"สะพานพระราม 6" โครงเหล็กทรุดตัว-งดเดินรถไฟสายใต้ 3 ขบวน

อาชญากรรม
24 ม.ค. 65
16:33
434
Logo Thai PBS
"สะพานพระราม 6" โครงเหล็กทรุดตัว-งดเดินรถไฟสายใต้ 3 ขบวน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
รฟท.เร่งซ่อมโครงเหล็กสะพานพระราม 6 ทรุดตัวเคลื่อนตัวจากจุดเดิมประมาณ 7 ซม.กระทบเดินรถไฟสายใต้ในช่วงบ่าย 3 ขบวนไป สุไหงโก-ลก รถไฟด่วนพิเศษกรุงเทพ-หาดใหญ่ และรถด่วนกรุงเทพ-ตรัง

วันนี้ (24 ม.ค.2565) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.30 น.ได้รับแจ้งเหตุจากนายสถานีบางซื่อ สะพานพระราม 6 ทรุดตัว ทำให้ขบวนรถไม่สามารถผ่านไปมาได้ จึงขอปิดทางขึ้นและล่อง ระหว่างบางซ่อน-บางบำรุง 

ทั้งนี้ทาง รฟท.ทำการขนถ่ายผู้โดยสารทางรถยนต์แทน ซึ่งมีผลกระทบต่อขบวนรถด่วนที่ 84 (ตรัง-กรุงเทพ) กำหนดถึงสถานีบางบำหรุ เวลา 10.40 น. ล่าช้า 76 นาที 

นายฐากูร อินทรชม ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า ได้รับรายงานเบื้องต้นว่าช่วงสายวันนี้ เกิดเหตุการณ์โครงเหล็กด้านบนของสะพานพระราม 6 เคลื่อนตัวจากจุดเดิมประมาณ 7 ซม. ขณะนี้อยู่ระหว่างการซ่อมแซม และประเมินสถานการณ์ว่าจะซ่อมแซมแล้วเสร็จภายในวันนี้หรือไม่

ช่วงบ่ายมีขบวนรถไฟ 3 ขบวนที่ต้องใช้เส้นทางผ่านสะพาน และไม่สามารถเคลื่อนขบวนผ่านไปได้ ประกอบด้วย รถเร็วขบวนรถเร็วที่ 171 กรุงเทพ-สุไหงโก-ลก ขบวนรถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์ที่ 31 กรุงเทพ-หาดใหญ่ และ ขบวนรถด่วนที่ 83 กรุงเทพ-ตรัง

 

 

สำหรับสะพานพระราม 6 เป็นสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา แห่งแรกของไทย ลงนามในสัญญาก่อสร้างเม.ย.2465 และสร้างแล้วเสร็จ ธ.ค.2469 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่าสะพานพระราม 6 ซึ่งหมายถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 และโปรดเกล้าฯ ประกอบพิธีเปิดสะพานให้ขบวนรถไฟเดินผ่านข้ามเป็นปฐมฤกษ์ในวันที่ 1 ม.ค.2469 

ทั้งนี้ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 สะพานได้ถูกกองทัพสหรัฐ และอังกฤษทิ้งระเบิดอย่างหนัก ในที่สุดช่วงกลางสะพานขาดเมื่อ 7 ก.พ.2488 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง