"บึ้งปล้องไผ่พระเจ้าตากสิน" ชนิดใหม่ของโลกรอบ 104 ปีของเอเชีย

สิ่งแวดล้อม
4 ก.พ. 65
11:31
3,126
Logo Thai PBS
 "บึ้งปล้องไผ่พระเจ้าตากสิน" ชนิดใหม่ของโลกรอบ 104 ปีของเอเชีย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ทีมวิจัยคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ "โจโฉ" ยูทูบเบอร์ชื่อดังค้นพบ "บึ้งปล้องไผ่พระเจ้าตากสิน" ที่ จ.ตาก โดยถือเป็นการค้นพบในรอบ 104 ปีของเอเชีย เป็นสกุลใหม่ของโลกที่พบโดยคนไทยครั้งแรก ลักษณะพิเศษเป็นบึ้งที่อาศัยอยู่กับต้นไผ่เท่านั้น

วันนี้ (2 ก.พ.2565) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทีมนักวิจัยจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น แถลงข่าวการการค้นพบบึ้งต้นไม้สกุลใหม่ของโลก "บึ้งปล้องไผ่พระเจ้าตากสิน" Taksinus bambus ซึ่งถูกค้นพบเป็นครั้งแรกที่ จ.ตาก 

การค้นพบดังกล่าวนำโดยดร.นรินทร์ ชมภูพวง อาจารย์ประจำสาขาวิชากีฏวิทยาและโรคพืชวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ หัวหน้าคณะวิจัยนายชวลิต ส่งแสงโชติ นักแมงมุมวิทยาจากคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนายทรงธรรม สิปปวัฒน์ (โจโฉ) ยูทูบเบอร์ชื่อดัง ซึ่งเป็นผู้ค้นพบบึ้งดังกล่าว และ นายวุฒิไกร ใข่แก้ว นักวิชาการอิสระ

ภาพ:คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ภาพ:คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ภาพ:คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ค้นพบในรอบ 104 ปีของเอเชียสกุลใหม่ของโลก

สำหรับบึ้งพันธุ์ใหม่ชนิดนี้มีชื่อว่า Taksinus bambus หรือ "บึ้งปล้องไผ่พระเจ้าตากสิน" ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกที่จังหวัดตาก รายละเอียดได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัยชื่อดังทางด้านสัตววิทยา Zookeys เมื่อวันที่ 4 ม.ค.2565 โดยได้ทำการตั้งสกุลนี้ เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

นอกจากนี้ลักษณะนิเวศวิทยาของบึ้งชนิดนี้มีความพิเศษ เนื่องจากเป็นบึ้งชนิดแรกในโลกที่มีการดำรงชีวิตอยู่เฉพาะต้นไผ่เท่านั้นนสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร ถือว่าเป็นการดำรงชีวิตที่แปลก และสร้างความน่าประหลาดใจแก่วงการวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นการค้นพบบึ้งสกุลใหม่ของเอเชียในรอบ 104 ปี นับตั้งแต่ปี 2460 และยังเป็นครั้งแรกของโลกที่มีการค้นพบบึ้งสกุลใหม่จากประเทศไทยโดยคนไทย

สำหรับบึ้ง จากการศึกษานิเวศวิทยาได้แบ่งบึ้งออกเป็น 2 กลุ่ม ตามลักษณะการดำรงชีวิตคือ “บึ้งดิน” มีลักษณะอาศัยบนพื้นดินโดยการขุดรูลึกลงไปในโพรงดิน และ “บึ้งต้นไม้” โดยจะอาศัยภายในรูหรือโพรงของต้นไม้ ส่วนบึงที่ค้นพบในไทยพบอาศัยในต้นไผ่ 

ภาพ:คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ภาพ:คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ภาพ:คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

ภาพ:คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ภาพ:คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ภาพ:คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง