คาด "เดลตาครอน" อาจแค่สิ่งส่งตรวจปนเปื้อนในตัวอย่างเดียว

สังคม
10 ม.ค. 65
18:31
452
Logo Thai PBS
คาด "เดลตาครอน" อาจแค่สิ่งส่งตรวจปนเปื้อนในตัวอย่างเดียว
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ชี้ไทยพบเหลือแค่ 6 จังหวัดคือ น่าน ตาก ชัยนาท อ่างทอง พังงา และนราธิวาสไร้ "โอมิครอน" ส่วนข้อสันนิษฐานเชื้อ "เดลตาครอน"ในไซปรัส อาจยังไม่ใช่สายพันธุ์ใหม่ มีรายงานอาจเกิดจากสิ่งส่งตรวจมีการปนเปื้อน ทำให้พบ 2 สายพันธุ์ในตัวอย่างเดียว

วันนี้ (10 ม.ค.2565) นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโอมิครอนในไทย ภาพรวมพบติดเชื้อสะสม 5,397 คน กระจายไป 71 จังหวัด มีเพียง 6 จังหวัดที่ยังเป็นสีขาวไม่มีรายงานการพบเชื้อ คือ น่าน ตาก ชัยนาท อ่างทอง พังงา และนราธิวาส

ส่วน 10 จังหวัดที่พบเกิน 100 คน ได้แก่ กทม.สะสม 1,820 คน ชลบุรี 521 คน ภูเก็ต 288 คน กาฬสินธุ์ 249 คน ร้อยเอ็ด 237 คน สมุทรปราการ 222 คน สุราษฎร์ธานี 199 คน มหาสารคาม 163 ราย อุดรธานี 149 คน และขอนแก่น 136 คน 

สำหรับชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศแล้วตรวจ RT-PCR ผลเป็นบวก จากการถอดรหัสพันธุกรรมพบเป็นโอมิครอน 90% ส่วนในไทย มีการสุ่มตรวจสัปดาห์ละ 140 ตัวอย่าง เพื่อให้ได้สัดส่วนสถานการณ์จริง

คาดเชื้อ "เดลตาครอน" แค่สิ่งส่งตรวจมีการปนเปื้อน

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ส่วนการพบเชื้อเดลตาครอน ตามที่มีกระแสข่าวในประเทศไซปรัส จากการหรือกับทางจีเสส ข้อมูลถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัวพบว่าใน 24 ตัวอย่าง มีการกลายพันธุ์ทั้งในส่วนที่เป็นเดลตา และโอมิครอนอยู่ด้วยกัน

แต่จากการตรวจเพิ่มพบส่วนที่เป็นโอมิครอน มีความเหมือนกันหมด แต่ว่าส่วนที่เป็นเดลตามีความแตกต่างกันไป ทั้งนี้ถือว่าสำคัญมาก เพราะหากเป็นสายพันธุ์ใหม่จริงๆ จะต้องตรวจทั้ง 2 ฟากเหมือนกันไม่ใช่ตรวจมีแค่ฟากเดียวที่มีความแตกต่าง เพราะเชื้อเดลตามีสายพันธุ์ย่อยถึง 120 สายพันธุ์

 

ไซปรัสสรุปว่า จีเสสยังจัดชั้นการค้นพบเป็นสายพันธุ์เดลตา ไม่ใช่เป็นสายพันธุ์ใหม่ แต่อย่างใด และโอกาสที่จะเกิดได้มากที่สุดคือการปนเปื้อนในสิ่งส่งตรวจ คือติดเชื้อเดลตา แต่ไปปนเปื้อนสารพันธุกรรมของเชื้อโอมิครอน ทำให้พบ 2 สายพันธุ์ในตัวอย่างเดียวกัน

นพ.ศุภกิจ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้สิ่งที่อาจจะเป็นไปได้ แต่ไม่มาก คือการติด 2 สายพันธุ์ ในคนเดียว ซึ่งมีโอกาสน้อยมาก เพราะ 24 ตัวอย่างที่มา พร้อมกันจะเป็นการติดต่อ 2 สายพันธุ์เป็นไปได้น้อย แทบจะไม่มีโอกาสได้เลยที่บอกว่าเป็นตัวใหม่ เป็นสายพันธุ์ใหม่ หรือเป็นลูกผสม เป็นไฮบริดนั้น โอกาสน่าจะเป็นศูนย์ จากที่เจอ แต่กรมวิทยาศาสตร์ฯก็จะติดตามข้อมูลต่อไป

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

"โอมิครอน" 5,397 คนลาม 71 จังหวัด กรมวิทย์ฯ พบกระจายหนัก

สธ.งัด 4 แผนสู้ "โอมิครอน" ปรับแผน ATK ด่านแรกตัดวงจรแพร่เชื้อ

วอน รพ.อย่าปฏิเสธรับเด็กติดโควิด - 2 เด็กป่วยอาการไม่รุนแรง

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง