"อาคม" เผยปรับเพดานหนี้ 70% รองรับใช้หนี้-ฟื้นฟู ศก.ช่วงโควิด

การเมือง
17 ก.พ. 65
21:37
462
Logo Thai PBS
"อาคม" เผยปรับเพดานหนี้  70% รองรับใช้หนี้-ฟื้นฟู ศก.ช่วงโควิด
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"อาคม" เผยจำเป็นปรับเพดานหนี้ 70% รองรองการชำระหนี้ช่วงโควิด-19 ชี้ กรอบหนี้สูงขึ้นในช่วงวิกฤตครั้งใหญ่เท่านั้น ทุกประเทศมีภาระหนี้เพิ่มสูงขึ้นเหมือนกันหมด

วันนี้ (17 ก.พ.2565) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ชี้แจงกรณีการอภิปรายประเด็นหนี้สาธารณะว่า หากย้อนไป 25 ปี ในช่วงเกิดวิกตต่าง ๆ คือ ตั้งแต่ ช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง การก่อหนี้สาธารณะต่อจีพีดีที่สูงมี 3 จุด โดยในแต่ละช่วงก็จะขึ้นอยู่กับปัญหาเศรษฐกิจในขณะนั้น

หนี้ต่อจีดีพีสูงช่วงวิกฤตครั้งใหญ่ 

จุดแรกคือ ในปี 2543 ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากวิกฤตต้มยำกุ้ง ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์และวิกตการเงิน โดยมีหนี้สาธารณะต่อจีดีพีอยู่ที่ 59 .98 % เกือบ 60 จากเดิมในปี 2542 อยู่ที่ระดับ 47.84 %

จุดที่ 2 ในปี 2552 วิกฤตซับไพร์ม ของสหรัฐฯ ที่ส่งผลกระทบต่อไทย ทำให้หนี้สาธารณะะอยู่ที่ 42.36 % ต่อจีพีดี เพิ่มจากปี 51 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 34.95 %

จุดปี 2563 64 วิกฤตโควิด-19 หนี้สาธารณะต่อจีดีพีอยู่ที่ 59.57 % ส่วนที่เพิ่มมาค่อนข้างมากเพราะมีความจำเป็นต้องมาแก้ปัญหาโควิด-19 แผนงานการแพทย์ การเยียวยา ชดเชย บรรเทา และช่วยเหลือแบ่งเบา และการฟื้นฟูเศรษฐกิจ

นายอาคมยังระบุว่า มีการปรับเพดานหนี้สาธารณะตามกฎหมายอยู่ตลอดเวลา โดยในปี 2545 ตามกรอบหนี้สาธารณะจะอยู่ที่ 65 %ใกล้เคียงกับปีนี้ที่ขนาดจาก 60 % เป็น 70 % เมื่อวิกฤตผ่านพ้นก็จะปรับเพดานหนี้ลงมาตามลำดับ

ในปี 2545 กรอบเพดานหนี้สาธารณะอยู่ที่ 65 % ในปี 2546 กรอบเพดานหนี้สาธารณะอยู่ที่ 60 % ปี 2547 กรอบเพดานหนี้สาธารณะอยู่ที่ปรับมาที่ 55 % ปี 2548 กรอบเพดานหนี้สาธารณะอยู่ที่ 50 % ดังนั้นเมื่อเจอวิกฤตจึงได้ปรับกรอบเพดานหนี้สาธารณะขึ้นมาอยู่ที่ 60 และใช้มาถึงปี 2564 ที่มีการปรับจาก 50-60 % ในปี 53 เพราะเศรษฐกิจอยู่ในภาวะปกติแล้ว ซึ่งการกู้เงินเพื่อการลงทุนในการโครงการของรัฐ นอกเหนือจากการกู้มาชดเชยการขาดดุลทางงบประมาณ

ปรับเพดานหนี้รองรับการใช้หนี้ช่วงโควิด 

รมว.คลัง ยังระบุว่า การปรับมากรอบเพดานหนี้สาธารณะต่อจีดีพีมาอยู่ที่ 70% เพื่อรองรับภาวะการใช้หนี้และขนาดของเศรษฐกิจ ซึ่งไมได้หมายความว่าจะต้องกู้เต็มเพดาน ภาระหนี้ขึ้นอยู่กับขนาดเศรษฐกิจและขนาดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจของไทย เช่นปี 2540 ที่กระทบหนักไปจนถึงรากหญ้า

แต่ปี 2563-64 เกิดวิกฤตจากแพร่ระบาดทั่วโลก มีการจำกัดการเดินทาง และ การชะงักของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)ทั้งในแง่ของคนและสินค้า ซึ่งการจำกัดการเดินทางกระทบภาคการท่องเที่ยว ซึ่งคิดเป็น 18 % ของจีดีพี โดยเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ 12 % หรือราว 40 ล้านคน ซึ่งในปี 2562 - 63 นักท่องเที่ยวหายไปรายได้จึงหายไปด้วย รวมถึงการจำกัดการเดินทาง ก็กระทบการท่องเที่ยวในไทยเช่นกัน โดยหายไป 6 % ซึ่งได้ส่งผลกระทบมายังภาระหนี้ของเอกชนและโรงแรมที่อยู่ในภาคการท่องเที่ยว ก็กระทบห่วงโซ่อุปทานเช่น เมื่อ โรงแรมปิดให้บริการ สินค้า อาหาร ดอกไม้ที่ขายให้โรงแรมก็กระทบไปยังภาคการเกษตร ดังนั้นขนาดผลกระทบก็ขึ้นอยู่กับขนาดของเศรษฐกิจซึ่งปี 2540 กับปี 2564 ต่างกัน ที่กู้ครั้งแรก 1 ล้านล้านบาท ครั้งที่ 2 กู้จำนวน 5 แสนล้านบาท ซึ่งมากกว่าปี 2540

นอกจากนี้ หลังวิกฤตซับไพร์มเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้นในปี 2553 ได้ปรับเพดานหนี้สาธารณะขึ้นเพื่อปรับให้มีการกู้เงินเพื่อให้มีการพัฒนาโดยเฉพาะโครงการรัฐบาล หากเทียบกับต่างประเทศ ภาระหนี้ที่เกิดขึ้นในช่วงโควิด-19 ทุกประเทศเจอเหมือนกันหมด ธนาคารโลก กองทุนระหว่างประเทศใช้นโยบายการคลังโดยให้รัฐบาลเป็นผู้ใช้จ่าย และนโยบายการเงินจะไม่ใช้นโยบายแบบตึงตัว ในช่วง 2 ปี การทำงานระหว่างนโยบายการเงินการคลังสอดประสานกันทำให้รัฐบาลทั่วโลกมีความสามารถจ่ายเงินด้วยการกู้เงินต่าง ๆ

"ญี่ปุ่น" หนี้ต่อจีดีพีมากสุดในเอเชีย 230 %

กลุ่มประเทศเอเชีย ประเทศที่มีหนี้สาธารณะสูงสุด คือ ประเทศญี่ปุ่น โดยอยู่ที่ 237.29 % ต่อจีดีพี ประเทศจีนอยู่ที่ 71.72 % สิงคโปร์อยู่ที่ 158 % มาเลเซียอยู่ที่ 78.80 % สหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 117 % สหราชอาณาจักรอยู่ที่ 104 % เยอรมนีอยู่ที่ 68.56 % ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยสิ่งที่มีการพูดในเวทีการรมว.คลังทั่วโลกและอาเซียน หรือ ความยั่งยืนทางการคลังถือเป็นประเด็นหลัก หลังผ่านช่วงสถานการณ์โควิด -19 กลับมาดูว่า การกู้ในปี 62563 -64 จะทำอย่างไร โดยจะสามารถชำระหนี้ได้และดำเนินการนโยบายต่าง ๆโดยไม่ต้องกู้หนี้ยืมสินเพิ่ม

นายอาคม ยังกล่าวว่า ในจำนวนหนี้ 59.57 % ต่อจีดีพี ของไทยนั้นเป็นหนี้รัฐบาลที่เป็นภาระงบประมาณ 85 % ยอดหนี้ ณ 31 ธ.ค.64 อยู่ที่ 9.64 ล้านล้านบาท หรือ 85 % ของ9.64 ล้านล้านบาท คือ 8.17 ล้านล้านบาท ซึ่งภาระที่ต้องตั้งงบใช้คืนทั้งต้นล้านดอก ส่วนอีก 1.5 ล้านล้านบาทเป็นหนี้ที่ไม่เป็นภาระงบประมาณ ซึ่งอยู่ที่รัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นหนี้ที่รัฐบาลค้ำประกันและไม่ค้ำประกันและรัฐบาลกู้เพื่อให้รัฐวิสาหกิจกู้ต่อ และกองทุนเอฟไอดีเอฟ ยอดคงค้าง 6.9 แสนล้านบาท โดยหนี้นี้มีการชำระทั้งต้นและดอกอยู่ตลอดเวลาการ ลดได้ปีละประมาณ 1 แสนล้านบาทใช้เวลาประมาณ 8-9 ปีจะใช้หนี้หมด

ดังนั้น การบริหารหนี้ต่างประเทศมี 3 ประเด็นที่ต้องบริหารอย่างรอบคอบ ดังนี้ 1.ความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน 2.อัตราดอกเบี้ย 3.การปรับโครงสร้างหนี้ ไม่ว่าจะเป็นการยืดเวลาชำระหนี้ การชำระหนี้ก่อนกำหนด และภาระเรื่องเงินกู้ตาม พ.ร.ก.จำนวน 1.5 ล้านล้านบาท ก็จะถูกบวกมาในภาระหนี้เนื่องจากมีความจำเป็นในการขยายเพดานหนี้เพื่อชดเชยขาดดุลงบประมาณและกู้มาเพื่อพัฒนา

นอกจากนี้ 4 ประเด็น 1.สต็อกหนี้ มีเท่าไหร่ ไม่อยากกู้มาก โครงการลงทุนภารครัฐ โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน โดยให้เอกชนมาร่วมลงทุน (ppp) ทิศทางในอนาคต องค์การระหว่างประเทศเริ่มพูดถึง (Green Invesment) การออกพันธบัตรต้องเป็นเรื่องของสนับสนุนโครงการสีเขียว และการปรับปรุงระบบการแพทย์และสาธารณสุขหลังจากโควิด-19 ในเรื่องสต็อกของหนี้จะมีมากหรือน้อย อันนี้ต้องกู้มาชดเชยงบประมาณ

2.ฐานรายได้ คือ จีดีพีจะเติยโตแค่ไหนในปี 2565 คาดการณ์ไม่เฉพาะภาครัฐ ภาคเอกชน ก็คาดว่าจะฟื้นตัวช้า (Slow recovery) หากฐานจีพีดีเพิ่มก็จะมีรายได้เพิ่ม และรายได้มาจากเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจมีโครงการอีอีซี และสนับสนุน 12 อุตสาหกรรม เมื่อจีพีดีขยายฐานการจัดเก็บรายได้ใหม่ควรที่จะมีอะไรบ้าง ทั้งในเรื่องประสิทธิภาพและการขยายฐานภาษีของประเทศ

3.ความจำเป็นในการปรับโครงสร้างบประมาณ ความยั่งยืนทางการคลัง ในระยะยาวต้องปรับโครงการงบประมาณหนี้จะลดลง เนื่องจากการจัดสรรงบประมาณไปชำระต้นกับดอกในปี 2563 มีความจำเป็นเพราะวิกฤตเอาเงินจัดไว้แล้วยังสามารถเจรจายืดเวลาชำระหนี้ได้นำไปใช้ในส่วนโควิดก่อน

4.ขีดความสามารถในการชำระหนี้ หากจีดีพีเพิ่ม สามารถส่งออกเพิ่มได้ ความสามารถในการชำระหนี้จะดีขึ้นและภาระหนี้ก็จะน้อยลง โดย ภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้นนอกที่เหนือจากความจำเป็นในการลงทุนยอดหนี้ที่สูงนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย โดยจะเกิดในช่วงที่มีวิกฤตเศรษฐกิจเท่านั้น หากมองไป 25 ปี มีเพียง 3 จุด และในขณะนี้ใหญ่กว่าอดีตเพราะเกิดจากฐานรากและถูกจำกัดการเดินทาง แตกต่างจากวิกฤต 2 ครั้งที่ผ่านมา 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

"ศิริกัญญา" เชื่อ ศก.หลังโควิดไร้อนาคต งบฟื้นฟูฯ 7.7 หมื่นล้านไร้ประสิทธิภาพ 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง