ดราม่า “ค่าเหยียบแผ่นดิน” อะไรคือ Tourist Tax?

เศรษฐกิจ
14 ม.ค. 65
15:31
3,221
Logo Thai PBS
ดราม่า “ค่าเหยียบแผ่นดิน” อะไรคือ Tourist Tax?
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ถูกปั่น ด้วยความเกลียดชังนโยบายการเมือง ด้อยค่าประเทศ แทบจะกลายเป็นความขบขันในกลุ่มนักท่องเที่ยว และคนทำงานท่องเที่ยว เมื่อเกิดดราม่า ปั่นกระแสตั้งคำถาม “ค่าเหยียบแผ่นดิน” 300 บาท ($9) หรือ 9 ดอลลาร์

เก็บไปทำไป ?
เก็บแล้ว ใครจะมา ?
เก็บแล้วเข้ากระเป๋าใครบ้าง ?
ได้ไม่คุ้มเสีย ?

คงไม่ไปหาคำตอบจากคำถามเหล่านี้ แต่ว่าที่ไหนบ้าง เก็บภาษีจากนักท่องเที่ยว

“ภาษีท่องเที่ยว” แตกต่างจาก “ค่าธรรมเนียมการขอวีซ่า” และ “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” ที่ต้องจ่ายเมื่อซื้อสินค้า หรือ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่เก็บเพิ่มจากนักท่องเที่ยว เช่น ค่าธรรมเนียมการโดยสารขนส่งสาธารณะ สำหรับนักท่องเที่ยว บางประเทศเรียกเก็บต่างจากคนในประเทศ

ค่าธรรมเนียมอุทยานแห่งชาติ หรือ การตั้งแคมป์ ของนักท่องเที่ยวต่างชาติ บางประเทศ ก็เรียกเก็บเพิ่ม มากกว่าคนในประเทศ ประเทศไทยก็มีเรียกเก็บแบบนี้ ที่เก็บค่าธรรมเนียม สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแพงกว่าคนไทย เช่น ค่าธรรมเนียมเข้าพิพิธภัณฑ์

ค่าเข้าอุทยานแห่งชาติบางประเทศ เช่นที่ แทนซาเนีย เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากนักท่องเที่ยว ที่ซื้อสินค้า ถึง 18 %

แต่เมื่อพูดถึงการเรียกเก็บ “ค่าธรรมเนียมนักท่องเที่ยว” หรือ “ภาษีนักท่องเที่ยว” หรือ “ค่าเหยียบแผ่นดิน” มีที่ไหนบ้าง

- ภูฏาน เรียกเก็บ แพงที่สุดในโลก ประมาณ 200-250 ดอลลาร์ ต่อวัน หรือ ประมาณ 8,300 บาท/วัน แต่ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละช่วงของปี ค่าใช้จ่ายนี้ เป็นการเก็บรวมค่าธรรมเนียมต่างๆ ด้วย

- ญี่ปุ่น เก็บภาษีนักท่องเที่ยว ที่เรียกว่า “sayonara tax” จ่ายประมาณ 1,000 เยน หรือ ($ 9.25)

- นิวซีแลนด์ เก็บภาษี 35 ดอลลาร์ นิวซีแลนด์ หรือ ($ 23.94) รวมถึงคนที่มาจาก ออสเตรเลีย

- ฝรั่งเศส เรียกว่า “ taxe de sejour “ ฝรั่งเศส เรียกเก็บภาษี ขึ้นกับเมืองที่ไปท่องเที่ยว เช่น ปารีส หรือ ลียง เป็นต้น

- เยอรมันนี เรียกว่า “ culture tax” หรือ เป็นภาษาเยอรมัน “ kultur for derabgabe “ หรือ “ bed tax” ประมาณ 5 ยูโร ($ 5.67) ต่อคนต่อวัน หรือ รวมอยู่ในค่าที่พัก 5 %

- อิตาลี เรียกเก็บภาษีนักท่องเที่ยว ขึ้นอยู่กับว่า ไปที่เมืองไหน เช่น โรม เก็บภาษี ที่ 3 - 7 ยูโร ($ 3.40 - 7.94) ต่อคืน ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของที่พัก บางเมือง เช่น เมือง Bagnoregio เมืองโบราณที่อยู่บนยอดเขา มีค่าธรรมเนียมเข้าเมือง 5 ยูโร ($ 5.67) เมือง เวนีส เก็บค่าธรรมเนียม 10 ยูโร ($ 11.34) เรียกว่า “luxury tax"

- สเปน เก็บ 4 ยูโร ($ 4.54) คน / วัน และ หากจะไปเมืองมาดริด ต้องมีภาษีนักท่องเที่ยว อีก 2.50 ยูโร ($ 2.84)

- สวิตเซอร์แลนด์ เก็บภาษีขึ้นอยู่กับสถานที่ คิด คน/คืน ประมาณ 2.50 ฟรังสวิส ($ 2.50)

- กรีซ เก็บภาษีนักท่องเที่ยว ตามความหรูหรา ระดับของโรงแรมที่พัก และจำนวนห้องพัก มีอัตราอยู่ที่ 0.50 - 4 ยูโร ($0.57 - 4.54)

- เบลเยี่ยม คำนวนภาษีด้วยราคาห้องพัก และขนาดของโรงแรม ตั้งแต่ 2.39 ยูโร ($2.72) คิดตามจำนวนคนเข้าพักและจำนวนคืนที่พัก

- โรมาเนีย คิดตามอัตรคาการเข้าพักที่โรงแรมเช่นกัน คือ 1 % ของค่าห้องพัก และยังมีค่าธรรมเนียม การเที่ยวในเมือง ค่าธรรมเนียมในแหล่งท่องเที่ยวภูเขา - ทะเล และค่าภาษีความปลอดภัย ที่เรียกว่า “rescure tax”

- สโลเวีย 3.13 ยูโร ($3.55)ต่อคืนในเมืองใหญ่ แต่เรียกเก็บภาษี 1.57 ยูโร ($1.78) สำหรับเด็กเยาวชน อายุ 7-18 หรือ สำหรับคนที่พักในเมืองอื่น ๆ หรือ เมื่อตั้งแคมป์

สรุปแล้ว ในยุโรป ประเทศส่วนใหญ่ ก็เรียกเก็บภาษีนักท่องเที่ยวตามข้อมูลนี้

ประเทศในอาเซียน

- อินโดนีเซีย ถ้าจะไปเที่ยวบาหลี มีภาษีนักท่องเที่ยว 10 ดอลลาร์

- มาเลเซีย มีภาษี 10 ริงกิต หรือ ประมาณ 2.45 ดอลลาร์

- ประเทศไทย จะเรียกว่า “ค่าเหยียบแผ่นดิน “ หรือไม่ แต่ก็เป็นภาษี ที่เรียกเก็บจากนักท่องเที่ยว ตั้งแต่ 1 เม.ย.2565 เพื่อไปพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และทำประกันให้แก่นักท่องเที่ยว กรณีประสบอุบัติเหตุหรือเสียชีวิต จะได้รับวงเงินสูงสุด 1 ล้านบาท หรือ ค่ารักษาพยาบาล ได้รับสูงสุด 5 แสนบาท

ข่าวที่เกี่ยวข้อง