ปลัด สธ.สั่งสสจ.-รพ.ทั่วประเทศ รับมือโควิดยอดรวม 32,968 คน

สังคม
22 ก.พ. 65
09:41
272
Logo Thai PBS
ปลัด สธ.สั่งสสจ.-รพ.ทั่วประเทศ รับมือโควิดยอดรวม 32,968 คน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ปลัดสธ.ทำหนังสือด่วนที่สุดถึง สสจ.โรงพยาบาลทั่วประเทศ เตรียมรับมือผู้ป่วยโควิด-19 หลังตัวเลขผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนเพิ่มอย่างรวดเร็ว ยอดรวมวันนี้สูงถึง 32,968 คนแบ่งเป็นผลตรวจที่รายงานโดยศบค.18,236 คน และผล ATK ที่กรมควบคุมโรครายงาน 14,605 คน

วันนี้ (22 ก.พ.2565) ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่เพิ่ม  18,363 คน จำแนกเป็นผู้ป่วยจากในประเทศ 18,236 คน ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 127 คนผู้ป่วยสะสม 526,126 คน (ตั้งแต่ 1 ม.ค.65) หายป่วยกลับบ้าน 15,651 คน หายป่วยสะสม 389,302 คน (ตั้งแต่ 1 ม.ค.65) ผู้ป่วยกำลังรักษา 169,074 คน เสียชีวิต 35 คน

ขณะที่กรมควบคุมโรค รายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อจากการตรวจ ATK จำนวน 14,605 คน ยอดสะสม 608,851 คน โดยผู้ป่วยวันนี้มีอาการปอดอักเสบ 827 คน และต้องใส้ท่อช่วยหายใจ 214 คน ทั้งนี้หากรวมตัวเลขการตรวจจาก RT-PCR ที่ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานเท่ากับตัวเลข 32,968 คน

ส่วนการการให้บริการวัคซีนโควิด-19 สะสมอยู่ที่ 121,989,737 โดส แบ่งเป็นเข็มที่ 1 ฉีดสะสม 53,180,882 โดส เข็มที่ 2 ฉีดสะสม 49,497,055 โดส เข็มที่ 3 ฉีดสะสม 17,806,551 โดส เข็มที่ 4 ฉีดสะสม 1,505,249 โดส  

 

ส่งหนังสือสสจ.-รพ.รับมือโควิด

โดยเมื่อวานนี้ ( 21 ก.พ.) นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขกรณีโรคติดเชื้อโควิด-19 ลงนามในหนังสือด่วนที่สุด ที่สธ.(ศปค.) 0248/44 เรื่อง การเตรียมการสำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ส่งถึงนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป 

หนังสือดังกล่าวระบุว่า สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิดทั่วโลก ที่มีการระบาดอย่างรวดเร็ว สำหรับในประเทศไทย พบว่าขณะนี้ตรวจพบการติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว เพื่อให้การดูแลผู้ติดเชื้อโควิดเป็นไปด้วยความเรียบร้อยมีประสิทธิภาพ ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคโควิด ขอให้ดำเนินการ ดังนี้

  • เตรียมความพร้อมด้านทรัพยากร เตียง บุคลากรทางการแพทย์ และระบบการดูแลรักษาแบบ Home Isolation (HI) หรือ Community Isolation (CI) รวมทั้งการรับผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล (Admit) ในกรณีที่มีอาการมากและรุนแรง
  • ประชาสัมพันธ์หมายเลขโทรศัพท์ของจังหวัด และโรงพยาบาลทุกแห่ง เพื่อให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจที่จะเข้าถึงระบบบริการ เมื่อติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
  • เร่งรัดการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้น หรือบูสเตอร์โดส ในประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะในผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด ตลอดจนลดความรุนแรงจากการติดโควิด
  • สื่อสารให้ประชาชนป้องกันตนเองและครอบครัวด้วยมาตรการ Universal Prevention และ VUCA สร้างการรับรู้การดูแลรักษาผู้ป่วยจากการติดโควิด เพื่อให้สามารถดูแลตนเองและครอบครัวได้

ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศให้ทุกจังหวัดยกระดับการเตือนภัยด้านสาธารณสุขเป็นระดับ 4 แล้ว ขณะที่จะมีการประชุมศบค.ชุดใหญ่ในวันพรุ่งนี้ (23 ก.พ.) ซึ่งต้องจับตาว่าจะมีการปรับมาตรการควบคุมหรือไม่

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

คลัสเตอร์ร้านเกมสายไหม ติดโควิดเพิ่ม 4 สะสม 36 คน

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง