"มงคลกิตติ์" ชี้รัฐบาลแก้ปัญหา "หมู-น้ำมันแพง " ล่าช้า

การเมือง
17 ก.พ. 65
15:02
227
Logo Thai PBS
"มงคลกิตติ์" ชี้รัฐบาลแก้ปัญหา "หมู-น้ำมันแพง " ล่าช้า
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"มงคลกิตติ์" อภิปรายรัฐบาลปมแก้ปัญหาหมูแพง ล่าช้า ชี้ 3 เดือน "นักการเมือง-เจ้าสัว" ฟันกำไรส่วนต่างกว่า 1.8 หมื่นล้านบาท ขณะที่แก้ปัญหาราคาน้ำมันแพงล่าช้าทำประชาชนเดือดร้อนหนัก ขณะที่นายกฯไม่เดือดร้อนเหตุอยู่บ้านหลวงใช้รถน้ำมัน ค่าน้ำไฟ-ฟรี

วันนี้ (17 ก.พ.2565) นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ พรรคไทยศรีวิไลย์ อภิปรายทั่วไป เพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อ ครม. โดยระบุ ถึงปัญหาราคาหมูแพงซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ดูแลเศรษฐกิจ นายจุรินทร์ ลักษณ์วิศิษฎ์ และ  นายประภัตร โพธสุธน รมช.เกษตรและสหกรณ์ ซึ่งกำกับดูแลกรมปศุสัตว์ ร่วมกันทุจริต กักตุนหมูจนทำให้หมูแพง กระทบค่าครองชีพประชาชน โดยระบุว่า

คนไทยบริโภคสุกรเฉลี่ยวันละ 50,000 ตัว กำลังการผลิตสุกรวันละ 40,000 ตัว ขาดอยู่ 10,000 ตัว หรือ เฉลี่ยปีละ 18 ล้านต้ว ผลิตได้ 14.4 ล้านตัว ขาด 3.6 ล้านตัว ถือว่า เป็นเรื่องวิกฤต โดยราคาก่อนมีปัญหาขาดแคลนอยู่ที่ กก.ละ 72.71 บาท ขณะที่สุกกรแช่แข็งกก.ละ 122.76 บ. โดยเนื่องมาจากโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) รวมถึงปัญหาโควิด-19 ทำใหม่ผู้บริโภคน้อย ขณะที่ตลาดผู้เลี้ยงสุกร ทั้งหมด 18 ล้านตัว เป็นฟาร์มเอกชนจำนวน 5 ล้านตัวต่อปี หรือ 27.77 % ขณะที่นอกนั้นเป็นฟาร์มของนักการเมืองในแต่ละจังหวัด และเกษตกรรายย่อยกว่า 63.33 %

ชี้แก้ปัญหาASF ระบาดล่าช้า

นายมงคลกิตติ์ ยังกล่าวว่า สถานการณ์โรค ASF เข้ามาตั้งแต่ปี 2562 โดย ครม.รับทราบเรื่องดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 9 เม.ย.2562 โดย ครม.อนุมัติงบประมาณในการเฝ้าระวังจำนวน 53 ล้านบาท ต่อมาในเดือน ม.ค.2563 และอนุมัติงบ 523 ล้าน ในเดือน ก.พ.2564 อนุมัติงบกลาง 279 ล้านบาท ในเดือน มี.ค.2564

ต่อมา องค์การอาหารและเกษตรกรรมแห่งสหประชาชาติ (FAO) แจ้งว่า โรค ASF มีการระบาดในเอเชีย ขณะที่กรมปศุสัตว์ยืนยันว่า ไทยไม่มีการระบาดในเดือน มี.ค.2564 ต่อมาในเดือน มิ.ย.2564 มีรายงานจากหลายจังหวัดว่า พบมีการระบาดของโรค ASF ใน จ.สระแก้ว จ.ฉะเชิงเทรา จ.ชลบุรี จ.ระยอง และหนักสุดใน จ.ราชบุรี

ทำไมกรมปศุสัตว์จึงไม่มีรายงานว่า โรค ASF ระบาดในไทยตั้งแต่ปลายปี 2562 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีรายงานจากนายสัตวแพทย์กิจจา อุไรรงค์ คณะสัตวแพทย์ ม.เกษตรฯ ยืนยันว่า มีการพบ ASF ในไทยตั้งแต่ปลายปี 2562 ซึ่งเป็นซากหมูที่ลอยมาจากแม่น้ำโขง จึงอยากถามไปยังอธิบดีกรมปศุสัตว์ และ รมช.เกษตรฯทำไมจึงต้องปกปิดข้อมูลทำให้การแก้ไขปัญหาล่าช้า หรือปกปิดเพราะกลัวกระทบฟาร์มเจ้าสัวใหญ่หรือไม่ "

3 เดือน "เอกชน-นักการเมือง" ฟันกำไร 1.8 หมื่นล้าน

นายมงคลกิตติ์ ยังกล่าวว่า ราคาสุกรเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง โดย ในเดือน ส.ค.2564 ราคาสุกรมีชีวิตอยู่ที่ 68 -78 บ./กก ขายปลีก 254 บ./กก. จนปลาย ธ.ค.2564 ราคาสุกรมีชีวิต 100 บ./กก. ขายปลีก 200 บ./กก. ขณะที่เดือน ม.ค.2565 ราคาสุกรมีชีวิตอยู่ที่ 110 บ./กก. ขายปลีก 218 บ./กก. ซึ่งราคาสูงมาก

ขณะที่ กระทรวงพาณิชย์ และกรมปศุสัตว์จับสุกรแช่แข็ง ได้ 2 ราย จากนั้นไม่มีการจับเพิ่มเติม แต่ประชาชนยังเดือดร้อน โดย ราคาขายปลีกหมูเนื้อแดง วันที่ 8 ส.ค.2564 154 บ./กก. ขณะที่ วันที่ 25 ม.ค. 220 บ./กก. โดยในช่วง 6 เดือน ราคาเพิ่มขึ้น 66 บ./ กก.หรือเพิ่ม 42.8 % ขณะที่ ในช่วงเวลา 3 เดือน เจ้าสัวรายใหญ่ นักการเมืองที่เลี้ยงหมูในแต่ละจังหวัดได้กำไรจากส่วนต่าง 42 บ./กก.ในช่วง 3 เดือน หรือ กว่า 18,900 ล้านบาท

นายมงคลกิตติ์ ยังกล่าวว่า ถามนายกฯในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจว่าทราบล่วงหน้าว่า ผลผลิตสุกรเสียหายจาก ASF และน้ำท่วม โรคระบาด กระทบเกษตรกรรายย่อย เลิกกิจการจำนวนมาก และต้นทุนอาหารสัตว์สูง ขณะที่ความต้องการทรงตัวในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ทำไมนายกฯไม่วางแผนอะไรเลย และ ต้นทุนราคาอาหารสัตว์เพิ่มทไมไม่มีมาตรการแก้ไข ทำไมนิ่งเฉยและทราบดีว่ารายย่อยไปไม่ไหวทำไมไม่หาเงินทุนมาช่วยพยุงให้เลี้ยงสุกรต่อได้

รวมถึงการที่ นายกฯทราบว่า ปัจจุบันที่สุกรติดเชื้อจำนวนมากทำไมไม่เร่งให้นายประภัตร เร่งแก้ไขปัญหา ซึ่งบกพร่องหรือไม่ จนทำให้สุกรขาดตลาดไป 20 % และนายจุนรินทร์ เหตุใดจึงไม่มีมาตรการนำเข้าสุกรเพื่อรักษาระดับราคาสุกรไม่ให้ราคาสุกรสูงขึ้นทั้งที่กำกับกรมการค้าภายในจนกระทั่งเกิดกระทบต่อประชาชน 

นายมงคลกิตติ์ ยังระบุว่า ผู้ที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ได้แก่ 1.กรมปศุสัตว์ที่ไม่ยอมรับ หรือ ยอมรับล่าช้าว่า ฟาร์มใหญ่มีการติดโรค ASF โดยชะลอปัญหา หรือ กลัวว่าฟาร์มเอกชนรายใหญ่จะเสียผลประโยชน์หรือไม่ 2.กรมการค้าภายในที่ควบคุมราคาสุกรล่าช้า การจับกุมการกักตุนพอเป็นพิธี เป็นการเอื้อประโยชน์หรือใหม่ 3.นายประภัทร ที่กำกับดูแลกรมปศุสัตว์มัวทำอะไร และยังตอบคำถามไม่ชัดเจน 4.นายจุรินทร์ ในฐานะกำกับกรมการค้าภายในมัวทำอะไร การทำแบบนี้ถือว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ ซึ่งทั้งหมดอยู่ในความรับผิดชอบของนายกฯ ซึ่งยากจะเลี่ยงการรับผิดชอบ

คนไทยเดือดร้อนน้ำมันแพงยกเว้น นายกฯ

นายมงคลกิตติ์ยังอภิปรายถึงปัญหาราคาน้ำมัน ซึ่งดูแลโดยนายสุพัฒนพงศ์ พันธุ์มีเชาว์ รองนายกฯและ รมว.พลังงาน โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันแพงที่ล่าช้า 

"นายกฯเคยถามว่า มีคนเดือดร้อนเรื่องน้ำมันเยอะหรือไม่ ผมบอกว่า คนไทยเดือดร้อนทุกคน หรือ กว่า 66.19 ล้านคน ยกเว้นนายกฯเพราะมีสวัสดิการมากกว่าประชาชน เพราะใช้รถหลวงฟรี น้ำมันฟรี คนขับรถฟรี ค่าบ้านหลวงฟรี ค่าไฟฟ้าฟรี ค่าพลทหาร ตัดหญ้า ทุกอย่างฟรีหมด ขณะที่ประชาชนเสียทุกอย่าง"

นายมงคลกิตติ์ ยังอภิปรายถึงกรณีการทุจริตถุงมือยาง 2,000 ล้าน กรณีการวางมัดจำของ องค์การคลังสินค้า (อคส.)ว่า มีความคืบหน้าอย่างไร เนื่องจากทราบว่า อคส.ตัดสินว่ามี ข้าราชการ 4 คนที่กระทำความผิด ซึ่งนายจุรินทร์ รองนายกฯเคยอภิปรายว่า เป็นเพียงบุรุษไปรณีย์มีหน้าที่เสนอชื่อผู้อำนวยการ อคส.เข้าสู่การพิจารณาเท่านั้น นายกฯและครม.เป็นผู้อนุมัติ ท่านจึงไม่ต้องรับผิดชอบ แต่หากเทียบกับกรณีของตนเองที่เสนอชื่อบุคคลเข้าไปเป็นที่ปรึกษา กมธ.วิสามัญยังถูกตรวจสอบ ซึ่งมาตรฐานแตกต่างกันหรือไม่

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นการจัดซื้อจัดจ้างวิทยุสื่อสาร กระทรวงมหาดไทย วงเงิน 4,300 ล้านบาท จำนวน 75,968 เครื่อง เฉลี่ยเครื่องละ 53,700 บาท บวกอุปกรณ์มาตรฐาน 145 ชุด ซึ่งผู้ได้สัมปททาน จาก ก.มหาดไทย คือ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT และไปประมูลต่อมาโดยได้ บ.สามารถดิจิทัล ปัจจุบันอยู่ระหว่างการส่งมอบของในเวลา 120 วัน ซึ่งมีความน่าเคลือบแคลงว่าจะผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ ขณะที่ กรณีรภไฟฟ้าสายสีเขียวอยากให้ ครม.ทบทวนให้ดี หากให้ กทม.ทำจะถูกกว่าหรือไม่ หากดึงดันตนเองจะดำเนินคดีทุกคน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง