะไร แต่ระหว่างทางต้องยืดหยุ่น ขณะที่ จ.ยะลา เริ่มแล้วโดยการพัฒนาหลักสูตรจังหวัด โดยลดทอนระยะห่างระหว่างหลักสูตรระดับชาติกับความเป็นชาวยะลา หลักสูตรกลางจะเป็นอย่างไร ที่เด็กยะลาทุกคนเข้าถึงได้ ไม่สนใจสังกัด โดยได้วิสัยทัศน์เบื้องต้นคือ หลักสูตรจังหวัดยะลามุ่งสร้างเด็กให้รักยะลา เป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง ใช้ฐานะพหุภาษา และการเรียนรู้สู่การสร้างอาชีพในสังคมแห่งความสุข

ด้าน นายรอซีดี กล่าวว่า เห็นวิกฤต 4 เรื่อง คือ เด็กบางส่วนเข้าไม่ถึงระบบการศึกษา และภาคประชาสังคมนำเด็กเข้าสู่ระบบ เคยนำเด็กสามารถจบ ป.6 อายุ 16 ปี ทั้งบ้านมีคนเรียนเพียงคนเดียว และเด็กหลุดจากการศึกษา เด็กหลุดจากการศึกษาตั้งแต่ประถมและมัธยมมากที่สุดพบมากที่สุดช่วง ม.2 และวิกฤตนี่ยังอยู่ และหลุดจากความยากจน ตัวเอง หรือสถาพแวดล้อมของสังคม 3.กำลังจะหลุดจากระบบการศึกษา ทั้งไม่อยากเรียน เรียนไม่สนุก และ 3.จบการศึกษาแต่ไม่รู้จะทำอะไร ทั้งหมดนี้คือโจทย์ที่เกิดขึ้นใน จ.ยะลา และ จ.ใกล้เคียง สิ่งที่ท้าทาย คือ ใบกระท่อมเสรี อะไรจะเกิดขึ้นกับเด็กที่หลุดจากนอกระบบเราจะเอาแรงงานที่ไหนมาพัฒนาเมืองยะลา

น.ส.รุ่งกานต์ กล่าวว่า วิกฤตที่เกิดขึ้นหน่วยงานต้องยอมรับว่า ทุกปัญหาในพื้นที่ จ.ยะลา คือ คุณภาพคนที่ใช้เครื่องมือทางการศึกษาในการพัฒนา รวมถึงไม่ได้ทำงานบนฐานข้อมูล และเด็กยะลาอยู่ในพื้นที่เด็กยากจนสูงสุงโดยได้ข้อมูลจากหน่วยงานอื่นเนื่องจากไม่ได้ทำงานบนฐานข้อมูลจึงทำให้แก้ปัญหาไม่ตรงจุด ซึ่งหากแก้ได้ก็สามารถพัฒนาในด้านอื่น ๆ ได้

จริง ๆ เด็กประถมไม่ได้หลุด แต่ไม่ได้เข้าในระบบการศึกษาจากการทำโครงการมา 2 ปี เพราะพบว่า ช่วยเหลือได้เยอะ เพราะค่านิยมในการส่งให้เด็กเรียนยังน้อยจึงต้องสร้างค่านิยมว่าการศึกษาตั้งแต่ประถมวัยคือรากฐานสำคัญ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยะลา เปิด "กองทุนช่วยเด็กด้อยโอกาสด้านการศึกษา-สร้างอาชีพ"

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง